การบินไทย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
| |||||||
ก่อตั้ง | 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี) | ||||||
AOC # | 03/2017[1] | ||||||
ท่าหลัก | กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ ภูเก็ต | ||||||
เมืองสำคัญ | เชียงใหม่ แฟรงก์เฟิร์ต โซล-อินช็อน ลอนดอน-ฮีทโธรว์ | ||||||
สะสมไมล์ | รอยัลออร์คิดพลัส | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 79 | ||||||
จุดหมาย | 64 | ||||||
บริษัทแม่ | กระทรวงการคลัง (47.86%) | ||||||
การซื้อขาย | SET:THAI | ||||||
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 89 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||
บุคลากรหลัก | ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (ประธานคณะผู้บริหารแผนฯ) ชาย เอี่ยมศิริ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯ) | ||||||
รายได้ | 44,625 ล้านบาท (Q1 2566)[2] | ||||||
กำไร | 12,513 ล้านบาท (Q1 2566)[2] | ||||||
สินทรัพย์ | 208,444 ล้านบาท (Q1 2566)[2] | ||||||
พนักงาน | 14,000 (2565)[3] | ||||||
เว็บไซต์ | www.thaiairways.com |
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Thai Airways International Public Company Limited; ชื่อย่อ: ไทย, THAI) เป็นบริษัทฯ มหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ในฐานะสายการบินประจำชาติไทย โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานภูเก็ต การบินไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503[4] การบินไทยเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสายการบินนกแอร์[5]
ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 การบินไทยได้ให้บริการการบินไปยังท่าอากาศยานทั้งหมด 62 แห่งใน 32 ประเทศ และประเทศไทย แบ่งเป็นต่างประเทศ 59 สนามบิน ในประเทศไทย 4 สนามบิน ครอบคลุม 3 ทวีปทั่วโลก จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยฝูงบินกว่า 81 ลำ การบินไทยเป็นสายการบินลำดับต้นในเอเชีย ที่ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพ–ลอนดอน (ท่าอากาศยานฮีทโธรว์)[6]
นอกจากนี้ การบินไทยได้รับรางวัลสายการบินยอดเยี่ยมของโลก ประจำ ปี 2019 จากสกายแทรกซ์ ได้แก่ รางวัลอันดับ 1 สายการบินที่ให้บริการสปาเลาจน์ ยอดเยี่ยมของโลก (World's Best Airline Lounge Spa 2019) รางวัลอันดับ 1 สายการบินที่มีพนักงานให้บริการ ยอดเยี่ยมของเอเชีย (Best Airline Staff in Asia 2019) และรางวัลอื่นๆ จากสกายแทรกซ์รวม 8 รางวัล อย่างไรก็ดี หลังขาดทุนสะสมมาหลายปี และสถานการณ์โควิด-19 ทำให้พ้นฐานะรัฐวิสาหกิจและเข้ารับการฟื้นฟูกิจการในปี 2563
ประวัติ
[แก้]วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยดำเนินการให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (อังกฤษ: Thai Airways Company Limited; ชื่อย่อ: บดท.; TAC) กับสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็มทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ มีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 เอสเอเอสคืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนหุ้นให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ตามมติคณะรัฐมนตรี
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศได้รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียวตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2537[7]ทะเบียนเลขที่ บมจ.422
วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 การบินไทย ร่วมกับสายการบินลุฟต์ฮันซ่า, แอร์แคนาดา, เอสเอเอส, และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นพันธมิตรการบินแห่งแรก
วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การบินไทย ดำเนินโครงการลงทุนจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ โดยจัดตั้ง บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยในเครือการบินไทย และถือหุ้นทั้งหมด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สายการบินไทยสมายล์เป็นสายการบินภูมิภาค มีเครือข่ายการเชื่อมต่อผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากการบินไทยในขณะนั้น มีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 51.03 และมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงทำให้บริษัทไทยสมายล์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย[8]
วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงการคลังจำหน่ายหุ้นจนมีสัดส่วนถือหุ้นทั้งหมดเหลือร้อยละ 47.86 ทำให้บริษัทฯ หลุดพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ[9] นอกจากนี้ ในวันที่ 25 พฤษภาคม คณะกรรมการบริษัทการบินไทยฯ ได้มีมติแต่งตั้งให้พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, บุญทักษ์ หวังเจริญ, ไพรินทร์ ชูโชติถาวร และปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ แทนกรรมการเดิม[10] ไม่กี่วันถัดมา ไพรินทร์ลาออกเพราะเพิ่งพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีจึงไม่เหมาะสมต่อการรักษาธรรมาภิบาลของบริษัท และขัดต่อกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[11]
ด้วยปัญหาขาดทุนสะสม และวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร้องขอให้ศาล ได้พิจารณาฟื้นฟูกิจการ โดยวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้การบินไทยดำเนินการฟื้นฟูกิจการตามที่บริษัทร้องขอ และได้เห็นสมควรให้บริษัท อีวาย คอร์ปอเรทแอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด รวมถึงกรรมการบริษัทอีก 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน, นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, นายบุญทักษ์ หวังเจริญ, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการตามที่การบินไทยเสนอมา
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ศาลล้มละลายกลางได้กำหนดนัดฟังคำสั่งศาลในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย ซึ่งหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางได้รับคำคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้จำนวน 2 ฉบับ คำชี้แจงของผู้ทำแผน ตลอดจนความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในประเด็นต่าง ๆ แล้ว ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ซึ่งมีผลให้ผู้บริหารแผนที่ถูกเสนอชื่อตามแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไข กล่าวคือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายพรชัย ฐีระเวช นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ นายไกรสร บารมีอวยชัย และ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้บริหารแผนซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารธุรกิจของบริษัทฯ และดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป [12]
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ [13] โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งให้กำหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 ซึ่งมีเจ้าหนี้ที่มีจำนวนหนี้รวมกันร้อยละ 78.59 ของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งหมดที่เข้าร่วมประชุมและร่วมออกเสียงยอมรับการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว [14] และในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทยฯ [15]
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งการพ้นจากตำแหน่งของผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม ดังนี้ 1. นายไกรสร บารมีอวยชัย 2. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ [16] และจนถึงทุกวันนี้การบินไทย เริ่มแปลงสภาพจากเอกชน เป็นรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 คณะกรรมการเจ้าหนี้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจกลุ่มธุรกิจการบินของการบินไทย โดยควบรวมการบินไทยสมายล์ เข้ากับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการ สร้างความเป็นเอกภาพในตราสินค้า และลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน [17]
กิจการองค์กร
[แก้]ผู้ถือหุ้น
[แก้]- จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด: 111,697 ข้อมูล ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[18]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้น | % หุ้น |
---|---|---|---|
1 | กระทรวงการคลัง | 1,044,737,191 | 47.86 |
2 | กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) | 186,513,817 | 8.54 |
3 | กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) | 186,513,817 | 8.54 |
4 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 56,069,382 | 2.57 |
5 | ธนาคารออมสิน | 46,409,885 | 2.13 |
6 | นาย ทรงศักดิ์ จิตเจือจุน | 42,159,900 | 1.93 |
7 | SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED | 23,195,271 | 1.06 |
8 | นาย ธนาธิป วิวัฒนกิจเจริญ | 20,000,900 | 0.92 |
9 | นาย วิชัย คณาธนะวนิชย์ | 13,225,500 | 0.61 |
สำนักงาน
[แก้]สำนักงานการบินไทยในกรุงเทพมหานครแห่งแรก เป็นห้องแถวสามชั้น เลขที่ 1101 ริมถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามเยื้องกับไปรษณีย์กลางบางรัก [19] อันเป็นศูนย์รวมธุรกิจในยุคนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ซึ่งส่วนมากเป็นนักธุรกิจและชาวต่างชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 การบินไทยเช่าอาคารเลขที่ 1043 ถนนพหลโยธิน ติดกับซอยลือชา (ซอยพหลโยธิน 3) บริเวณสนามเป้าเป็นสำนักงาน[20] โดยเมื่อปี พ.ศ. 2522 การบินไทยจัดซื้อที่ดินริมถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และก่อสร้างอาคารหลังแรกขนาด 5 ชั้น ซึ่งเริ่มใช้ปฏิบัติงานเมื่อปี พ.ศ. 2523[21] หลังจากนั้นจึงมีโครงการสร้างอาคารถาวร จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2532 ก่อนหน้านี้ การบินไทยเคยมีสำนักงานบริเวณถนนหลานหลวง ใกล้กับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เดิมของเดินอากาศไทย ก่อนการควบรวมกิจการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 การบินไทยได้ประกาศขายอาคารดังกล่าวพร้อมกับอาคารถนนสีลม อาคารรักคุณเท่าฟ้า ดอนเมือง และอสังหาริมทรัพย์ในต่างจังหวัดอีก 7 แห่ง[22]
เมื่อปี พ.ศ. 2506 การบินไทยเปิดสำนักงานสาขาในต่างประเทศที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เป็นแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2553 สำนักงานสาขาในต่างประเทศของการบินไทย มีทั้งหมด 76 สาขาใน 38 ประเทศ ครอบคลุมทั้ง 5 ทวีป ส่วนศูนย์ซ่อมเครื่องบินของการบินไทย มีอยู่สองแห่งคือ ภายในบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา จังหวัดระยอง
ผลประกอบการ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2558 การบินไทยมีผลประกอบการขาดทุน การบินไทยมีผลประกอบการกำไรอีกครั้งในปี พ.ศ. 2559 โดยมีกำไรสุทธิ 15.14 ล้านบาท[23]
2553 | 2554 | 2555 | 2556 | 2557 | 2558 | 2559 | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายได้ (ล้านบาท) | 184,270 | 194,342 | 216,743 | 207,711 | 203,889 | 192,591 | 181,446 | 190,534 | 200,586 | 188,954 | 47,743 | 82,363 | 105,212 | 165,492 |
กำไร/ขาดทุน สุทธิ (ล้านบาท) | 14,744 | −10,197 | 6,229 | −12,047 | −15,612 | −13,068 | 15 | −2,072 | -11,569 | -12,017 | -141,171 | 55,118 | -272 | 28,096 |
จำนวนพนักงาน (คน) | 25,884 | 25,848 | 25,412 | 25,323 | 24,952 | 22,864 | 21,998 | 22,370 | 22,054 | 21,367 | 18,361 | 11,182 | 10,640 | 11,146 |
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) | 18.2 | 18.4 | 20.6 | 21.5 | 19.1 | 21.2 | 22.2 | 24.6 | 24.3 | 24.5 | 5.9 | 1.6 | 9 | 13.7 |
อัตราเปลี่ยนแปลงของผู้โดยสาร | 1.3% | 12.1% | 4.3% | 11.2% | 11.% | 4.7% | 10.3% | 1.2% | 0.8% | 75.9% | 72.9% | 462.5% | 52.2% | |
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (%) | 73.6 | 70.4 | 76.6 | 74.1 | 68.9 | 72.9 | 73.4 | 79.2 | 77.6 | 79.1 | 64.7 | 19.1 | 67.9 | 70.8 |
จำนวนอากาศยาน (ณ สิ้นปี) | 90 | 89 | 95 | 100 | 102 | 95 | 95 | 100 | 103 | 103 | 103 | 87 | 86 | 77 |
อ้างอิง | [24] | [24] | [25] | [26][25] | [26][25] | [27] | [28][29][27] | [28][30][27] | [29][27] | [27][31] | [32][31] | [31][33] | [33] |
บริษัทร่วมทุน
[แก้]ปัจจุบัน พ.ศ. 2567 บริษัทการบินไทยมีสัดส่วนการร่วมทุนดังนี้[34]
บริษัทย่อย
[แก้]ชื่อบริษัท | % อัตราส่วนการถือหุุ้น |
---|---|
บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด | 100 |
บริษัท ไทย-อะมาดิอุส เซาท์อีสต์เอเชีย จำกัด | 55 |
บริษัท ไทยไฟล์ท เทรนนิ่ง จำกัด | 49 |
บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด | 49 |
บริษัท ทัวร์เอื้องหลวง (ถือหุ้นผ่าน บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด) | 49 |
บริษัทในเครือ
[แก้]ชื่อบริษัท | % อัตราส่วนการถือหุ้น |
---|---|
บริษัท ดอนเมืองอินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเด็ล จำกัด | 40 |
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) | 8.91 |
บริษัท ครัวการบินภูเก็ต จำกัด | 30 |
บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด | 30 |
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) | 7.06 |
บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด | 0.00026 |
บริษัท เทรดสยาม จำกัด | 3.5 |
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด | 0.90 |
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด | 1.25 |
ในปี พ.ศ. 2564 การบินไทยเคยถือหุ้นอยู่ในสายการบินนกแอร์อยู่ 49% นับเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับหนึ่ง[35] สัดส่วนหุ้นนกแอร์ที่ถือโดยการบินไทยลดลงจากเดิมเหลือ 8.91% [36]
นอกจากนั้นบริษัทการบินไทยยังมีบริษัทย่อยดังต่อไปนี้[34]
- บริษัท ไทย-อะมาดิอุส เซาท์อีสต์เอเชีย จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 55
- บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 49
- บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 49
- บริษัท ทัวร์เอื้องหลวง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 49
- บริษัท ดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเต็ล จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 40
- บริษัท ครัวการบินภูเก็ต จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 30
- บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 30
- บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 7.06
- บริษัท เทรดสยาม จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 3.5
- บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 1.25
- บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 0.90
- บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 0.00026
การบินไทยคาร์โก
[แก้]บริษัทการบินไทยเคยทำกิจการขนส่งเฉพาะสินค้า โดยมีเครื่องบินขนส่งสินค้าเป็นของบริษัทเองในช่วง ปี พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2526 ด้วยเครื่องบิน Douglas DC-8-62F ทะเบียน HS-TGS
และในระหว่างวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2558 ทำการบินโดย B747-400BCF ทะเบียน HS-TGH และ HS-THJ เส้นทางบินได้แก่ทางกรุงเทพแวะเชนไนไปอัมสเตอร์ดัม TG898 กรุงเทพแวะไฮเดอราบัดสิ้นสุดที่แฟรงเฟิร์ต TG890 กรุงเทพแวะไฮเดอราบัดสิ้นสุดที่แฟรงเฟิร์ต TG894 กรุงเทพไปซิดนีย์ TG865 กรุงเทพไปนะริตะ TG862 นะริตะไปเทเปกลับกรุงเทพ TG863 เส้นทางจาก แฟรงเฟิร์ต แวะ เซี่ยเหมิน สิ้นสุดที่ กรุงเทพ TG897[37]
นอกเหนือจากนั้นเป็นเครื่องบินที่บริษัทเช่าทำการบินโดยสายการบินอื่น อีก 3 ลำ ได้แก่เครื่องบินทะเบียน N552MC ใช้บินระหว่าง พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2542 เครื่องบินทะเบียน N774SA N775SA ใช้ในปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2554 รวมการบินไทยเคยทำการบินเฉพาะขนส่งสินค้าทั้งหมด 6 ลำ
ครัวการบินไทย
[แก้]ครัวการบินไทย (อังกฤษ: THAI Catering Service) เริ่มดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2503 โดยเช่าโรงซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบิน และอาคารเล็กอย่างละหนึ่งหลัง ภายในบริเวณท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่ดอนเมืองเป็นแห่งแรก เพื่อทำการผลิตและให้บริการอาหารชนิดต่าง ๆ สำหรับสายการบินไทย และสายการบินอื่นอีกมากกว่า 50 สายการบิน[38]
สำนักงานของครัวการบินไทย มีสองแห่งคือ อาคารขนาดใหญ่บนพื้นที่ 90,000 ตารางเมตร ภายในบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัย เพื่อผลิตอาหารสำหรับรองรับในส่วนของสายการบินไทย และคำสั่งจากลูกค้าทุกสายการบิน โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตอาหารจำนวนมากกว่า 87,000 มื้อต่อวัน ส่วนสำนักงานอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ภายในบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อสนับสนุนการกลับมาเปิดดำเนินการบินอีกครั้ง ตลอดจนรองรับความต้องการของเที่ยวบินภายในประเทศ รวมทั้งกิจการภาคพื้นดินอย่างการผลิตขนมอบ (Bakery) และการจัดเลี้ยงต่าง ๆ [38] โดยมีศักยภาพผลิตอาหารได้สูงสุด 49,000 มื้อต่อวัน
ครัวการบินไทยมีผลงานที่สำคัญคือ เป็นผู้ดำเนินการผลิตและให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม แก่นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2541, เฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2542 และกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงในงานไอฉิเอ็กซโป (Aichi Expo) เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย[38]
ภัตตาคารเยลโล ออร์คิด
[แก้]ภัตตาคารเยลโล ออร์คิด (อังกฤษ: Yellow Orchid Restaurant) เปิดให้บริการเป็นแห่งแรก ภายในท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2515 และเริ่มให้บริการสาขาแรก ภายในท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2529
พัฟแอนด์พาย
[แก้]ร้านขนมอบพัฟแอนด์พาย (อังกฤษ: Puff & Pie Bakery House) ก่อตั้งขึ้นราวปลายปี พ.ศ. 2538 โดยครัวการบินไทย และเริ่มเปิดทำการเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 บริเวณหน้าอาคารรักคุณเท่าฟ้า ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ตลอดจนบริหารบุคลากรและอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากครัวการบินไทยต้องสูญเสียรายได้ จากการบริการอาหารบนเครื่องบิน (Uplift) เนื่องจาก บมจ.การบินไทย มีนโยบายงดให้บริการอาหารบนเที่ยวบินที่ไม่ตรงเวลาอาหาร ดังนั้นจึงทดลองเปิดขายขนมชนิดต่าง ๆ ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ครัวการบินไทยมีรายได้เพิ่ม เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด จึงเพิ่มความสำคัญอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายในการสร้างรายได้จากกิจการพัฟแอนด์พาย ให้เป็นรายได้หลักอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากงานจัดเลี้ยง รวมถึงจากการผลิตและบริการอาหารบนเที่ยวบิน
ครัวการบินไทยจึงดำเนินการขยายสาขาของร้านพัฟแอนด์พาย โดยแผนระยะแรก จะเปิดขายในพื้นที่ของ บมจ.การบินไทยก่อน เพื่อเป็นสวัสดิการของพนักงาน ทว่าต่อมาได้รับการเรียกร้องจากลูกค้าภายนอก ให้ขยายสาขาเพิ่มขึ้นในที่ต่าง ๆ เพื่อความสามารถในการให้บริการอย่างทั่วถึง ครัวการบินไทยจึงพิจารณาขยายสาขา ในสถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจอื่น ตลอดจนร้านพัฟแอนด์พายเฉพาะกิจ ภายในศูนย์การค้าและงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ซึ่งได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมากและต่อเนื่อง ครัวการบินไทยจึงพิจารณาขยายตลาด โดยเปิดโครงการ Puff & Pie Whole Sales โดยให้บุคคลภายนอกที่สนใจกิจการ เข้าร่วมประกอบธุรกิจในชื่อ "Puff & Pie Supreme Bakery Delight" ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา
สำหรับรูปแบบของร้านพัฟแอนด์พายส่วนมาก จะสร้างเป็นร้านค้าขนาดเล็ก (Kiosk) มีหลังคาผ้าใบสีขาวและเหลืองเป็นสัญลักษณ์ จำหน่ายอาหารไทย อาหารจีน และอาหารฝรั่งชนิดปรุงสำเร็จ ในชื่อผลิตภัณฑ์ซื้อกลับบ้าน (Take Home) รวมทั้งผลิตภัณฑ์เอื้องหลวง ที่ฝ่ายผลิตและบริการภาคพื้นเป็นผู้ผลิต วางจำหน่ายร่วมด้วย[39]
อัตลักษณ์องค์กร
[แก้]การบินไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่สายการบินที่เคยมีระเบียบการเปลี่ยนเครื่องแบบในตลอดการเดินทาง โดยพนักงานต้อนรับหญิงประจำเที่ยวบินระหว่างประเทศจะต้องเปลี่ยนเครื่องแบบจากชุดสูทสีม่วง (สำหรับแต่งกายนอกห้องโดยสาร) เป็นชุดไทยประเพณี (เห็นได้จากโฆษณาของสายการบิน) ขณะต้อนรับผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องบิน และต้องเปลี่ยนกลับเป็นชุดสูทเมื่อนำผู้โดยสารออกจากเครื่องบิน ซึ่งระเบียบนี้ได้ยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้ ทุกเที่ยวบินของการบินไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีดังกล่าว พนักงานต้อนรับหญิงจะสวมใส่ชุดไทยที่ทอจากผ้าไหมผสมเส้นใยจากขวดพลาสติกตลอดการเดินทาง[40] ส่วนชุดสูทสีม่วงยังคงใช้เป็นเครื่องแบบสำหรับพนักงานภาคพื้นเช่นเดิม
เว็บไซต์อาสค์เมนจัดอันดับ สุดยอดแอร์โฮสเตทสาวที่ฮอทที่สุด 10 สายการบินทั่วโลก โดยการบินไทยได้อันดับที่ 7 เว็บไซต์อาร์คเมนส์ ให้เหตุผลว่า พนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินดูดีในชุดเครื่องแบบโทนสีม่วง-ทอง รูปร่างหน้าตาสวยงาม การบริการระหว่างการเดินทางดี นอกจากนี้ยังยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตรและมารยาทงามอีกด้วย[41]
นอกจากนี้ การบินไทยเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็นสายการบินที่ดีที่สุด ลำดับ 5 ของโลก[42] ทั้งนี้ การบินไทยเป็นสายการบินที่คำนึงถึงสุขภาพผู้โดยสารเป็นสำคัญ โดยที่ผ่านมาการบินไทยได้นำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานนาฮะ[43]
อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับ[44] ว่าการบินไทยมีการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจทางการเมืองโดยข้อเท็จจริงการบินไทยมีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 17 คน (นับถึงปี พ.ศ. 2559) [45]
ตราสัญลักษณ์
[แก้]เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 การบินไทยเปิดตัวตราสัญลักษณ์แบบแรก เป็นภาพตุ๊กตารำไทยซึ่งออกแบบโดย หม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิไชย นักออกแบบที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ซึ่งเป็นผู้ออกเครื่องแบบพนักงานต้อนรับชุดแรกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 การบินไทยจัดจ้างวอลเตอร์ แลนเดอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ (อังกฤษ: Walter Landor & Associates) บริษัทโฆษณาระดับโลก ให้ออกแบบตราสัญลักษณ์ใหม่[46]
จากนั้นราวปลายปี พ.ศ. 2517 คณะผู้แทนการบินไทยเดินทางไปพิจารณาเลือกแบบ ซึ่งคณะผู้ออกแบบนำเสนอกว่าสิบภาพ โดยภาพดอกบัวโดดเด่นที่สุด เนื่องจากมีสีสันกลมกลืนสดใส แต่มีผู้แทนคนหนึ่งเห็นว่า การบินไทยใช้ชื่อบริการว่าเอื้องหลวง หากใช้สัญลักษณ์ดอกบัวก็เป็นการขัดกัน จึงเสนอแนะแก่คณะผู้ออกแบบไว้[46] ซึ่งต่อมาในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2520 เดินอากาศไทยนำภาพดอกบัวดังกล่าว มาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ใหม่ แทนภาพช้างเอราวัณสามเศียรอยู่กลางตราอาร์ม สองข้างซ้ายขวาประกอบด้วยภาพปีกนกซ้อนทับบนปีกเครื่องบิน
โดยในปีถัดมา (พ.ศ. 2518) คณะผู้ออกแบบพยายามดัดแปลงแก้ไขจากแบบที่เลือกไว้แล้ว จึงได้แบบที่คณะผู้แทนการบินไทยเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ จึงนำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งคณะผู้ออกแบบอธิบายว่าเป็นภาพใบเสมา ซึ่งพบเห็นทั่วไปในประเทศไทย โดยจับวางตะแคงข้าง เพื่อต้องการสื่อถึงความเร็ว เนื่องจากนำมาใช้กับสายการบิน สำหรับสีทองมาจากแสงอร่ามของวัดวาอารามไทย สีม่วงสดมาจากกล้วยไม้ ดอกไม้สัญลักษณ์ของการบินไทย ส่วนสีชมพูมาจากดอกบัว[46]
ทั้งนี้ มักใช้ประกอบกับตัวอักษรชื่อ "ไทย" หรือ "Thai" ตามรูปแบบเดียวกับที่ประกอบอยู่ในตราสัญลักษณ์ใหม่ของเดินอากาศไทย สำหรับตราสัญลักษณ์นี้มักมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า มีความคล้ายคลึงกับลักษณะของดอกรักเสียมากกว่า ผิดแต่เพียงสีที่แท้จริงของดอกรักเป็นขาว โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าวใช้มาถึง 30 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2548 การบินไทยจัดจ้าง ห้างหุ้นส่วนอินเตอร์แบรนด์ (อังกฤษ: Interbrand Partnership) เป็นผู้ออกแบบลวดลายภายนอกตัวเครื่องบิน พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงสีสันภายในตราสัญลักษณ์ให้สดใสขึ้นกว่าเดิม และปรับปรุงตัวอักษรชื่อที่ประกอบอยู่กับตราสัญลักษณ์ โดยออกแบบขึ้นใหม่ และใช้อักษรอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด[46]
คำขวัญ
[แก้]คำขวัญภาษาไทยของการบินไทยคือ รักคุณเท่าฟ้า ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 เป็นชื่อใหม่ของวารสารภายใน ซึ่งเปลี่ยนจากเดิมคือ ข่าวการบินไทย (เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2519) โดยวลีดังกล่าวมีที่มาจาก วิถีชีวิตของชาวไทย ดังที่พ่อแม่มักตั้งคำถามกับลูกว่า รักพ่อแม่แค่ไหน แล้วลูกก็มักตอบว่า "รักพ่อแม่เท่าฟ้า" ซึ่งสื่อความหมายถึงความรักที่กว้างใหญ่ไพศาลไปสุดขอบฟ้า จึงนำมาใช้เชิงเปรียบเทียบกับบริการของการบินไทย ทั้งนี้ คำขวัญของการบินไทยดังกล่าว เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทย จากผลงานเพลงชื่อเดียวกัน ของวงดนตรีเพื่อชีวิต คาราบาว ซึ่งเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 ส่วนคำขวัญภาษาอังกฤษใช้ว่า Smooth as Silk ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า นุ่มละมุนดุจแพรไหม มีชื่อเสียงมาจากเพลงชื่อเดียวกัน ที่กระจายเสียงภายในเครื่องก่อนเริ่มเที่ยวบิน และที่นำมาใช้ประกอบรายการการบินไทยไขจักรวาล
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 การบินไทยให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 66 แห่งทั่วโลก โดยแบ่งเป็นจุดหมายปลายทางในประเทศ 10 แห่งและระหว่างประเทศ 56 แห่ง[47]
พันธมิตรการบิน
[แก้]การบินไทยเป็น1ใน5สมาชิกร่วมก่อตั้งพันธมิตรทางการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก สตาร์อัลไลแอนซ์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2540[48]
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]การบินไทยทำข้อตกลงการบินร่วม (Codeshare) กับสายการบินต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:[49]
- แอร์แคนาดา
- แอร์อินเดีย
- แอร์นิวซีแลนด์
- ออล นิปปอน แอร์เวย์
- แอร์มาเก๊า
- เอเชียน่าแอร์ไลน์
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- บางกอกแอร์เวย์ส
- บรัสเซลส์แอร์ไลน์
- อียิปต์แอร์
- เอ็ลอัล[50]
- เอมิเรตส์
- อีวีเอแอร์
- กัลฟ์แอร์
- การบินลาว
- ลุฟท์ฮันซ่า
- มาเลเซียแอร์ไลน์
- โอมานแอร์
- ปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
- รอยัลบรูไนแอร์ไลน์
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม
- เซินเจิ้นแอร์ไลน์
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
- ตัปปูร์ตูกัล
- เตอร์กิชแอร์ไลน์
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
ฝูงบิน
[แก้]บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 การบินไทยมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[51]
เครื่องบิน | แบบ | ประจำการ | จัดหา | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
F | C | U | Y | รวม | |||||
แอร์บัส เอ320-200 | 320 | 6 | — | — | — | 12 | 156 | 168 | รับโอนจากการบินไทยสมายล์ |
32S | 14 | — | 150 | 162 | |||||
32X | — | ** | — | 12 | — | 144 | 156 | เป็นการปรับปรุงห้องโดยสาร (retrofit) จากรูปแบบ 320 และ 32S มิได้มีการจัดหาเครื่องบินใหม่แต่อย่างใด | |
แอร์บัส เอ321นีโอ | TBD | — | 22[52] | รอประกาศ | เริ่มส่งมอบกลางปี 2568[53] | ||||
แอร์บัส เอ330-300 | 33R | 3 | — | — | 31 | — | 263 | 294 | นำกลับมาใช้งานบางส่วนหลังจากปลดประจำการ |
33C | 1 | 1 | — | 31 | 48 | 185 | 264 | เช่าจาก CDB Aviation ส่งมอบในเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567[54] - ใช้ผังที่นั่งเดิมจากเวอร์จินแอตแลนติก | |
แอร์บัส เอ350-900 | 359 | 12 | — | — | 32[a] | — | 289 | 321 | |
35B | 4 | — | — | 33[b] | — | 301 | 334 | เช่าระยะยาว – ใช้ผังที่นั่งเดิมจากไห่หนานแอร์ไลน์ | |
35C | 2 | — | — | 30[c] | — | 309 | 339 | เช่าระยะยาว – ใช้ผังที่นั่งเดิมจากเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ | |
35D | 4 | — | — | 33[a] | — | 301 | 334 | เช่าระยะยาว – ใช้ผังที่นั่งเดิมจากฮ่องกงแอร์ไลน์ | |
TBD | — | 6[55][56] | รอประกาศ | ||||||
โบอิง 777-200อีอาร์ | 77E | 5 | — | — | 30 | — | 262 | 292 | |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 77B | 14 | — | — | 42 | — | 306 | 348 | |
77Y[57] | 3 | — | 8 | 40 | — | 255 | 303 | ทดแทน โบอิง 747[58] | |
โบอิง 787-8 | 788 | 6 | — | — | 22 | — | 234 | 256 | |
โบอิง 787-9 | 789 | 3 | 50[59] | — | 30 | — | 268 | 298 | สั่งซื้อพร้อม 35 ตัวเลือก หนึ่งลำเช่าจาก AerCap ส่งมอบภายในปี 2567 |
รวม | 77 | 79 |
การบินไทยมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.4 ปี
การจัดหา/ปลดระวาง
[แก้]ณ พ.ศ. 2560 อายุการใช้งานเฉลี่ยของฝูงบินของการบินไทยอยู่ที่ 9.3 ปี[60] และจากแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย นอกจากการประกาศขายเครื่องบินแล้ว ทางบริษัทได้ระบุว่าจะทำการลดรุ่นของฝูงบินเหลือเพียง 6 รุ่น คือ A350XWB, B777-300ER, B787-8, B787-9, A320 ของไทยสไมล์ และนำ A330 จำนวน 3 ลำ กลับมาให้บริการ และลดรุ่นของเครื่องยนต์ของเครื่องบินที่ใช้เหลือ 5 รุ่นเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 การบินไทยได้ลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ร่วมกับโบอิง และจีอี เอโรสเปซ คำสั่งซื้อดังกล่าวมีขึ้นหลังพบคำสั่งซื้อเครื่องบิน B787-9 ปริศนาจากบุคคลไม่เปิดเผยนามปรากฎบนเว็บไซต์ของโบอิงเป็นจำนวนมาก สัญญาดังกล่าวโบอิงจะจัดหาเครื่องบิน B787-9 ให้กับการบินไทยทั้งหมด 45 ลำ โดยมีรายละเอียดเหมือนกับเครื่องบิน B787-9 เดิมที่การบินไทยใช้งานอยู่ แต่เปลี่ยนตัวเลือกเครื่องยนต์จากเดิมที่ใช้โรลส์-รอยซ์ มาเป็นเครื่องยนต์ จีอีเอ็นเอ็กซ์ (GEnx) ของบริษัทจีอี เอโรสเปซแทน พร้อมกันนี้การบินไทยสามารถปรับเปลี่ยนตัวเลือกเครื่องบินบางส่วนจาก B787-9 เป็น B787-10 ได้ตามความต้องการ หรือขยายขนาดคำสั่งซื้อเป็น 80 ลำ และเปลี่ยนเป็น B777X ที่เป็นเครื่องบินลำตัวกว้างพิสัยไกลซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาได้ในอนาคต โดยคำสั่งซื้อดังกล่าวเป็นการจัดหาเครื่องบินเพื่อทดแทนเครื่องบินชุดเดิมที่จะทยอยปลดระวางตั้งแต่ พ.ศ. 2570 เป็นต้นไป และเครื่องบินลำแรกจากคำสั่งซื้อนี้จะเริ่มจัดส่งถึงประเทศไทยใน พ.ศ. 2570[61]
และอีก 1 วันถัดมา การบินไทยได้ลงนามในสัญญาเช่าเครื่องบินอีก 17 ลำจาก บริษัทจัดหาเครื่องบิน AerCap ประกอบด้วยเครื่องบิน แอร์บัส A350-900 4 ลำ, แอร์บัส A320-NEO 10 ลำ และโบอิง B787-9 3 ลำ เพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถในการดำเนินการในระยะสั้น ก่อนที่เครื่องบินชุดใหญ่จากโบอิงจะเริ่มจัดส่ง โดยเครื่องบินลำแรกจากสัญญาเช่านี้จะเริ่มจัดส่งถึงประเทศไทยใน พ.ศ. 2567[62]
ฝูงบินในอดีต
[แก้]การบินไทยเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | จำนวน | ประจำการ | ปลดประจำการ | เครื่องบินทดแทน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
เอทีอาร์ 42-320 | 2 | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2541 | ไม่มี | |
เอทีอาร์ 72-201 | 2 | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2552 | ไม่มี | |
แอร์บัส เอ300บี4 | 14 | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2541 | แอร์บัส เอ300-600อาร์ | |
แอร์บัส เอ300-600อาร์ | 21 | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2557 | แอร์บัส เอ330-300 โบอิง 787-8 |
|
แอร์บัส เอ310-200 | 1 | 1988 | 2001 | แอร์บัส เอ300-600อาร์ | โอนย้ายจากเดินอากาศไทย |
1 | 1998 | เกิดอุบัติเหตุในเที่ยวบินที่ 261 | |||
แอร์บัส เอ310-300 | 1 | 1990 | 1993 | ||
1 | 1992 | เกิดอุบัติเหตุในเที่ยวบินที่ 311 | |||
แอร์บัส เอ320-200 | 5 | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2559 | ไม่มี | โอนย้ายไปยังการบินไทยสมายล์
กลับมาให้บริการอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2566 หลังควบรวมกิจการของการบินไทยสมายล์ |
แอร์บัส เอ330-300 | 12 | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2560 | แอร์บัส เอ350-900 | ใช้เครื่องยนต์แพรตแอนด์วิตนีย์ พีดับเบิลยู 4000 |
12[64] | พ.ศ. 2552 | พ.ศ. 2563 | ใช้เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทรนต์ 700 ปลดประจำการก่อนเวลา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 บางส่วนนำมาให้บริการอีกครั้ง โดยการปรับปรุงห้องโดยสารใหม่ | ||
แอร์บัส เอ340-500 | 3[64] | 2005 | 2012 | แอร์บัส เอ350-900 | |
1 | จำหน่ายให้กับกองทัพอากาศไทย | ||||
แอร์บัส เอ340-600 | 6[64] | 2005 | 2015 | ||
แอร์บัส เอ380-800 | 6 | 2012 | 2020 | ปลดประจำการก่อนเวลา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19[65] ทั้งหมดถูกจำหน่าย[66] | |
โบอิง 737-200 | 3 | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2536 | โบอิง 737-400 | โอนย้ายจากเดินอากาศไทย |
โบอิง 737-400 | 9 | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2561 | แอร์บัส เอ320-200 | |
1 | พ.ศ. 2544 | ระเบิดในเที่ยวบินที่ 114 | |||
โบอิง 747-200B | 6 | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2540 | โบอิง 747-400 | |
โบอิง 747-200F | 1 | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2542 | โบอิง 777F | |
โบอิง 747-300 | 2 | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2550 | โบอิง 747-400 | |
โบอิง 747-400 | 16 | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2563 | แอร์บัส เอ350-900 โบอิง 777-300อีอาร์ |
ปลดประจำการก่อนเวลา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19[67][68] |
2 | พ.ศ. 2554 | ไม่มี | ปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าและประจำการกับการบินไทยคาร์โก | ||
โบอิง 747-400BCF | 2 | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2558 | ไม่มี | ปรับเปลี่ยนจากเครื่องบินโดยสาร 747-400 HS-TGJ ขายให้กับ Terra Avia (ER-BAG) ปลดประจำการก่อนเวลา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 |
โบอิง 777-200 | 8 | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2563 | แอร์บัส เอ350-900 โบอิง 777-300อีอาร์ |
ปลดประจำการก่อนเวลา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 |
โบอิง 777-200อีอาร์ | 1 | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2563 | แอร์บัส เอ320-200 | |
โบอิง 777-300 | 6 | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2563 | แอร์บัส เอ350-900 โบอิง 777-300อีอาร์ |
ปลดประจำการก่อนเวลา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 6 | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2563 | แอร์บัส เอ350-900 | เช่าจากเจ็ตแอร์เวย์ |
โบอิง 777F | 2 | พ.ศ. 2553 | พ.ศ. 2555 | โบอิง 747-400BCF | เช่าจากเซาเทิร์นแอร์เวย์ |
บีเออี 146-100 | 1 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2534 | โบอิง 737 คลาสสิก | |
บีเออี 146-200 | 1 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2533 | โบอิง 737 คลาสสิก | |
บีเออี 146-300 | 9 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2541 | โบอิง 737 คลาสสิก | |
บอมบาร์ดิเอร์ ชาเลนเจอร์ ซีแอล-601 | 1 | พ.ศ. 2534 | ไม่ทราบ | ไม่มี | |
คอนแวร์ 990 โคโรนาโด | 1 | พ.ศ. 2505 | ไม่ทราบ | ไม่มี | ดำเนินการโดยสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ |
ดักลาส ดีซี-8-33 | 7 | พ.ศ. 2513 | พ.ศ. 2521 | ไม่มี | |
ดักลาส ดีซี-8-63 | 3 | พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2527 | แอร์บัส เอ300 | |
ดักลาส ดีซี-8-60F | 5 | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2528 | ไม่มี | |
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-41 | 2 | พ.ศ. 2513 | พ.ศ. 2515 | ไม่มี | |
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-30 | 6 | พ.ศ. 2518 | พ.ศ. 2530 | แอร์บัส เอ310 | |
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-30อีอาร์ | 3 | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2541 | แอร์บัส เอ310 | |
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 | 4 | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2548 | โบอิง 777-200อีอาร์ | |
ชอร์ต 330 | 4 | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2535 | โบอิง 737 คลาสสิก | โอนย้ายจากเดินอากาศไทย |
ชอร์ต 360 | 2 | พ.ศ. 2531 | ไม่ทราบ | โบอิง 737 คลาสสิก | โอนย้ายจากเดินอากาศไทย |
ซูว์ดาวียาซียง แอ็สเออ-210 การาแวล 3 | 5 | พ.ศ. 2507 | ไม่ทราบ | ไม่มี |
บริการ
[แก้]ห้องโดยสาร
[แก้]การบินไทยแบ่งการให้บริการภายในห้องโดยสาร ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
รอยัลเฟิร์สคลาส (ชั้นหนึ่ง)
[แก้]ในเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-800 ที่นั่งโดยสารถูกออกแบบให้เป็นห้องพักผ่อนส่วนตัว มีความห่างระหว่างแถว 83 นิ้ว ความกว้างที่นั่ง 26.5 นิ้ว สามารถปรับเอนนอนเป็นแนวราบได้ถึง 180 องศาและติดตั้งอุปกรณ์สาระบันเทิงอย่างครบครันด้วยจอภาพ AVOD ระบบสัมผัสขนาด 23 นิ้ว ติดตั้งระบบ Wi-Fi อินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารได้ทุกชนิด พร้อมปลั๊กไฟส่วนตัวสำหรับคอมพิวเตอร์วางตักไว้บริการผู้โดยสาร นอกจากนี้การบินไทยยังติดตั้งห้องน้ำที่มีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของห้องน้ำปกติ โดยออกแบบให้มีพื้นที่ส่วนตัวสำหรับให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่งแต่งตัวได้อย่างสะดวกสบายด้วยเช่นกัน และในชั้นรอยัลเฟิร์สคลาสนี้สามารถเลือกเมนูอาหาร จากเมนูต่าง ๆ ทั้ง 22 รายการก่อนขึ้นเครื่องได้อีกด้วย[69][70]
ปัจจุบันการบินไทยติดตั้งที่นั่งชั้นรอยัลเฟิร์สคลาสในเครื่องบินโบอิง 777-300ER จำนวน 3 ลำ ในเส้นทางลอนดอน โตเกียว และโอซากา
รอยัลซิลค์ (ชั้นธุรกิจ)
[แก้]เปิดตัวครั้งแรกพร้อมกับแอร์บัส A340-500 มาในลักษณะแบบเปลือกหอย มีการติดตั้งชั้นธุรกิจนี้ในเครื่องบินโบอิง B747-400, 777-300, 777-200, 777-200ER, 777-300ER ความห่างระหว่างที่นั้ง 60-62 นิ้ว และความกว้างของที่นั่ง 20-21.5 นิ้ว สามารถปรับเอนได้สูงสุดถึง 170 องศา ในทุก ๆ ที่นั่งจะมีระบบนวด.โทรทัศน์ส่วนตัวระบบสัมผัส 10.4 และ 15 นิ้ว (ในเก้าอี้แบบใหม่) สามารถปรับเอนนอนเป็นแนวราบได้ถึง 180 องศา และยังมีที่นั่งแบบใหม่ที่ถูกติดตั้งบนแอร์บัส เอ 380 และโบอิง 777-300ER โดยจอ IFE มีขนาดใหญ่ถึง 17 นิ้ว และติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบคาดผ่านเอว นอกจากนี้บนเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ยังมีรอยัลซิลค์ บาร์บริการอาหารและเครื่องดื่มอีกด้วย
อนึ่ง A330-300 รุ่นใหม่จะมีการปรับเปลี่ยนชั้นธุรกิจเป็นแบบใหม่จะมีในรุ่นแบบ A330 และ A33H ในเครื่องบินแบบ A330-343E มีบริการทั้งหมด 15 ลำแบ่งเป็น A330 8 ลำ A33H 7 ลำ ให้บริการในทวีปเอเซีย
พรีเมียมอีโคโนมี (ชั้นประหยัดพิเศษ)
[แก้]เป็นการนำที่นั่งชั้นรอยัลซิลค์ในช่วงแถวหลังจากประตูคู่ที่สองของเครื่องบินลงมา มาขายในราคาที่ถูกลง แต่ในส่วนของการให้บริการอื่นๆ จะเหมือนกับชั้นประหยัดปกติ โดยให้บริการเฉพาะเที่ยวบินในแถบสแกนดิเนเวีย ที่ทำการบินโดยเครื่องบินรุ่น โบอิง B777-300ER
ชั้นประหยัด
[แก้]ขนาดที่นั่งในชั้นประหยัดของการบินไทย มีขนาดใหญ่ถึง 36 นิ้ว ต่างจากโดยทั่วไปที่มีขนาด 34 นิ้ว โดยแถวที่นั่งจะถูกจัดวางในรูปแบบดังต่อไปนี้
- แบบ 3-4-3 ในเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-841 (ชั้นล่าง)
- แบบ 3-3-3 ในเครื่องบินโบอิง 787-8 และ 777-300ER
- แบบ 2-4-2 ในเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-343, เอ 380-841 (ชั้นบน)
ทุกที่นั่งในชั้นประหยัดบนเครื่องบิน แอร์บัส A330-300 จะถูกติดตั้งระบบมัลติมีเดีย (AVOD) หน้าจอระบบสัมผัส 9 นิ้ว ในทุกที่นั่ง แอร์บัส A33H 7 ลำ, A380-800 4 ลำ, โบอิง B777-300ER จะถูกติดตั้งระบบมัลติมีเดีย (AVOD) ระบบปฏิบัติการ หน้าจอระบบสัมผัส 10.6 นิ้ว และเครื่องบินแบบ โบอิง B787-8 จะถูกติดตั้งระบบมัลติมีเดีย (AVOD) ระบบปฏิบัติการ หน้าจอระบบสัมผัส 11 นิ้ว
นิตยสารประจำเที่ยวบิน
[แก้]นิตยสารประจำเที่ยวบิน (Inflight Magazine) ของการบินไทย มีชื่อว่า "สวัสดี " (อังกฤษ: Sawasdee) ออกเป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2514 เนื้อหาส่วนมากนำเสนอบทความสารคดี ว่าด้วยความเป็นไทย โดยเฉพาะประเพณีและวัฒนธรรม ที่เขียนขึ้นใหม่โดยเฉพาะเป็นภาษาอังกฤษทั้งฉบับ มิได้นำบทความที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารอื่นมาลงซ้ำ นอกจากนั้น ยังมีภาพประกอบที่สวยงามโดดเด่นอีกด้วย
นิตยสารประจำเที่ยวบินของเดินอากาศไทย มีชื่อว่า "กินรี " (อังกฤษ: Kinnaree) ออกเป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2527 เนื้อหาส่วนมากนำเสนอบทความสารคดี ว่าด้วยสารบันเทิงปกิณกะ โดยเฉพาะความเป็นไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเขียนขึ้นใหม่โดยเฉพาะเป็นภาษาไทยทั้งฉบับ อนึ่ง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2531 กินรีออกฉบับพิเศษ "41 ปี เดินอากาศไทย" ก่อนที่จะรวมกิจการเข้ากับการบินไทย ในวันที่ 1 เมษายนด้วย
หลังจากนั้น การบินไทยจึงเป็นเจ้าของนิตยสารทั้งสองฉบับ โดยสวัสดียังคงเป็นนิตยสารประจำเที่ยวบินระหว่างประเทศ และกินรีกลายเป็นนิตยสารประจำเที่ยวบินภายในประเทศ จนกระทั่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 มีการเปลี่ยนแปลงให้นิตยสารสวัสดี ตีพิมพ์เป็นสองภาษาควบคู่กัน โดยให้บริการทั้งเที่ยวบินระหว่างประเทศและภายในประเทศ ส่วนนิตยสารกินรี การบินไทยขายกิจการไปให้กับธนาคารกรุงเทพ เพื่อใช้เป็นชื่อนิตยสารสำหรับลูกค้าธนาคารที่เป็นสมาชิก
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
[แก้]การบินไทยมีอุบัติการณ์มากกว่าอุบัติเหตุ ซึ่งหมายถึงการทำการบินที่ผู้โดยสารบาดเจ็บเล็กน้อยหรือไม่บาดเจ็บเลย รวมถึงการขู่ว่ามีการวางระเบิด อย่างไรก็ตาม อุบัติการณ์และอุบัติเหตุของการบินไทยน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายการบินอื่น ๆ ทั่วโลก
- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2510 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 601 เครื่องบินซูว์ดาวียาซียง แอ็สเออ-210 การาแวล 3 ทะเบียน HS-TGI ของการบินไทย บินจากซงชาน กรุงไทเป ไปยังท่าอากาศยานไขตั๊ก เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่อ่าวเกาลูนขณะทำการลงจอดในขณะที่มีพายุไต้ฝุ่น เสียชีวิต 24 คน บาดเจ็บหนัก 56 คน โดยมีผู้โดยสารทั้งหมด 73 คน ลูกเรือ 7 คน[71]เที่ยวบินนี้กัปตันเป็นชาวเดนมาร์ก
- 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 (พ.ศ. 2516) เครื่องบินดักลาส ดีซี-8 ทะเบียน HS-TGU บินจากโกลกัตตาไปกาฐมาณฑุเกิดอุบัติเหตุลื่นไถลออกนอกรันเวย์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติตรีภูวัน มีผู้เสียชีวิตที่ภาคพื้นดิน 1 ราย[72]ผู้โดยสารบาดเจ็บ 4 คน
- 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 เครื่องบินแอร์บัส เอ 310-304 ทะเบียน HS-TID ของการบินไทย ชนเทือกเขา 35 กม. ทางเหนือของกาฐมาณฑุ ผู้โดยสาร 113 คนเสียชีวิต (ผู้โดยสาร 99 คน และ พนักงาน 14 คน) สาเหตุเกิดจากปัญหาทางเทคนิคและอาการหลงทิศของนักบินเนื่องจากสภาพอากาศปิด[73]
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 261 เครื่องบินแอร์บัส เอ 310-304 ทะเบียน HS-TIA ของการบินไทย จากกรุงเทพไปสุราษฎร์ธานี ตกสาเหตุเนื่องจากฝนตกหนักมาก ผู้โดยสาร 102 คน จาก 143 คน เสียชีวิต[74]
- 3 มีนาคม พ.ศ. 2544 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 เครื่องบินโบอิง 737-4D7 ทะเบียน HS-TDC ของการบินไทย จากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เกิดระเบิดขึ้นในขณะที่จอดที่สนามบิน เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 8คน สาเหตุเกิดจากน้ำมันกับอากาศเข้าผสมกัน และเกิดการสันดาปขึ้นในส่วนของถังน้ำมันเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด[75]
- 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 600 เครื่องบินแอร์บัส 380-841ทะเบียน HS-TUA ของการบินไทยจากกรุงเทพไปฮ่องกงเกิดตกหลุมอากาศผู้โดยสารบาดเจ็บ 38 ราย ลูกเรือบาดเจ็บ 9 รายลูกเรือบาดเจ็บสาหัส 1 ราย ภายในเครื่องบินได้รับความเสียหาย[76]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2556 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 679 เครื่องบิน แอร์บัส 330-300 ทะเบียน HS-TEF ของการบินไทย จากกวางโจวไปกรุงเทพ เกิดอุบัติเหตุล้อหลังด้านขวาของเครื่องบินขัดข้อง ขณะร่อนลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 12 ราย[77]
- 12 เมษายน พ.ศ. 2558 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 641 เครื่องบิน แอร์บัส 340-600 ทะเบียน HS-TNF ของการบินไทย จากนะริตะไปกรุงเทพ เกิดอุบัติเหตุตกหลุมอากาศผู้โดยสารบาดเจ็บเล็กน้อย 12 ราย[78]
- 12 เมษายน พ.ศ. 2559 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 434 เครื่องบิน โบอิง 777-200 ทะเบียน HS-TJH ของการบินไทย จากจาร์กาตาไปกรุงเทพ เกิดอุบัติเหตุตกหลุมอากาศผู้โดยสารบาดเจ็บเล็กน้อย 6 ราย[79]
- 21 กันยายน พ.ศ. 2559 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 221 เครื่องบิน แอร์บัส 350-900 ทะเบียน HS-THB ของการบินไทย จากกรุงเทพไปภูเก็ต เกิดอุบัติการณ์ยางล้อแตกขณะลงจอด[80]
- 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 349 เครื่องบินแอร์บัส 330-300 ทะเบียน HS-TES ของการบินไทย เกิดอุบัติการณ์ไถลอกนอกรันเวย์ที่สนามบินอิสลามาบาด[81]
- 11 เมษายน พ.ศ. 2561 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 660 เครื่องบิน โบอิง 747-400 ทะเบียน HS-TGX ของการบินไทย เกิดอุบัติการณ์สัญญาณเตือนของระบบเตือนเครื่องบินใกล้พื้นดิน[82]
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 321 เครื่องบิน โบอิง 777-200 ทะเบียน HS-TJD ของการบินไทย เกิดอุบัติการณ์ยางล้อระเบิดที่ท่าอากาศยานธากา
- 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 349 เครื่องบินแอร์บัส 330-300 ทะเบียน HS-TEQ ของการบินไทย เกิดอุบัติการณ์เครื่องบินชนนกขณะลงจอดที่สนามบินอิสลามาบาด[83]
- 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 679 เครื่องบิน โบอิง 747-400 ทะเบียน HS-TGF ของการบินไทย จากกวางโจวไปกรุงเทพ เกิดอุบัติการณ์เครื่องลื่นไถลออกนอกรันเวย์
- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 683 เครื่องบิน แอร์บัส เอ330-300 ทะเบียน HS-TEO จากโตเกียวฮาเนดะไปกรุงเทพ เกิดอุบัติการณ์ปลายปีกเฉี่ยวชนกับหางเครื่องบินของอีวีเอแอร์บนทางขับใกล้ทางวิ่ง 16R ที่ท่าอากาศยานฮาเนดะ
การบินไทยไขจักรวาล
[แก้]การบินไทยเป็นผู้สนับสนุนให้มีรายการโทรทัศน์ ประเภทตอบปัญหาชิงรางวัลและทุนการศึกษาแก่เยาวชน ซึ่งมีชื่อว่า "การบินไทยไขจักรวาล" ที่จัดแข่งขันระหว่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมผู้แทนโรงเรียนต่าง ๆ กลุ่มละสามคน โดยแต่ละครั้งจะแข่งขันกันระหว่างสองโรงเรียน ดำเนินรายการโดย พลตรีถาวร ช่วยประสิทธิ์ (พ.ศ. 2518-2521) และหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (พ.ศ. 2521-2546) (เวลาต่อมาจึงได้เพิ่ม รัตน์มณี มณีรัตน์ เป็นพิธีกรดำเนินรายการร่วมไปด้วย ซึ่งบางครั้งทำหน้าที่ดำเนินรายการแทนเพียงคนเดียว) ออกอากาศทุกวันอังคาร สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 17:00-17:30 น. (ต่อมาย้ายไปออกอากาศทุกวันศุกร์ สัปดาห์และเวลาออกอากาศเดียวกัน) ถ่ายทอดสดจากห้องส่งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นระยะเวลาถึง 28 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ นักเรียนที่ชนะการตอบปัญหาประจำสัปดาห์ จะได้รับทุนการศึกษา ส่วนนักเรียนที่ชนะเลิศการตอบปัญหาประจำปี จะได้รับรางวัลเป็นตั๋วเครื่องบินไปกลับต่างประเทศ พร้อมกิจกรรมทัศนศึกษา ซึ่งการบินไทยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
คดีความ
[แก้]การบินไทยได้ฟ้องร้องโคอิโตะ ในกรณีที่มิสามารถติดตั้งเก้าอี้โดยสารภายในเครื่องบินแอร์บัส เอ 330 ในชั้นประหยัดทั้ง 5 ลำได้ส่งผลให้การบินไทยไม่มีโอกาสในการนำเครื่องบินบริการแก่ผู้โดยสาร ค่าเสียโอกาสในการบำรุงเครื่องบินและยังต้องหาบริการอื่นๆเพื่อดำเนินการในการติดตั้งเก้าอี้โดยสารใหม่ กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อการบินไทยว่าจ้างโคอิโตะติดตั้งเก้าอี้ในชั้นประหยัดโดยในระยะแรกเป็นไปด้วยดีแต่เมื่อถึงต้นปี พ.ศ. 2553 บริษัทดังกล่าวไม่ได้การรับรองจากกรมการบินประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากการที่ดังกล่าวบริษัทเปลี่ยนมาตรฐาน ส่งผลให้ 2 รายการ จาก 18 รายการ ไม่ได้รับการรับรองความปลอดภัยจากประเทศญี่ปุ่น[84] เรื่องดังกล่าวนอกจากกระทบต้องเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 330 ยังกระทบต่อเครื่องบินแบบโบอิง 777-300 HS-TKE[85] โดยเครื่องบินลำดังกล่าวขายที่นั่งได้น้อยลงเพราะต้องขายเฉพาะที่นั่งที่ติดตั้งจากบริษัทโคอิโตะเพียงส่วนหนึ่งก่อนที่บริษัทดังกล่าวจะถูกถอนใบอนุญาต[86]
กรณีดังกล่าวยังได้ส่งผลกระทบต่อความยากลำบากในการให้บริการบนเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 330 เนื่องจากเครื่องบินมีการจ้างบริษัทที่ติดตั้งเก้าอี้แตกต่างกัน โดย 12 ลำแรก HS-TEA ถึง HS-TEM รหัส เอ333 เป็นการออกแบบที่นั่งแบบหนึ่ง ซึ่งไม่มีจอส่วนตัวให้ผู้โดยสารและจะใช้เครื่องยนต์ พีดับเบิลยู4000 อีกแปดลำต่อมาตั้งแต่ HS-TEN ถึง HS-TEU ก็ใช้การจัดเรียงที่นั่งอีกแบบหนึ่งซึ่งมีจอส่วนตัวให้ผู้โดยสารและใช้เครื่องยนต์โรลส์ รอยซ์ เทรนต์ 700 ส่วนในชุดสุดท้ายเป็นการออกแบบที่นั่งอีกแบบหนึ่งซึ่งทันสมัยมากที่สุดรหัส เอ33H ใช้เครื่องยนต์โรลส์ รอยซ์ เทรนต์ 700 นอกจากนั้นแล้วใน 4 ลำดังกล่าวการบินไทยได้เริ่มใช้รหัสใหม่เป็น HS-TBA ซึ่งโดยปกติแล้วแอร์บัส เอ 330 จะใช้รหัสเป็น HS-TE_ ทั้งนี้เพื่อกันความสับสนของนักบินและลูกเรือซึ่งใน 7 ลำดังกล่าวได้เลิกใช้การติดตั้งเก้าอี้ของบริษัทโคอิโตะในชั้นประหยัด
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "List of Thailand Air Operator Certificate Holders". Civil Aviation Authority of Thailand. 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 22 March 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "THAI : THAI AIRWAYS INTERNATIONAL PUBLIC COMPANY LIMITED". Stock Exchange of Thailand (SET). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 9 June 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "'การบินไทย' ลุยท่องเที่ยวไฮซีซัน เพิ่มพนักงาน 'เอาท์ซอร์ส' ระยะสั้น". Bangkok Business News. Bangkok. 12 October 2022. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.
- ↑ ประวัติ บมจ.การบินไทย เก็บถาวร 2011-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์การบินไทย
- ↑ "บริษัทร่วมทุน นกแอร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ "ผู้จัดการสายการบินแรกที่บินการบินไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-14. สืบค้นเมื่อ 2010-09-09.
- ↑ ประวัติบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในเว็บไซต์การบินไทย
- ↑ หนังสือกรมบัญชีกลาง ลงวันที่ 2 มีนาคม 2559
- ↑ 'การบินไทย' พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจแล้ว หลัง 'คลัง' ขายหุ้นให้วายุภักษ์วันนี้ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563)
- ↑ การบินไทยตั้งบอร์ดใหม่ 4 คน มีผล 25 พฤษภาคม 2563 จาก ไทยพีบีเอส
- ↑ "วิษณุ" รับ "ไพรินทร์" ลาออกบอร์ดการบินไทย ลดเสี่ยง-รักษาธรรมาภิบาล จาก ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ aof (2021-06-15). "ศาลล้มละลายเห็นชอบแผนฟื้นฟู "การบินไทย" ตั้ง 5 ผู้บริหารแผน". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ การบินไทยรุกยื่นขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการสร้างความเชื่อมั่นรับธุรกิจการบินฟื้นตัว จาก thaiairways.com
- ↑ การบินไทยแจ้งมติที่ประชุมเจ้าหนี้ในการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ จาก thaiairways.com
- ↑ ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย จาก thaiairways.com
- ↑ การพ้นจากตำแหน่งของผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จาก set.or.th
- ↑ "การปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจกลุ่มธุรกิจการบิน" (PDF). weblink.set.or.th. 2023-05-17. สืบค้นเมื่อ 2024-06-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ข้อมูลผู้ถือหุ้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2024-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "World Airline Directory." Flight International. 13 April 1961. Page 509.
- ↑ "World Airline Directory." Flight International. 26 March 1970. Page 503.
- ↑ "World Airline Directory." Flight International. 26 July 1980. Page 359.
- ↑ ‘การบินไทย’ ประกาศขายทรัพย์ฯ 10 รายการ เลหลัง ‘สนง.หลานหลวง-อาคารรักคุณเท่าฟ้า’
- ↑ "งบการเงินการบินไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-05. สืบค้นเมื่อ 2018-06-13.
- ↑ 24.0 24.1 "Thai Airways International Public Company Limited : Annual Report 2011" (PDF). Thai Airways International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 17 May 2015.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 "Thai Airways International Public Company Limited : Annual Report 2014". Thai Airways International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-28. สืบค้นเมื่อ 17 May 2015.
- ↑ 26.0 26.1 Kositchotethana, Boonsong (26 May 2015). "Carriers in Asia Pacific stuck in red". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2 June 2015.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 "รายงานประจำปี 2563 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)" (PDF). 2020-12-31. สืบค้นเมื่อ 2024-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 28.0 28.1 "รายงานประจำปี 2561 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)" (PDF). 2018-12-31. สืบค้นเมื่อ 2024-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 29.0 29.1 "รายงานประจำปี 2562 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)" (PDF). 2019-12-31. สืบค้นเมื่อ 2024-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ56-1/2562
- ↑ 31.0 31.1 31.2 "รายงานประจำปี 2565 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)" (ZIP). 2021-12-31. สืบค้นเมื่อ 2024-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รายงานประจำปี 2564 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)" (PDF). 2021-12-31. สืบค้นเมื่อ 2024-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 33.0 33.1 "รายงานประจำปี 2566 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)" (ZIP). 2021-12-31. สืบค้นเมื่อ 2024-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 34.0 34.1 AFFILIATES
- ↑ "กรุงไทยยอม'ทีจี'ขายทิ้งหุ้นนกแอร์165ล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-20. สืบค้นเมื่อ 2012-04-09.
- ↑ AFFILIATES
- ↑ THAI Cargo Adds Xiamen Service from June 2014
- ↑ 38.0 38.1 38.2 ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่ายครัวการบินไทย เก็บถาวร 2012-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ฝ่ายครัวการบินไทย
- ↑ ประวัติความเป็นมาของร้านพัฟแอนด์พาย เก็บถาวร 2012-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์พัฟแอนด์พาย
- ↑ Zero Waste Living การบินไทยมุ่งสู่ความยั่งยืนปี 2050
- ↑ "'เจ้าจำปี'ติดโผ แอร์สาวสุดฮอต 10 สายการบินทั่วโลก". www.thairath.co.th. 2011-09-29.
- ↑ การบินไทยผงาดอันดับ7แอร์ฯฮอตสุดของโลก
- ↑ ผู้โดยสารการบินไทยที่อาการโรคหัวใจกำเริบ ปลอดภัยแล้ว
- ↑ "การบินไทยมุ่งสู่การยอมรับระดับสากล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-23. สืบค้นเมื่อ 2012-06-14.
- ↑ 52 ปี การบินไทย นี้ดี[ลิงก์เสีย]
- ↑ 46.0 46.1 46.2 46.3 สัญลักษณ์การบินไทย เก็บถาวร 2012-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในเว็บไซต์การบินไทย
- ↑ "THAI's destinations". www.thaiairways.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Home". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2013. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Profile on Thai Airways". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2016. สืบค้นเมื่อ 31 October 2016.
- ↑ Liu, Jim (4 October 2017). "El Al / THAI expands codeshare service from Oct 2017". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2017. สืบค้นเมื่อ 5 October 2017.
- ↑ "Thai Airways Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-04.
- ↑ "Thai to add A321neos from mid-2025: CEO". FlightGlobal. 2023-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-06-06.
- ↑ Udol, Indy (2023-06-10). "Thai Airways to add A321neo aircraft in 2025". AviationSource News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-06-11.
- ↑ "CDB Aviation Leases Two A330-300s to Thai Airways". businesswire.com. 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2024-01-09.
- ↑ "Thai Airways details incoming leased aircraft through 2025". ch-aviation.com. 16 November 2023.
- ↑ "Thai Airways Eyes 30 Widebody Airplane Order: What Will It Pick?". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-06-05.
- ↑ เผยโฉม “โบอิ้ง 777” ฝูงบิน 1 ใน 3 ลำใหม่ของการบินไทย ลำตัวกว้างพิสัยไกล. 9 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2564.
- ↑ Thai Airways puts the brakes on new Boeing 777s. 11 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563.
- ↑ "Thai Airways orders 45 Boeing 787s plus options". reuters.com. 8 February 2023.
- ↑ Thai Airways International Fleet Details and History
- ↑ Boeing, Thai Airways Announce Order for 45 787 Dreamliners to Grow Fleet and Network
- ↑ AERCAP ANNOUNCES LEASE AGREEMENTS WITH THAI AIRWAYS FOR FOUR AIRBUS A350-900 AIRCRAFT, THREE BOEING 787-9 AIRCRAFT AND TEN AIRBUS A321NEO AIRCRAFT
- ↑ "Thai Airways International Fleet" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-09. สืบค้นเมื่อ 2018-11-08.
- ↑ 64.0 64.1 64.2 "THAI sells more planes". Bangkok Post. Bangkok. 21 September 2021. สืบค้นเมื่อ 21 September 2021.
- ↑ "Thai Airways puts more aircraft up for sale including A380s". Ch-Aviation. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
- ↑ Russell, Molly (2023-08-24). "Want An Airbus A380? Thai Airways Is Selling 6!". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
- ↑ Cummins, Nicholas (7 January 2020). "Fewer Jumbos In The Sky: Thai Airways To Retire All 747's By 2024". www.simpleflying.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
- ↑ "Thai Airways International Fleet Details and History". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 2023-07-30.
- ↑ Thai Airways A380
- ↑ "บริการการบินไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 2012-03-17.
- ↑ Sud Aviation SE-210 Caravelle III
- ↑ "Douglas DC-8-33". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-20. สืบค้นเมื่อ 2011-05-15.
- ↑ รายละเอียดเครื่องบินตก 2535
- ↑ รายละเอียดเครื่องบินตก 2541
- ↑ รายละเอียดเครื่องบินระเบิด 2544
- ↑ Accident: Thai A388 at Hong Kong on Aug 30th 2013, turbulence injures 39
- ↑ Accident: Thai A333 at Bangkok on Sep 8th 2013, runway excursion on landing
- ↑ Accident: Thai A340 at Bangkok on Feb 26th 2015, turbulence in the airspace
- ↑ Accident: Thai B777 at Singapore on Apr 12th 2016, turbulence in the airspace
- ↑ Incident: Thai A359 at Phuket on Sep 21st 2016, temporary runway excursion on landing
- ↑ Incident: Thai A333 at Islamabad on Dec 4th 2017, overran runway on landing
- ↑ Boeing 747-4D7
- ↑ Incident: Thai A333 at Islamabad on Oct 3rd 2018, bird strike
- ↑ การบินไทยเล็งฟ้องโคดิโตะผลิตเก้าอี้เร่งหารายใหม่แทน
- ↑ THAI Airways TG103 : CNX-BKK[ลิงก์เสีย]
- ↑ การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า[ลิงก์เสีย]