สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย | |
---|---|
พื้นที่กระจายเสียง | ประเทศไทย |
ความถี่ | ดูในบทความ |
สัญลักษณ์ | วิทยุแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ คู่ความสุข |
แบบรายการ | |
ภาษา | ภาษาไทย |
รูปแบบ | กระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน |
การเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | กรมประชาสัมพันธ์ |
ผู้ประกอบธุรกิจ | ชนิสา ชมศิลป์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย |
ประวัติ | |
เริ่มกระจายเสียง | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
พิกัดสถานีส่ง | 236 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 ประเทศไทย |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | radiothailand.prd.go.th |
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: สวท.) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาล มีสถานะเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี] โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล
ประวัติวิทยุ
[แก้]กิจการวิทยุกระจายเสียงของไทย เริ่มต้นมาราว ๆ ปี 2470 ถึง 2472 โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงริเริ่มทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง โดยทรงตั้งชื่อว่า สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท เนื่องจากส่งกระจายเสียงจากพระราชวังพญาไท โดยมอบหมายให้ กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง และดำเนินการกระจายเสียงได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 โดยเป็นกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง[1]
ต่อมาในปี 2482 คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติให้โอนกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขดำเนินการอยู่นั้น ไปขึ้นตรงกับ สำนักงานโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ชื่อใหม่ว่า สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ซึ่งใช้อยู่เพียงเวลาสั้น ๆ ก่อนจะเปลี่ยนอีกครั้งเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2484 หลังจากมีประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482
พันธกิจ
[แก้]- กระจายเสียงเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ของรัฐด้านนโยบาย ข้อมูลข่าวสาร และสะท้อนปัญหาของประชาชนสู่รัฐบาล ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐกับประชาชน
- สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงและส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
โครงสร้างการบริหาร
[แก้]สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย บริหารงานตามรูปแบบหน่วยราชการ จัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงาน ดังต่อไปนี้
- ส่วนกระจายเสียงในประเทศ
- ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศ
- ส่วนสื่อข่าวและผลิตรายการข่าว (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์)
- ส่วนผลิตรายการ
- ส่วนเทคนิค
- ส่วนสถานีเครื่องส่ง 1000 กิโลวัตต์
- ส่วนบริหารการดนตรี (วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์)
- ส่วนแผนงานและประชาสัมพันธ์
- ฝ่ายบริหารทั่วไป
- กลุ่มสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย (ภาคกลาง)
เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
[แก้]เครือข่ายฯ ส่วนกลาง
[แก้]เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในส่วนกลางครอบคลุม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย
- คลื่น FM มีทั้งหมด 6 ความถี่ ได้แก่
- เครือข่ายวิทยุฯ ภาคบริการโลก FM 88.00 MHz (สวท. ผลิตรายการเอง ในนาม Radio Thailand English Service FM 88)
- เครือข่ายวิทยุฯ แห่งชาติ FM 92.50 MHz (สวท. ผลิตรายการเอง)
- เครือข่ายวิทยุฯ เพื่อความรู้ และสาระบันเทิง FM 93.50 MHz (เอกชนเช่าสัมปทานเฉพาะภาคกลางวัน ในชื่อ Top Radio 93.5 MHz และ สวท. ผลิตรายการเองเฉพาะภาคกลางคืน)
- เครือข่ายวิทยุฯ เพื่อความรู้ และสาระบันเทิง FM 95.50 MHz (ในอดีต บมจ.บีอีซี-เทโร เรดิโอ ในเครือ บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เคยเช่าสัมปทาน ในชื่อ HITZ 955[2] >>> ตั้งแต่ เม.ย. 2566 - ปัจจุบัน สวท. ผลิตรายการเอง ในนาม Metro Life 95.5 MHz คลื่นของคนเมือง)
- เครือข่ายวิทยุฯ สถานีข่าวคุณภาพ FM 97.00 MHz (บมจ.เอ.ซี.เรคคอร์ดส์ เช่าสัมปทาน ในนาม สถานีข่าวคุณภาพ FM 97 QFM Quality News Station)
- เครือข่ายวิทยุฯ เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว FM 105.00 MHz (บจก.โอ น้อย ออก และ กลุ่มคนตัว D เช่าสัมปทานเฉพาะภาคกลางวัน ในชื่อ 105 Smile Thailand และ Home Radio ส่วน สวท. ผลิตรายการเองเฉพาะภาคกลางคืนในนาม สถานีวิทยุเพื่อครอบครัว Happy Family Radio FM 105 MHz)
- คลื่น AM มีทั้งหมด 3 ความถี่ ได้แก่ [3]
- เครือข่ายวิทยุฯ แห่งชาติ AM 891 kHz
- เครือข่ายวิทยุฯ เพื่อการถ่ายทอดเสียง AM 819 kHz
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย (ภาคกลาง) AM 1467 kHz (เดิมชื่อ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา - สวศ.)
- เครือข่ายวิทยุฯ ภาคบริการโลก (Radio Thailand World Service) คลื่นสั้น (Short Wave) จำนวน 5 ความถี่ ได้แก่[4]
- 7.475 MHz
- 9.940 MHz
- 9.385 MHz
- 13.750 MHz
- 17.645 MHz
เครือข่ายฯ ส่วนภูมิภาค
[แก้]เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในส่วนภูมิภาค จะสังกัดสำนักงานประชาสัมพันธ์ของแต่ละเขตที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ (ประจำจังหวัด อำเภอ หรือเขตพื้นที่ต่างๆ) โดยมีทั้งหมด 8 เขต รวม 90 สถานี (FM 82 สถานี AM 8 สถานี) โดยมีรายชื่อสถานี ดังนี้[6][7]
สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 1
[แก้]สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 1 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีดังนี้:
- สวท.กาฬสินธุ์ FM 93.00 MHz
- สวท.ขอนแก่น FM 98.50 และ 99.50 MHz
- สวท.ชัยภูมิ FM 92.75 MHz
- สวท.มหาสารคาม FM 106.50 MHz
- สวท.เลย FM 95.25 MHz
- สวท.หนองคาย FM 90.50 MHz และ AM 810 KHz
- สวท.หนองบัวลำภู FM 97.25 MHz
- สวท.นครราชสีมา FM 105.25 MHz และ AM 729 KHz
- สวท.ด่านซ้าย AM 909 KHz
- สวท.บึงกาฬ FM 104.25 MHz
- สวท.อุดรธานี FM 93.75 MHz
สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 2
[แก้]สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 2 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีดังนี้:
- สวท.นครพนม FM 90.25 MHz และ AM 981 KHz
- สวท.มุกดาหาร FM 99.25 MHz และ AM 549 KHz
- สวท.ยโสธร FM 90.00 MHz
- สวท.ศรีสะเกษ FM 100.25 MHz
- สวท.สุรินทร์ FM 97.50 และ 93.50 MHz
- สวท.อุบลราชธานี FM 98.50 MHz และ AM 1341 KHz
- สวท.บุรีรัมย์ FM 101.75 MHz และ AM 1368 KHz
- สวท.ร้อยเอ็ด FM 94.00 MHz
- สวท.อำนาจเจริญ FM 103.25 MHz
สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 3
[แก้]สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 3 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคเหนือตอนบน มีดังนี้:
- สวท.เชียงราย FM 95.75 MHz
- สวท.เชียงใหม่ FM 98.00 และ 93.25 MHz
- สวท.น่าน FM 94.75 MHz
- สวท.แพร่ FM 91.00 MHz
- สวท.แม่สะเรียง FM 90.50 MHz
- สวท.ลำพูน FM 95.00 MHz
- สวท.ฝาง FM 89.25 MHz
- สวท.พะเยา FM 95.25 MHz
- สวท.ลำปาง FM 97.00 MHz
- สวท.แม่ฮ่องสอน FM 104.00 MHz
สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 4
[แก้]สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 4 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคเหนือตอนล่าง มีดังนี้:
- สวท.กำแพงเพชร FM 97.75 MHz
- สวท.แม่สอด FM 103.75 MHz
- สวท.พิษณุโลก FM 94.25 MHz และ AM 1026 KHz
- สวท.สุโขทัย FM 93.75 MHz
- สวท.ตาก FM 102.00 MHz และ AM 864 KHz
- สวท.นครสวรรค์ FM 93.25 MHz
- สวท.เพชรบูรณ์ FM 102.75 MHz
- สวท.อุตรดิตถ์ FM 96.75 MHz
สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 5
[แก้]สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 5 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคใต้ตอนบน มีดังนี้:
- สวท.กระบี่ FM 98.50 MHz
- สวท.ชุมพร FM 100.00 MHz
- สวท.ภูเก็ต FM 96.75 MHz และ AM 1062 KHz
- สวท.พังงา FM 100.00 MHz
- สวท.ระนอง FM 107.25 MHz และ AM 783 KHz
- สวท.สุราษฎร์ธานี FM 95.50 MHz และ 89.75 MHz
- สวท.นครศรีธรรมราช FM 93.50 MHz
- สวท.ทุ่งสง FM 97.00 MHz
- สวท.สมุย FM 96.75 MHz
- สวท.ตะกั่วป่า FM 90.25 MHz
สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 6
[แก้]สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 6 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคใต้ตอนล่าง มีดังนี้:
- สวท.ตรัง FM 91.50 MHz และ AM 810 KHz
- สวท.สุไหงโกลก FM 106.50 MHz
- สวท.พัทลุง FM 98.00 MHz
- สวท.เบตง FM 93.00 MHz
- สวท.สงขลา FM 90.50 และ 89.50 MHz และ AM 558 KHz
- สวท.สตูล FM 95.50 MHz
- สวท.นราธิวาส FM 98.25 MHz
- สวท.ปัตตานี FM 101.00 MHz
- สวท.ยะลา FM 92.00, 94.25 และ 95.00 MHz
สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 7
[แก้]สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 7 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันออก มีดังนี้:
- สวท.จันทบุรี FM 90.25 MHz AM 1125 KHz
- สวท.สระแก้ว FM 103.25 MHz
- สวท.ระยอง FM 91.75 MHz
- สวท.ตราด FM 92.75 MHz
- สวท.ชลบุรี FM 99.75 MHz
สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 8
[แก้]สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 8 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันตก มีดังนี้:
- สวท.กาญจนบุรี AM 558 KHz
- สวท.เพชรบุรี FM 95.75 MHz
- สวท.ประจวบคีรีขันธ์ FM 102.25 MHz
- สวท.สุพรรณบุรี FM 102.25 MHz
- สวท.ชัยนาท FM 91.75 MHz
- สวท.สังขละบุรี FM 94.25 MHz
- สวท.ราชบุรี AM 1593 KHz
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://nbt.prd.go.th/about_sub_1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2/ เก็บถาวร 2020-02-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ความเป็นมา | การให้บริการ - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
- ↑ http://www.becteroradio.com/about เก็บถาวร 2020-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เกี่ยวกับเรา - บีอีซี-เทโร เรดิโอ
- ↑ [1] ใจหาย....สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย แจ้งยุติการออกอากาศ 41 คลื่น ขอนแก่นโดนด้วย
- ↑ [2] วิทยุดิจิตอล DAB [EP.01] การออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยก่อนจะไปเป็นวิทยุแบบดิจิตอล - บริษัท ไฮ โซลูชั่น อ๊อฟ เทเลวิชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด (สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564)
- ↑ [3] ข้อมูลความถี่คลื่นสั้นล่าสุด ธันวาคม 2566
- ↑ https://broadcast.nbtc.go.th/data/operator/FM.pdf เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลวิทยุกระจายเสียงระบบ FM - กสทช.
- ↑ https://puredhamma.com/radiolist/ เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ช่องทางการรับฟัง - Pure Dhamma : ธรรมะล้วนๆ