ข้ามไปเนื้อหา

ธนาคารกสิกรไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:KBANK
ISINTH1522733780 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน
ธนาคาร
ก่อตั้ง8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (79 ปี)
ผู้ก่อตั้งโชติ ล่ำซำ
พระยาคทาธรบดีสีหราชบาลเมือง (เทียบ อัศวรักษ์)
สำนักงานใหญ่400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (ประธานกรรมการ)
ขัตติยา อินทรวิชัย (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
รายได้เพิ่มขึ้น 185,002.38 ล้านบาท (2562)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 3,293,888.99 ล้านบาท (2562)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 406,357.62 ล้านบาท (2562)[1]
พนักงาน
19,153
อันดับความน่าเชื่อถือFitch: AA+(tha)[2]
เว็บไซต์www.kasikornbank.com

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Kasikornbank Public Company Limited; SET:KBANK) (จีนตัวย่อ: 开泰银行 ; จีนตัวเต็ม: 開泰銀行 ; พินอิน: Kāi Tài Yínháng) (ญี่ปุ่น: 開泰銀行โรมาจิHari Tai Ginkō) เป็นธนาคารในประเทศไทย ที่มีคำขวัญว่า "บริการทุกระดับประทับใจ" ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 โดยตระกูลล่ำซำ ปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมีสาขากว่า 800 สาขา และตู้เอทีเอ็มกว่า 8,000 เครื่องทั่วประเทศ ธนาคารกสิกรไทยถือได้ว่าเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการเงิน โดยการพัฒนาแอปพลิเคชัน K PLUS ให้เป็นแอปพลิเคชัน Mobile Banking ที่มีความเสถียรสูงและมียอดผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย และยังมีแอปพลิเคชันอื่น ๆ ที่พัฒนาโดยบริษัทในเครือธนาคาร อาทิ MAKE by KBank, KhunThong (ขุนทอง), K SHOP และ YouTrip

ธนาคารกสิกรไทยมีสำนักงานใหญ่แห่งแรกตั้งอยู่ที่ถนนเสือป่า ต่อมาเมื่อกิจการมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงได้ขยายการบริหารงานและย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังสำนักสีลมในปี พ.ศ. 2510, สำนักพหลโยธินในปี พ.ศ. 2526 และสำนักราษฎร์บูรณะ ในปี พ.ศ. 2538 ก่อนจะย้ายสำนักงานใหญ่จากอาคารราษฎร์บูรณะ กลับมายังถนนพหลโยธินในปี พ.ศ. 2564 ถึงปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]
เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติของธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารกสิกรไทย (ชื่อภาษาอังกฤษเดิม: Thai Farmers Bank; TFB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 โดยตระกูลล่ำซำ ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5 ล้านบาท โดยมีพนักงานชุดแรก จำนวน 21 คน มีอาคารที่ทำการ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาสำนักถนนเสือป่า ทั้งนี้ งวดบัญชีแรกของธนาคารฯ นับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม สิ้นปีเดียวกัน มียอดเงินฝากจำนวน 12 ล้านบาท และธนาคารฯ มีสินทรัพย์รวม 15 ล้านบาท ต่อมาธนาคารฯได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 และธนาคารฯได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน[3]

ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มีทุนจดทะเบียน 30,486 ล้านบาท มีสินทรัพย์จำนวน 2,339,798 ล้านบาท เงินรับฝากจำนวน 1,567,499 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อจำนวน 1,471,922 ล้านบาท มีสาขาและสำนักงานย่อยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 315 สาขา และส่วนภูมิภาคจำนวน 739 สาขา มีสาขาและสำนักงานตัวแทนต่างประเทศจำนวน 11 แห่ง ได้แก่ สาขาลอสแอนเจลิส สาขาฮ่องกง สาขาหมู่เกาะเคย์แมน สาขาเซินเจิ้น สาขาเฉิงตู สาขาย่อยหลงกั่ง สำนักงานผู้แทนกรุงปักกิ่ง สำนักงานผู้แทนนครเซี่ยงไฮ้ สำนักงานผู้แทนเมืองคุนหมิง สำนักผู้แทนงานกรุงโตเกียว และสำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง สาขาและสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศเหล่านี้ ให้บริการและส่งเสริมความสะดวกต่าง ๆ ด้านการค้า การเงินระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่ค้าทั่วโลก[4]

ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ธนาคารกสิกรไทย มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 808 สาขา มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงเทพตามลำดับ[5] และมีตู้เอทีเอ็มกว่า 8,000 เครื่องทั่วประเทศ มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพตามลำดับ

วิวัฒนาการ

[แก้]
  • พ.ศ. 2516 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตอเนกประสงค์" ที่ให้บริการถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบเอทีเอ็ม อันเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2523 - ธนาคารฯ เริ่มออกใบรับฝากเงิน ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposits) ในตลาดการเงินของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทย ที่ดำเนินการดังกล่าว
  • พ.ศ. 2536 - ธนาคารฯ เริ่มนำระบบ "รีเอ็นจิเนียริ่ง" (Reengineering) มาใช้เป็นแห่งแรก ซึ่งส่งผลให้วงการธนาคารพาณิชย์ไทยตื่นตัว กับการปรับปรุงรูปแบบสาขาและการให้บริการ และธนาคารฯ ได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ใช้ชื่อว่า "ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)" เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
  • พ.ศ. 2540 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตสำหรับนิติบุคคล" (Corporate Card) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2541 - ธนาคารฯ เริ่มเสนอขาย "หุ้นบุริมสิทธิ" ควบ "หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์" (SLIPs) ซึ่งเป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ ขึ้นเป็นรายแรกของประเทศไทย จนกระทั่งต่อมาจึงกลายเป็นแนวทางให้ธนาคารอื่นใช้เป็นวิธีระดมทุน
  • พ.ศ. 2542 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่าแพลทินัม" เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "ร้านกาแฟภายในสาขา" (Coffee Banking) เป็นแห่งแรกของทวีปเอเชีย โดยความร่วมมือกับสตาร์บัคส์ โดยเริ่มต้นที่สาขาอาคารสมัชชาวานิช 2 (สุขุมวิท 33) เป็นแห่งแรก[6]
  • พ.ศ. 2546 - ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก Thai Farmers Bank (TFB) เป็น Kasikornbank (KBank) โดยมีชื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการว่า Kasikornbank Public Company Limited
  • พ.ศ. 2548 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตติดชิพอัจฉริยะ" ซึ่งเป็นมาตรฐานของบัตรเครดิตยุคใหม่ และเริ่มดำเนินธุรกิจ ภายใต้ระบบ "เครือธนาคารกสิกรไทย" ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด, บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด, บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด รวมทั้งสิ้น 6 บริษัท
  • พ.ศ. 2549 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรชิพเครดิตมาสเตอร์การ์ด" (Master Credit Chip Card) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2550 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "K Now" เพื่อให้คำปรึกษา และสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ แก่ลูกค้าทุกระดับ อันเป็นการเพิ่มความสะดวก สบาย และสมบูรณ์ แก่กลุ่มลูกค้าส่วนบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ให้สามารถมีธุรกิจที่เติบโต แข็งแกร่ง ก้าวหน้า อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
  • พ.ศ. 2551 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "KBank Extra Hour" โดยขยายเวลาทำการ ในสาขาที่มีสัญลักษณ์ของบริการฯ ในวันจันทร์-วันพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น. และ วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-18.00 น. จึงนับเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทย ที่เปิดทำการจนถึงเวลา 18.00 น. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552)
  • พ.ศ. 2552 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "K-My Debit Card" บัตรเดบิตที่ออกแบบเองได้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2553 - ธนาคารฯ ขยายเวลาทำการ แผนกซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จนถึงเวลา 23.00 น. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (จากเดิมเปิดทำการถึงเวลา 17.00 น.) และเริ่มให้บริการ "ฝากได้ทุกเรื่องกับ KBank" เพื่อรับดูแลทางการเงิน, จัดการปัญหาการเงิน, ดูแลธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ, แนะนำวิธีประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ, ช่วยค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายทางธุรกิจ, ช่วยวางแผนการท่องเที่ยว, ช่วยดูแลทุกเรื่องภายในบ้าน ตลอดจนช่วยจัดการสารพัดเรื่องราวให้แก่ลูกค้า
  • พ.ศ. 2554 - ธนาคารฯ ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้บริการโอนเงินรับปลายทางที่ไปรษณีย์จากกสิกรไทย หรือ K-Bank to Post เป็นช่องทางใหม่ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกสิกรไทย โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ เป็นธนาคารเดียวในประเทศที่ประกาศโอนเงินไปต่างประเทศได้ภายในวันเดียว
  • พ.ศ. 2555 - ธนาคารฯ ออกบัตรเดบิต Limited Edition การ์ตูนคาแรคเตอร์ ทั้ง Paul Frank, Angry Birds, Hello Kitty และการ์ตูนแอนนิเมชั่นไทย "ยักษ์" และเป็นธนาคารฯ แรกที่ให้บริการโอนเงินสำหรับชาวพม่า
  • พ.ศ. 2555 ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาจีน เป็น 開泰銀行
  • พ.ศ. 2556 - เปิดสาขาที่สองในจีนที่เมืองเฉิงตู
  • พ.ศ. 2557 - เปิดตัวธนาคารท้องถิ่นจดทะเบียนใน สปป.ลาว ถือเป็นธนาคารไทยเต็มรูปแบบแห่งแรกที่ได้รับการจดทะเบียนใน สปป.ลาว
  • พ.ศ. 2558 - ธนาคารมีการปิดปรับปรุงระบบครั้งใหญ่ในช่วงวันที่ 17-19 กรกฎาคม[7] ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีหลังวันที่ 18 กรกฎาคม จะได้รับเลขที่บัญชีแบบใหม่ ซึ่งเลขจะเรียงต่อเนื่องกันทั้งประเทศ ตามลำดับการเปิดบัญชีก่อน-หลัง โดยไม่คำนึงถึงสาขาที่เปิดบัญชีและประเภทบัญชี
  • พ.ศ. 2559 - เปิดตัวระบบพร้อมเพย์[8][9][10]
  • พ.ศ. 2561 - เปิดตัวแอปพลิเคชัน K PLUS โฉมใหม่ เปิดตัวระบบถอนเงินไม่ใช้บัตร[11]
  • พ.ศ. 2562 - ธนาคารฯ ออกบัตรเดบิต BLACKPINK กสิกรไทย โดยการร่วมมือกับวงแบล็กพิงก์ ศิลปิน K-Pop ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งยุค และได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างถล่มทลาย[12]
  • พ.ศ. 2563 - ธนาคารฯ แต่งตั้งคุณขัตติยา อินทรวิชัย เป็น CEO หญิงคนแรกของธนาคาร[13]
  • พ.ศ. 2564 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่จากอาคารราษฎร์บูรณะกลับมายังอาคารพหลโยธิน[14]

คณะกรรมการธนาคาร

[แก้]
ลำดับที่ รายชื่อ ตำแหน่ง
1 นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการ (อิสระ)
2 นางสาวสุจิตพรรณ ล่ำซำ รองประธานกรรมการ
3 นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
4 นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
5 นายพิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
6 นายจงรัก รัตนเพียร กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
7 นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
8 น.ต. พญ.นลินี ไพบูลย์ กรรมการ
9 นายสราวุฒิ อยู่วิทยา กรรมการ
10 นายกลินท์ สารสิน กรรมการ
11 นายวิบูลย์ คูสกุล กรรมการอิสระ
12 นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการอิสระ
13 นายสาระ ล่ำซำ กรรมการ
14 นายชนินทธ์ โทณวณิก กรรมการอิสระ
15 นางเจนนิสา คูวินิชกุล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา กรรมการอิสระ
16 นางสาวชนม์ชนัมม์ สุนทรศารทูล กรรมการและที่ปรึกษากฎหมาย
17 นายสุรช ล่ำซำ กรรมการ
18 นางไขศรี เนื่องสิกขาเพียร กรรมการอิสระ

รายพระนามและชื่อประธานกรรมการ

[แก้]
  1. พลตำรวจตรี พระยาคทาธรบดีสีหราชบาลเมือง (เทียบ อัศวรักษ์) (พ.ศ. 2488-2493)
  2. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร (พ.ศ. 2494-2499)
  3. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พ.ศ. 2499-2506)
  4. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) (พ.ศ. 2506-2512)
  5. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ (พ.ศ. 2512-2515)
  6. ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร (พ.ศ. 2515-2519)
  7. นายบัญชา ล่ำซำ (พ.ศ. 2519-2534)
  8. คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (พ.ศ. 2534-2538)
  9. พลอากาศเอก เกรียงไกร สินธวานนท์ (พ.ศ. 2538-2542)
  10. พลเอก ฉลองชัย แย้มสระโส (พ.ศ. 2542-2547)
  11. ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน (พ.ศ. 2547-2552)
  12. นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ (พ.ศ. 2552-2556)
  13. นายบัณฑูร ล่ำซำ (พ.ศ. 2556-2563)
  14. นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

[แก้]
ข้อมูล ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2567[15]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 333,112,033 14.06%
2 STATE STREET EUROPE LIMITED 218,990,545 9.24%
3 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 123,834,945 5.23%
4 THE BANK OF NEW YORK MELLON 79,057,884 3.34%
5 สำนักงานประกันสังคม 67,159,400 2.83%
6 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 46,023,556 1.94%
7 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE A) NOMINEES LIMITED 34,150,130 1.44%
8 สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด 29,142,800 1.23%
9 SE ASIA (TYPE B) NOMINEES LLC 27,906,660 1.18%
10 BNY MELLON NOMINEES LIMITED 26,835,600 1.13%

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ เก็บถาวร 2021-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. อันดับเครดิต เก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. http://www.kasikornbank.com/
  4. ประวัติธนาคารกสิกรไทย จากเว็บไซต์ของธนาคารฯ
  5. "ธนาคารแห่งประเทศไทย | Bank of Thailand". app.bot.or.th.
  6. "ฉีกกรอบประเพณีแบงก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
  7. "KBank Live - KBank Live ขอแจ้งให้ทราบว่าในเดือนหน้าช่วงวันที่ 17 - 19 ก.ค. 58 ทางธนาคารของดให้บริการต่างๆชั่วคราวเพื่อพัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นค่ะ โดยช่องทางและบริการต่างๆจะไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว ยกเว้นบัตรเครดิตค่ะ KBank Live ขอแนะนำให้ทุกท่านวางแผนการทำธุรกรรมล่วงหน้าในช่วงเวลาดังกล่าวค่ะ ทั้งนี้ทางธนาคารกสิกรไทยขออภัยเป็นอย่างสูงในความไม่สะดวกครั้งนี้ด้วยค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.kasikornbank.com/TH/PromotionPrivileges/Pages/KbankMaintenance.aspx | Facebook". th-th.facebook.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  8. Oops!, Marketing (2017-06-16). ""พร้อมเพย์ เคแบงก์" มาแรง โดนใจพ่อค้าแม่ค้า". Marketing Oops! (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "KBANK เปิดลงทะเบียนพร้อมเพย์ 1 ก.ค.นี้ พร้อมให้บริการลูกค้า 12.5 ล้านราย". mgronline.com. 2016-06-28.
  10. https://www.matichon.co.th/publicize/news_195114 เตรียมพร้อมกับ “พร้อมเพย์” กับธนาคารกสิกรไทย...
  11. Sanguanprasit, Chutinun (2018-10-25). "KBank-SCB-ออมสิน-กรุงศรี-TMB กดเงินไม่ใช้บัตรได้แล้ว แถมฟรีทั่วราชอาณาจักร | Brand Inside" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. "เผยโฉมแล้ว! "บัตรเดบิตแบล็คพิ้งค์กสิกรไทย" มี 5 ลายให้เลือก พร้อมโปรโมชันเอาใจคอเกาหลี". mgronline.com. 2019-11-18.
  13. "Facebook". www.facebook.com.
  14. "กสิกรไทยย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่มาอาคารพหลโยธิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
  15. "ข้อมูลผู้ถือหุ้น ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 14 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]