การประปาส่วนภูมิภาค
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตราสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงพระแม่ธรณีและแผนที่ประเทศไทยในพื้นหลัง | |
ชื่อท้องถิ่น | Provincial Waterworks Authority |
---|---|
ชื่อโรมัน | Kan Prapa Suan Prumiphak |
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
อุตสาหกรรม | การจ่ายน้ำประปาในส่วนภูมิภาค |
ก่อนหน้า |
|
ก่อตั้ง | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | ใน
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 72 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่, กรุงเทพมหานคร 10210 , |
จำนวนที่ตั้ง |
|
พื้นที่ให้บริการ | 74 จังหวัดของไทย |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ | น้ำดื่ม |
บริการ | |
รายได้ | 32,297.11 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
รายได้จากการดำเนินงาน | 30,824.97 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
รายได้สุทธิ | 5,079.35 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
ทรัพย์สินสุทธิ | 4,510,2924 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
สินทรัพย์ | 152,695.78 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 47,536.92 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
พนักงาน | 9,067 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
บริษัทแม่ | กระทรวงมหาดไทย |
บริษัทในเครือ | จัดหาและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
การประปาส่วนภูมิภาค หรือ กปภ. (อังกฤษ: Provincial Waterworks Authority) เป็นรัฐวิสาหกิจหนึ่งในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 มีหน้าที่ผลิตและให้บริการเกี่ยวกับน้ำประปาในทุกพื้นที่ของประเทศไทย (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ) อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลขององค์การอนามัยโลก
ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้ง "กรมสุขาภิบาล" เพื่อบริหารจัดการน้ำมาใช้ในพระนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 รัฐบาลในขณะนั้นได้อนุมัติให้ กรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างการประปาขึ้น ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ โคกกระเทียม ใช้ชื่อว่า "การประปาพิบูลสงคราม" เพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำให้ประชาชน และได้ขยายไปยังต่างจังหวัดในปี พ.ศ. 2497 รวม 6 แห่ง คือ ขอนแก่น ราชบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และ ภูเก็ต
การผลิตและจำหน่ายน้ำสำหรับประชาชน เดิมแบ่งออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ
- กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบระบบประปาในเขตชุมชนที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 5,000 คน ขึ้นไป
- กองประปาชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบระบบประปาในหมู่บ้าน
ต่อมาได้มีการศึกษาวิธีการจัดรูปแบบการบริหารจัดการประปาภูมิภาค โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และมีการตราพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มีผลให้กิจการประปาของกรมโยธาธิการ และกรมอนามัย ถูกโอนมารวมกันเป็น "การประปาส่วนภูมิภาค" ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522[3]
คณะกรรมการ
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567 แต่งตั้งคณะกรรมการดังนี้
- นายกองเอก พรพจน์ เพ็ญพาส อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการ
- พลโท ดร. พิเชษฐ คงศรี กรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เผ่าภัค ศิริสุข อดีตรักษาการแทนรองอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- นางปาณิสรา ดวงสอดศรี ประธานกรรมการบริหารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- พลอากาศตรี นิพนธ์ โพธิ์เจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- นายปริญญา แสงสุวรรณ อดีตอธิบดีกรมท่าอากาศยาน
- นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
- แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย
- ดร.พีระพันธ์ เหมะรัต ประธานคณะอนุกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)[4]
- นางสาวศุกร์ศิริ อภิญญานุวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
พื้นที่บริการ
การประปาส่วนภูมิภาค มีเขตพื้นที่บริการแบ่งออกเป็น 10 เขต ได้แก่[5]
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 1 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด และระยอง
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา นครนายก ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสิงห์บุรี
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 3 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 4 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต พังงา ระนอง และชุมพร
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล ตรัง และพัทลุง
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 6 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 7 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 9 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และลำพูน
- การประปาส่วนภูมิภาคเขต 10 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร และกำแพงเพชร
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 การประปาส่วนภูมิภาค, รายงานประจำปี 2566 การประปาส่วนภูมิภาค, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๔๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522
- ↑ กกต.เซ็นตั้ง30 อนุกรรมการฯ ขี้ขาดข้อโต้แย้ง รับมือเลือกตั้ง "พีระพันธ์" นั่งประธาน
- ↑ "การแบ่งเขตการบริหารของ กปภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-12-23.