ข้ามไปเนื้อหา

ธนาคารนครหลวงไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
ก่อตั้ง24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
เลิกกิจการ1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (70 ปี)
สาเหตุรวมกิจการเข้ากับธนาคารธนชาต (ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทยธนชาต)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 1101 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์www.scib.co.th

ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (Siam City Bank Public Company Limited (SCIB)) เป็นอดีตธนาคารไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ในชื่อ "ธนาคารนครหลวงแห่งประเทศไทย"[1] โดยคณะบุคคลของรัฐบาลร่วมกับสมาชิกในราชวงศ์ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1,000,000 บาท มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย มีตราสัญลักษณ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นรูป “พระมหามงกุฎ” ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ธนาคารนครหลวงไทย" จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนใช้ชื่อว่า "ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)" เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2537 และใช้ชื่อนี้ต่อมาจนควบรวมกับธนาคารธนชาตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ธนาคารนครหลวงไทย มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย กระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นเหลือต่ำกว่าร้อยละ 50 จึงมีผลให้ธนาคารนครหลวงไทย พ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ[2]

การควบรวมกิจการธนาคารศรีนคร

[แก้]

ภายหลังการควบรวมกับธนาคารศรีนครในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545[3] ธนาคารได้นำหุ้นกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ธนาคารมีขนาดของสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ธนาคารมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 21,128 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมจำนวน 410,132 ล้านบาท สินเชื่อจำนวน 255,693 ล้านบาท เงินฝากจำนวน 340,039 ล้านบาท มีจำนวนพนักงาน 6,956 คน และสาขา 405 สาขาทั่วประเทศ มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 47.58 % ส่วนที่เหลืออีก 52.42 % เป็น Free Float ในตลาด หุ้นของธนาคารมีมูลค่าตลาดเท่ากับ 32,115 ล้านบาท

การขายกิจการ

[แก้]

วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ขายหุ้นธนาคารที่ถืออยู่ ทั้งหมดให้กับ ธนาคารธนชาต จำนวน 1,005.33 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 47.58 ของหุ้นที่ออกจำหน่าย และเรียกชำระแล้ว และต่อมาธนาคารธนชาตได้เข้าซื้อหุ้นจากการทำคำเสนอซื้อเพิ่มเติม อีกจำนวน 1,106.35 ล้านหุ้น ทำให้ธนาคารธนชาตเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีสัดส่วน การถือหุ้นในธนาคารทั้งสิ้น 2,111.68 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 99.95 ของจำนวนหุ้น ทั้งหมด เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ธนาคารได้ถอนหุ้นสามัญ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ธนาคารมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 21,128 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมจำนวน 404,182 ล้านบาท สินเชื่อจำนวน 272,205 ล้านบาท เงินฝากจำนวน 270,640 ล้านบาท มีจำนวนพนักงาน 6,809 คน และสาขา 422 สาขาทั่วประเทศ

ในปี พ.ศ. 2554 ธนาคารนครหลวงไทย ได้ควบรวมกิจการเข้ากับธนาคารธนชาต (ปัจจุบันเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554[4][5]

รายพระนามและชื่อประธานกรรมการ

[แก้]
  1. พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (พ.ศ. 2484-2487)
  2. พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) (พ.ศ. 2487-2489)
  3. พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) (พ.ศ. 2489-2492)
  4. หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ (พ.ศ. 2492-2495)
  5. หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร (พ.ศ. 2495-2498)
  6. พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) (พ.ศ. 2498-2501)
  7. ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (พ.ศ. 2501-2503)
  8. พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) (พ.ศ. 2503-2506)
  9. พลโท กฤษณ์ สีวะรา (พ.ศ. 2506-2509)
  10. พลโท อ่อง โพธิกนิษฐ (พ.ศ. 2509-2512)
  11. พลตำรวจโท พจน์ เภกะนันทน์ (พ.ศ. 2512-2514)
  12. นายบัญญัติ สุชีวะ (พ.ศ. 2514-2517)
  13. พลตำรวจเอก พิชัย กุลละวณิชย์ (พ.ศ. 2517-2519)
  14. พลเอก ประลอง วีระปรีย (พ.ศ. 2519-2521)
  15. พลเรือเอก สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์ (พ.ศ. 2521-2523)
  16. หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร (พ.ศ. 2523-2525)
  17. พลเอก ไพจิตร สมสุวรรณ (พ.ศ. 2525-2527)
  18. นายเฉลิม เชี่ยวสกุล (พ.ศ. 2527-2529)
  19. ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช (พ.ศ. 2529-2531)
  20. พลอากาศเอก พิสุทธิ์ ฤทธาคนี (พ.ศ. 2531-2533)
  21. นายเพรา นิวาตวงศ์ (พ.ศ. 2533-2536)
  22. นายไมตรี ตันเต็มทรัพย์ (พ.ศ. 2536-2538)
  23. นายอมร จันทรสมบูรณ์ (พ.ศ. 2538-2540)
  24. นายพนัส สิมะเสถียร (พ.ศ. 2540-2542)
  25. นายอังคณี วรทรัพย์ (พ.ศ. 2542-2544)
  26. พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ (พ.ศ. 2544-2547)
  27. นายสมพล เกียรติไพบูลย์ (พ.ศ. 2547-2551)
  28. นายสาธิต รังคสิริ (พ.ศ. 2551-2554)

อ้างอิง

[แก้]
  1. พัฒนาการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
  2. ประกาศนายทะเบียน ที่ 2/2548 เรื่อง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารนครหลวงไทยสิ้นสภาพ
  3. "ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-03. สืบค้นเมื่อ 2012-01-12.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2011-09-13.
  5. "TBANK ควบ SCIB "เราจะโต"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-14.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ธนาคารนครหลวงไทย ถัดไป
ธนาคารศรีนคร ธนาคารนครหลวงไทย
(24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
ธนาคารธนชาต