สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | |
---|---|
![]() | |
พื้นที่กระจายเสียง | ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย |
ความถี่ | เอเอ็ม 1,107 กิโลเฮิร์ตซ์ เอเอ็ม 612 กิโลเฮิตซ์ เอเอ็ม 1,314 กิโลเฮิตซ์ เอเอ็ม 1,269 กิโลเฮิตซ์ |
สัญลักษณ์ | เกษตร ศาสตร์แห่งแผ่นดิน |
แบบรายการ | |
ภาษา | ![]() |
รูปแบบ | เผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร และผลการวิจัย สู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป |
การเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) |
ประวัติ | |
เริ่มกระจายเสียง | พ.ศ. 2504 (ออกอากาศเป็นทางการเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2504< |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
พิกัดสถานีส่ง | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | [1] |
สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Radio Station Kasetsart University) เป็นวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตรและบริการสาธารณะ โดยเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเผยแพร่ในระบบ A.M. Stereo ที่มีผู้ฟังมากที่สุด[1] โดยเน้นการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศทางการเกษตรและบริการชุมชนครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ
ประวัติ
[แก้]พ.ศ. 2492 อธิการบดีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในสมัยนั้น คุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) ส่งเสริมและเผยแพร่และชักจูงให้คนไทยหันมาสนใจในวิชาการเลี้ยงไก่สมัยใหม่ โดยผ่านวิทยุกระจายเสียง นับว่าได้ผลดีมาก[ต้องการอ้างอิง] และกระจายสู่เกษตรกรได้รวดเร็ว
สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2504[2] เริ่มต้นด้วยเครื่องส่งที่มีกำลังออกอากาศเพียง 250 วัตต์
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ระบบการแพร่สัญญาณ
[แก้]ปัจจุบัน สถานีวิทยุ ม.ก. ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ (เชียงใหม่ 5 กิโลวัตต์) โดยถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม "ไทยคม 1" ในระบบ เอ.เอ็ม. สเตอริโอ อยู่ 4 สถานีด้วยกันคือ
สถานีวิทยุ ม.ก. บางเขน
[แก้]ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ 1,107 กิโลเฮิตซ์ สำหรับสถานีวิทยุ ม.ก. บางเขน นั้นส่งออกอากาศจากสถานีออกอากาศ ณ ที่ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยถ่ายทอดสัญญาณไปจากสำนักส่งเสริมฯ บางเขน ด้วยเพราะว่าที่ตั้งของวิทยาเขตบางเขน เป็นทางขึ้นลงของเครื่องบิน ของท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และท่าอากาศยานทหารดอนเมือง (บน.6) กองทัพอากาศ จึงไม่สามารถนำสายนำสัญญาณลากไปเชื่อมสายอากาศที่ติดตั้งบนเสาอากาศที่มีความสูงมากๆได้
สถานีวิทยุ ม.ก.เชียงใหม่
[แก้]ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ 612 กิโลเฮิตซ์
สถานีวิทยุ ม.ก.ขอนแก่น
[แก้]ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ 1,314 กิโลเฮิตซ์
สถานีวิทยุ ม.ก. สงขลา
[แก้]ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ 1,269 กิโลเฮิตซ์ [3]
ระบบข่ายสื่อสาร
[แก้]- ระบบ SSB (Single Side Band) เป็นระบบการสื่อสารที่สามารถติดต่อได้ตั้งแต่ระยะปานกลาง ไปจนถึงระยะไกล เพื่อใช้ติดต่อระหว่างสถานีวิทยุ ม.ก.ส่วนกลาง กับสถานีวิทยุ ม.ก.ต่างจังหวัด เพราะสถานีวิทยุ ม.ก. ในต่างจังหวัดในขณะนั้นไม่มีโทรศัพท์ การติดต่อจำเป็นต้องใช้วิทยุสื่อสารระบบ SSB ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั่วประเทศ โดยใช้ความถี่ 79.35 kHz และ 7698 kHz
- ระบบ VHF (Very High Frequency) เป็นข่ายสื่อสารสำหรับติดต่อทั้งในระยะใกล้และระยะไกล มีความถี่ย่าน VHF เป็นของตัวเองถึง 2 ความถี่ คือ 142,200 เม็กกะเฮิตซ์ และความถี่ 142,700 เม็กกะเฮิตซ์
- ระบบ UHF (Utra High Frequency)วิทยุโทรศัพท์ระหว่าง 2 วิทยาเขตใช้ความถี่ 995 และ 925 เมกกะเฮิตซ์ นอกจะนำมาใช้ในการติดต่อวิทยุโทรศัพท์แล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไปยังวิทยาเขตกำแพงแสนของเครือข่ายนนทรีเน็ต และโครงข่าย Uninetอีกด้วย
คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์
[แก้]มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เคยได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ แต่ได้คืนคลื่นความถี่แล้ว
ดูเพิ่ม
[แก้]- สถานีวิทยุชุมชนคนบางเขน FM. 101.25 MHz http://www.fm.ku.ac.th เก็บถาวร 2013-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เครือข่ายวิทยุเพื่อโลกสีเขียว http://www.kugreenradio.net เก็บถาวร 2011-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เปิดสัญญาณคลื่นความถี่ 3 ปี กทช. ปล่อยใบอนุญาต 3 แสนใบ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20100925/354708/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%88--3-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%8A.-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95-3-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A.html[ลิงก์เสีย]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-17.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-08. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.