ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
The Land Bank Administration Institute (Public Organization)
ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
ภาพรวมสถาบัน
ก่อตั้ง11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554; 13 ปีก่อน (2554-05-11)
ประเภทองค์การมหาชน
สำนักงานใหญ่210 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก อาคารเบญจรังสฤษฏ์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
บุคลากร75 คน (พ.ศ. 2566)
งบประมาณต่อปี593,078,300 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารสถาบัน
  • พลตำรวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน, ประธานกรรมการ
  • กุลพัชร ภูมิใจอวด, ผู้อำนวยการ
  • เอก วรรณประทีป, รองผู้อำนวยการ
  • ว่าง, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสถาบันสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)

สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: The Land Bank Administration Institute (Public Organization)) เป็นหน่วยงานประเภทองค์การมหาชน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี[2] จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินและการไม่สามารถเข้าถึงที่ดินของเกษตรกรรายย่อยและผู้ยากจน และเพื่อดำเนินการจัดตั้ง "ธนาคารที่ดิน"[3]

การดำเนินงาน

[แก้]

สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน มีภารกิจหลักในการดำเนินการจัดตั้งธนาคารที่ดิน และเมื่อดำเนินการจัดตั้งธนาคารที่ดินเสร็จสิ้นแล้ว สถาบันฯ ก็จะยุติการดำเนินการ หรือหากในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการจัดตั้งธนาคารที่ดินได้ภายในระยะเวลา 5 ปี ให้รัฐมนตรีประกาศยุบเลิกสถาบันนี้ในราชกิจจานุเบกษา[2]

ต่อมาในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการยุบเลิกสถาบันจาก 5 ปีขยายเป็น 8 ปี [4] และในปี พ.ศ. 2562 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี โดยกำหนดให้ยุบหน่วยงานเมื่อพ้นวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565[5]

ต่อมาในปี 2565 ได้มีประกาศขยายระยะเวลาออกไปอีกครั้งเป็นกำหนดยุบเลิกหน่วยงานเมื่อพ้นวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2568[6]

สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ได้ดำเนินโครงการนำร่องการจัดตั้งธนาคารที่ดิน 5 แห่ง ได้แก่ บ้านไร่ดง ตำบลน้ำดิบ บ้านแม่อาว ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง บ้านแพะใต้ ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง บ้านท่ากอม่วง ตำบลหนองปลาสวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และบ้านโป่ง ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๓ ก หน้า ๑, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
  3. ฝันเป็นจริงธนาคารที่ดิน.... อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com/politic/report/64890
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เล่ม 133 ตอน 51 ก หน้า 1-8 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  5. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
  6. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕
  7. ธนาคารที่ดินนำร่อง 5 ชุมชนไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 2 ตุลาคม 2560