ข้ามไปเนื้อหา

องค์การสะพานปลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การสะพานปลา
Fish Marketing Organization
เครื่องหมายราชการ

สะพานปลากรุงเทพ
ภาพรวมองค์การ
ก่อตั้ง21 มกราคม พ.ศ. 2496; 71 ปีก่อน (2496-01-21)
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
เขตอำนาจเขตสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง
สำนักงานใหญ่เลขที่ 211 ซอยเจริญกรุง 58 ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
งบประมาณต่อปี218,797,496 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
ฝ่ายบริหารองค์การ
  • ปรีดา ยังสุขสถาพร, ผู้อำนวยการ
  • ทัศนาพร พุ่มพวง, รองผู้อำนวยการ
  • ศุภชาติ ชาสมบัติ, รองผู้อำนวยการ
  • สุทักษ์ จิระรัตนวงศ์, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดองค์การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์เว็บไซต์ขององค์การ

องค์การสะพานปลา (อังกฤษ: Fish Marketing Organization) เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. 2496 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2496 มีผลบังคับใช้ในวันถัดมา เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมประมง โดยในระยะแรกได้รับโอนกิจการแพปลา ของกรมการประมง มาจัดตั้งเป็นนิติบุคคล[2]

การดำเนินงาน

[แก้]

องค์การสะพานปลา เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้จากการจำหน่ายสัตว์น้ำ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับชาวประมง และค่าบริการ ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยรายได้ส่วนใหญ่มากจากค่าบริการ ค่าธรรมเนียม (95.2 ล้านบาท) และการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูป (92.1 ล้านบาท) รวมมูลค่ารายได้ในปี พ.ศ. 2553 จำนวน 320 ล้านบาท แต่องค์การสะพานปลา มีรายจ่ายประจำในการบริหารและการดำเนินงานกว่า 174 ล้านบาท รวมแล้วในปี พ.ศ. 2553 มีกำไรสุทธิจำนวน 1.18 ล้านบาท[3]

องค์การสะพานปลา ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2563[4]

สะพานปลา

[แก้]

องค์การสะพานปลา มีอำนาจจัดตั้งสะพานปลา โดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปัจจุบันมีสะพานในความดูแลขององค์การสะพานปลา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่[5]

  1. สะพานปลากรุงเทพ เป็นท่าเทียบติดแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 62 ตรงข้ามวัดสุทธิวราราม ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2496[6] เป็นตลาดกลางในการประมูลซื้อขายแลกเปลี่ยนสัตว์น้ำแหล่งสำคัญของกรุงเทพฯ
  2. สะพานปลาสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2525[7]
  3. สะพานปลาสมุทรสาคร ริมแม่น้ำท่าจีน ถนนวิเชียรโชฎก ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2511[8] เป็นสะพานที่ใหญ่เป็นลำดับ 2 รองจากสะพานปลากรุงเทพ[9]
  4. สะพานปลานครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2547[10]

ท่าเทียบเรือประมง

[แก้]

องค์การสะพานปลา มีสำนักงานท่าเทียบเรือประมง ในความดูแลจำนวน 14 แห่ง ได้แก่

  • ระนอง
  • หัวหิน
  • อ่างศิลา
  • ตราด
  • ปราณบุรี
  • สงขลา 1
  • สงขลา 2
  • นราธิวาส
  • ชุมพร
  • ชุมพร หลังสวน
  • สตูล
  • สุราษฎร์ธานี
  • ภูเก็ต
  • ปัตตานี

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายงานประจำปี 2566 องค์การสะพานปลา
  2. พระราชบัญญัติจัดระเบียบแพปลา พ.ศ. 2496
  3. "รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-22.
  4. องค์การสะพานปลา เปิดรับสมัครหามือบริหารนั่งแท่น ผอ.อสป.คนใหม่ ภายใน 17 พ.ค.นี้
  5. ทำเนียบสะพานปลาในประเทศไทย
  6. ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลากรุงเทพ
  7. ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลาสมุทรปราการ
  8. ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลาสมุทรสาคร
  9. สะพานปลาสุมรสาคร[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  10. ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลานครศรีธรรมราช