ข้ามไปเนื้อหา

สุรพล นิติไกรพจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรพล นิติไกรพจน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้ารศ.ดร.นริศ ชัยสูตร
ถัดไปศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กันยายน พ.ศ. 2503
จังหวัดอุดรธานี
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ศาสนาพุทธ

ศาสตราจารย์ สุรพล นิติไกรพจน์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2503)[1] กรรมการอิสระ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช[2]กรรมการในคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[3] อดีตประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิสาหกิจกรุงเทพมหานคร [4] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการสามัญองค์กรอิสระ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ และอดีตประธานคณะกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

สุรพล นิติไกรพจน์ เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2503 ที่จังหวัดอุดรธานี[5] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเลยพิทยาคมและสำเร็จการศึกษาสาขานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบการศึกษาเนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 35 จากสำนักศึกษาอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา Diplôme d’études approfondies de droit public จากมหาวิทยาลัย Strasbourg III ประเทศฝรั่งเศส Doctorat de l’Université Robert Schuman de Strasbourg (mention très honorable) มหาวิทยาลัย Robert Schuman ฝรั่งเศส ประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตร สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์นานาชาติ “การกระจายอำนาจ และ การปกครองท้องถิ่น” (IIAP.) กรุงปารีส, ฝรั่งเศส ได้รับปริญญาดูษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย Soka ประเทศญี่ปุ่น และ ประกาศนียบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2553

ประวัติการทำงาน

[แก้]
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2547 – 2553
  • คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544 - 2547
  • ประธานคณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2551 - 2554
  • ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและกรรมการอิสระบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2552 – 2555 ​
  • ประธานคณะกรรมการบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร) พ.ศ. 2557 - 2559 ​
  • ผู้อำนวยการ/ผู้ก่อตั้งโครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน (หลักสูตร 3 เดือน) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2538
  • ที่ปรึกษากฎหมายสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2538
  • ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(นายบรรหาร ศิลปอาชา)ด้านกฎหมาย พ.ศ. 2538
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (นายุญชู ตรีทอง) พ.ศ. 2538
  • กรรมการที่ปรึกษากฎหมายและการยุติธรรมของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538
  • กรรมการในคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2539
  • กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2539
  • กรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. 2541
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต พ.ศ. 2544
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2545
  • กรรมการที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
  • ประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548
  • ที่ปรึกษากฎหมายสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
  • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
  • ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549
  • ที่ปรึกษากฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2555
  • ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานศาลปกครอง พ.ศ. 2555
  • กรรมการแผนกธรรมศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล พ.ศ. 2557
  • กรรมการอิสระ บริษัทพีทีทีโกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2557
  • กรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาต พ.ศ. 2558
  • กรรมการบริหารสถาบันคลังสมองแห่งชาติ พ.ศ. 2558
  • รองประธานคณะกรรมการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย พ.ศ. 2558

ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน

[แก้]
  • ศาสตราจารย์ประจำสาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • อุปนายกสถาบันวิทยสิริเมธี
  • กรรมการอิสระบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  • ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานศาลปกครองและที่ปรึกษากฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชน (กพม.)
  • กรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 8 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • ประธานคณะกรรมการบริหาร โรงเรียนกำเนิดวิทย์
  • ประธานกรรมการบริหารศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหารโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • รางวัลพระราชทานเรียนดี “ทุนภูมิพล” ในฐานะผู้สำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2524
  • รางวัลโครงการวิจัยดีเด่นด้านนโยบายสาธารณะ คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. 2538
  • รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขานิติศาสตร์ ประจำปี 2541 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลชมเชยผลงานวิจัยสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี 2543 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลชมเชยผลงานวิจัยสาขาการศึกษา ประจำปี 2544 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
  • “บุคคลแห่งปี 2545” ในฐานะนักกฎหมายตัวอย่างจากกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (31 ธค. 2545)
  • รางวัลชมเชยผลงานวิจัย ประจำปี 2547 จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  • รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2547 สาขานิติศาสตร์ จากสภาวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลผู้บริหารข้าราชพลเรือนดีเด่น ครุฑทองคำ ประจำปี 2549 จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
  • กีรตยาจารย์ สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2560

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ศ.ดร.สุรพลสมรสกับจรรยา นิติไกรพจน์[6] มีบุตรสาว 2 คนคือ พธู นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และ ภัทรา นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

เกียรติประวัติ[7]

[แก้]

ในระหว่างดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (1 ตค. 2547 - 25 -ตค. 2553)

  • กำหนดนโยบายที่จะไม่มีการจัดการศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนอกจากทั้งสี่ศูนย์การศึกษาคือ ท่าพระจันทร์ รังสิต ลำปางและพัทยา
  • ทบทวนหลักสูตรทั้งหมดพร้อมจัดให้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทำให้ในปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแรกของประเทศที่มีมาตรฐานครบถ้วนตามเกณฑ์
  • กำหนดนโยบายไม่เพิ่มจำนวนรับนักศึกษาปริญญาตรี แต่จะเพิ่มในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเต็มรูปแบบ
  • พัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้านมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยจนได้รับคะแนนประเมินในระดับดีมากติดต่อกัน 3 ปี
  • ปรับปรุงระบบบริหารจัดการระหว่างท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง ศูนย์พัทยาทำให้การบริหารเชื่อมโยงระหว่างสี่ศูนย์ของมหาวิทยาลัยสะดวก มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เพิ่มงบประมาณสนับสนุนการวิจัย/ กำหนดตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยขึ้นใหม่เพื่อดูแลงานวิจัย / ตั้งสำนักงานส่งเสริมการวิจัยเป็นหน่วยงานใหม่
  • สนับสนุนให้ก่อสร้าง TU Dome Residential Complex เพื่อเป็นหอพักนักศึกษาที่ศูนย์รังสิต
  • กำหนดให้รถตู้โดยสารปรับอากาศระหว่างท่าพระจันทร์-รังสิตใช้ NGV
  • จัดวางระบบและเริ่มให้บริการรถตู้โดยสารจากศูนย์รังสิตถึงสถานี BTS หมอชิต, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค
  • สนับสนุนการจัดตั้งธนาคารขยะขึ้นที่ศูนย์รังสิตทำให้เป็นกรณีศึกษาต้นแบบของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • จัดให้มีโรงอาหารศูนย์สุขศาสตร์แห่งที่ 2
  • เพิ่มร้านสะดวกซื้อในมหาวิทยาลัย
  • จัดตั้งธนาคารกรุงไทยสาขาธรรมศาสตร์รังสิต
  • สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิที่ศูนย์รังสิต

ในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

  • ก่อตั้งโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อรับรักษาผู้ป่วย COVID-19

ผลงานวิชาการ

[แก้]

งานวิจัย

[แก้]
  • สุรพล นิติไกรพจน์ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ” รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2546, 261 หน้า. (พิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือโดยสำนักพิมพ์วิญญูชน พ.ศ. 2547) (รางวัลชมเชยผลงานวิจัยประจำปี 2547 จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)
  • สุรพล นิติไกรพจน์ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) “โครงการศึกษากฎหมายเพื่อการบริหารและจัดการศึกษาตามโครงสร้างใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ” ,รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, พฤศจิกายน 2546, 757 หน้า.
  • สุรพล นิติไกรพจน์ (ผู้วิจัยร่วม) “ศึกษาความเป็นไปได้ในการลดสภาพความเป็นนิติบุคคลของส่วนราชการ” รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนัก กพร. , 2547, 333 หน้า.
  • สุรพล นิติไกรพจน์ (ที่ปรึกษาคณะผู้วิจัย) “รายงานวิจัยและพัฒนากฎหมายบริหารงานบุคคลและการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต” ,รายงานการวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, กรกฎาคม 2548, 160
  • สุรพล นิติไกรพจน์ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) “โครงการวิจัยและพัฒนากฎหมายเพื่อการบริหารจัดการโรงเรีนจุฬาภรณราชวิทยาลัยรูปแบบใหม่”,รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พฤษภาคม 2554, 93 หน้า.
  • สุรพล นิติไกรพจน์ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) “โครงการวิจัยและพัฒนากฎหมายเพื่อการบริหารจัดการศึกษานิติบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ” เสนอต่อ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 27 กุมภาพันธ์ 2555, 204 หน้า
  • สุรพล นิติไกรพจน์ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) “โครงการวิจัยเรื่อง แนวทางและความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนภารกิจ บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต” เสนอต่อ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 15 กุมภาพันธ์ 2556, 264 หน้า.

ตำราวิชาการ

[แก้]
  • สุรพล นิติไกรพจน์. "สัญญาทางปกครอง". กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.

บทความ

[แก้]
  • “ปัญหาทางกฎหมายในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย” บทความเสนอต่อที่ประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศระดับภูมิภาคว่าด้วยกฎหมายเปรียบเทียบครั้งที่ 3 เรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในการแปรรูปองค์กรจัดทำบริการสาธารณะ, 29-30 เมษายน 2542, 38 หน้า (ลงพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2542, น.166-203)
  • “การปฏิรูประบบราชการของออสเตรเลีย” วารสารกฎหมายปกครอง เล่ม 18 ตอน 2, ธันวาคม 2542, น.55-81
  • “ปัญหาและข้อเท็จจริงในการโอนอำนาจจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1066 ,1067 และ 1068 ปีที่ 21 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2544
  • “ปัญหาการวินิจฉัยคุณสมบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชาติธุรกิจ, 18-20 มีนาคม 2544
  • “ปฏิรูปราชการ : ไม่มีปัญหา อย่าเป็นห่วง อย่ามายุ่ง : จริงหรือ ?” หนังสือรพี 2545, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545, หน้า 36-43
  • “ความเป็นนิติบุคคลของโรงเรียน” เอกสารประกอบการสัมมนารวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทย 9-10 สิงหาคม 2546, สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2546, หน้า 27-38.
  • “การปฏิรูประบบราชการกับการแพทย์”ในหนังสือโครงการบริหารโรงพยาบาลให้ทันยุค, 2546, หน้า 125-134.
  • “ทัศนะต่อคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการกรณี ITV”, วารสารข่าวกฎหมายใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 23, 1 มีนาคม 2547 , หน้า 15-20.
  • “ภาพจริง-ภาพลวง : สังคมแห่งนิติรัฐ” ปาฐกถาพิเศษ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, พิมพ์เผยแพร่โดยสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2548, 24 หน้า
  • “การเสริมสร้างระบบการบริหารการปกครองตามหลักนิติธรรม (The rule of law) “ ในเอกสารแผนแม่บทพัฒนาการเมืองเสนอต่อคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2550 , 31 หน้า.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข่าวทะลุคน : สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภา มธ.คนใหม่
  2. นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  3. กรรมการในคณะกรรมการควบคุม
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
  5. ปี 2563 สรุปสาระสำคัญจากปาฐกถาหัวข้อ “ชีวิต งาน และปณิธานเมื่อ 60 ปี” เนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
  6. จรรยา นิติไกรพจน์ กับ เบเลสซ่าฆสปาชานเมือง ใช้ความต่างสร้างจุดเด่น
  7. สุรพล นิติไกรพจน์. "หกปีที่ธรรมศาสตร์ (Six years at Thammasat)". กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๐๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๓๕, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๒, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สุรพล นิติไกรพจน์ ถัดไป
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(26 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553)
ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์