ข้ามไปเนื้อหา

เขตห้วยขวาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตห้วยขวาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Huai Khwang
ถนนพระราม 9 บริเวณแยกผังเมือง จากมุมสูง
ถนนพระราม 9 บริเวณแยกผังเมือง จากมุมสูง
ตราอย่างเป็นทางการของเขตห้วยขวาง
ตรา
คำขวัญ: 
วัดพระราม ๙ อารามหลวงงามคู่เขต
ศูนย์วัฒนธรรมประเทศคู่สมัย
โครงการบ่อบำบัดรถไฟฟ้าก้าวไกล
ย่านนี้ไซร้นามห้วยขวางศูนย์กลางเมือง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตห้วยขวาง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตห้วยขวาง
พิกัด: 13°46′36″N 100°34′46″E / 13.77667°N 100.57944°E / 13.77667; 100.57944
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด15.033 ตร.กม. (5.804 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด83,692[1] คน
 • ความหนาแน่น5,567.22 คน/ตร.กม. (14,419.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10310
รหัสภูมิศาสตร์1017
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 2 ถนนประชาอุทิศ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/huaikhwang
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ห้วยขวาง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เขตห้วยขวางตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติ

[แก้]
ศาลพระพิฆเนศที่ทางแยกห้วยขวาง ซึ่งความจริงแล้วตั้งอยู่ในเขตดินแดง

เขตห้วยขวาง ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2516[2] โดยแยกพื้นที่การปกครองมาจากเขตพญาไท 2 แขวง คือ แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิ จากนั้นใน พ.ศ. 2521 ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงจากเขตพญาไทและแขวงสามเสนนอกจากเขตบางกะปิมารวมกับเขตห้วยขวาง และโอนพื้นที่บางส่วนของเขตไปรวมกับเขตพญาไท[3] เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสม ทำให้เขตห้วยขวางมีพื้นที่ปกครอง 4 แขวง

จนกระทั่งใน พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตห้วยขวาง โดยแยกแขวงดินแดงไปจัดตั้งเป็นเขตดินแดง[4]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เขตห้วยขวางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ห้วยขวาง Huai Khwang
5.342
27,325
5,115.13
แผนที่
2.
บางกะปิ Bang Kapi
5.408
19,582
3,620.93
4.
สามเสนนอก Sam Sen Nok
4.283
36,785
8,588.61
ทั้งหมด
15.033
83,692
5,567.22

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตดินแดง

ประชากร

[แก้]

การคมนาคม

[แก้]
ถนนสายหลัก
รถไฟฟ้า

สถานที่สำคัญ

[แก้]
วัดอุทัยธาราม

สถานศึกษา

[แก้]

โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.1–6)

[แก้]

โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย–มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

[แก้]

โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

[แก้]

โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
  2. "พระราชกฤษฎีกาแบ่งกรุงเทพมหานครออกเป็นเขต พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (พิเศษ 107 ก): 4–7. 23 สิงหาคม 2516.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตห้วยขวาง และเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (48 ก): 180–184. 2 พฤษภาคม 2521. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง และตั้งเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 184 ง): 3–6. 10 พฤศจิกายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
  5. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]