ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Office of the National Economic and Social Development Council
เครื่องหมายราชการ
ตราพระตรีมูรติ
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493; 74 ปีก่อน (2493-02-15)
สำนักงานก่อนหน้า
  • สำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ (2493)
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ (2502)
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2515)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
บุคลากร807 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี738,599,200 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • ดนุชา พิชยนันท์, เลขาธิการ
  • วิชญายุทธ บุญชิต, รองเลขาธิการ
  • วันฉัตร สุวรรณกิตติ, รองเลขาธิการ
  • วรวรรณ ผลิคามิน, รองเลขาธิการ
  • ศศิธร พลัตถเดช, รักษาการรองเลขาธิการ
  • ภาวิณา อัศวมณีกุล, รักษาการรองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักงานสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. (อังกฤษ: Office of the National Economic and Social Development Council) เดิมชื่อ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานราชการไทย ส่วนสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วงระยะเวลา 5 ปี และวิเคราะห์ ประเมินแผนงานและโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ พิจารณางบลงทุนประจำปี ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี และกระทรวงต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2522 กำกับดูแล และติดตามผลการดำเนินงาน ของบริษัทเอกชนในโครงการที่มีการลงทุนหรือมีทรัพย์สินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย จากคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ เช่น เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพิเศษ เช่น คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการเหล่านี้มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ประวัติ

[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[3] ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 โดยใช้ชื่อว่า สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีหน้าที่เสนอความเห็น คำแนะนำ ต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2502 มีการเพิ่มบทบาทหน้าที่ให้เป็นหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่วางแผนพัฒนาประเทศเป็นการเฉพาะ และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีการนำแผนพัฒนาสังคมมาใช้ควบคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และเปลี่ยนชื่อของหน่วยงานใหม่เป็น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216[4]

กระทั่งวันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ จังหวัดนครสวรรค์ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ... ฉบับใหม่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จแล้วก่อนส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไปสาระสำคัญคือให้ยุบเลิกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพร้อมกับตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นมาแทนทำนองเดียวกับ พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2502 ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้เข้าสู่การประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 47/2561 วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ในวาระที่ 1 ชั้นรับหลักการ[5] ซึ่งที่ประชุมมีมติรับหลักการด้วยคะแนนเห็นด้วย 180 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง

โดยมีกำหนดพิจารณาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 68/2561 วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ ร่าง พ.ร.บ. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกาศใช้เป็นกฎหมาย[6] ด้วยคะแนน เห็นด้วย 186 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง โดยส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้พร้อมกับข้อเสนอแนะกลับไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป

กระทั่งวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561[7]

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่อาคารสุริยานุวัตร ถนนกรุงเกษม ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเดิมเป็นบ้านของมหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง สศช. ได้ซื้ออาคารและที่ดินนี้ในปี พ.ศ. 2493 และบูรณะปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2534[ต้องการอ้างอิง]

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค

[แก้]

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีสำนักงานซึ่งมีฐานะเป็นราชการส่วนกลางตั้งอยู่ในภูมิภาค จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

  • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
  • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น
  • สำนกงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง ตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี
  • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจแสะสังคมภาคใต้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

[แก้]

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (National Economics and Social Development Council - NESDC) เป็นสภาที่ตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มีหน้าที่เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี พิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานงานระหว่าง สศช.กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการจัดทำแผนงาน และในด้านการปฏิบัติงาน

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามมาตรา 6 มี 23 คน ประกอบด้วย

ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่

เลขาธิการ

[แก้]

เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

[แก้]

รายนามเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ลำดับ ชื่อ วาระการดำรงตำแหน่ง
1 นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ พ.ศ. 2493-2499
2 นายฉลอง ปึงตระกูล พ.ศ. 2499-2506
3 นายประหยัด บุรณศิริ พ.ศ. 2506-2513
4 นายเรณู สุวรรณสิทธิ์ พ.ศ. 2513-2516
5 ดร.เสนาะ อูนากูล พ.ศ. 2516-2518 (สมัยที่ 1)
6 นายกฤช สมบัติสิริ พ.ศ. 2518-2523
5 ดร.เสนาะ อูนากูล พ.ศ. 2523-2532 (สมัยที่ 2)
7 นายพิสิฏฐ ภัคเกษม พ.ศ. 2532-2537
8 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พ.ศ. 2537-2539
9 นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม พ.ศ. 2539-2542
10 นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม พ.ศ. 2542-2545
11 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช พ.ศ. 2545[9] - 2547
12 ดร.อำพน กิตติอำพน พ.ศ. 2547 - 2553
13 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ พ.ศ. 2553[10] - 30 กันยายน 2558[11]
14 ดร.ปรเมธี วิมลศิริ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[12] - 10 เมษายน พ.ศ. 2561[13]
15 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561[14]

เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อ ระยะเวลา
15 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
16 นายดนุชา พิชยนันท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564-2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต.“ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2506 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรม เสียใหม่) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอน 145 ก พิเศษ หน้า 1 29 กันยายน พ.ศ. 2515
  5. บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 47/2561 วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561 ณ ตึกรัฐสภา
  6. บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 68/2561 วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2561 ณ ตึกรัฐสภา
  7. พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561
  8. โปรดเกล้ากรรมการสภาพัฒน์
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายปรเมธี วิมลศิริ)
  13. ตั้ง"ปรเมธี วิมลศิริ"ข้ามห้วยนั่งปลัดพม.แทน"พุฒิพัฒน์
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (นายทศพร ศิริสัมพันธ์)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]