ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์เซเบคโฮเตปที่ 2)

คาอังค์เร โซเบคโฮเทป (ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็น โซเบคโฮเทปที่ 2 หรือ โซเบคโฮเทปที่ 4 หรือที่รู้จักในพระนาม โซเบคโฮเทปที่ 1 ในการศึกษาเก่า) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง

หลักฐานรับรอง

[แก้]

ฟาโรห์โซเบคโฮเทปปรากฏอยู่บนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งคาร์นักในพระนาม คาอังค์คาเร ส่วนพระนาม โซเบค[โฮเท]ปเร ปรากฏอยู่ในคอลัมน์ที่ 6 บรรทัดที่ 15 ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งอาจจะเป็นฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 อย่างไรก็ตาม การระบุตัวตนนี้ไม่แน่นอน และตำแหน่งตามลำดับเวลาของฟาโรห์โซเบคที่ 1 ภายในราชวงศ์ที่สิบสามก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ หลักฐานชั้นต้นรับรองร่วมสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทป ประกอบด้วยภาพสลักที่มาจากวิหาร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยตั้งอยู่ในอไบดอส และชิ้นส่วนของเสาที่จารึกไว้ นอกจากนี้ พระนาม คาอังค์เร โซเบคโฮเทป ยังปรากฏในจารึกบนแท่นหินแกรนิต ซึ่งครั้งหนึ่งชุดสะสมของเอมเฮิร์ตส์ และปัจจุบันอยู่พิพิธภัณฑ์บริติชตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1982 (BM 69497)[2][3] รัชสมัยของพระองค์น่าจะสั้นที่สุด โดยเป็นระยะเวลา 3 ถึง 4 ปีครึ่ง[2]

ข้อสันนิษฐาน

[แก้]

ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ กล่าวว่า คาอังค์เร โซเบคโฮเทป เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบสามของราชวงศ์และมีรัชกาลสั้น ๆ ในช่วง 1735 ปีก่อนคริสตกาล หรืออีกความเห็นหนึ่งโดย เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท ที่มองว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบหกของราชวงศ์[4][5]

คิม รีฮอล์ตได้กล่าวว่า ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 2 ผู้ซึ่งปรากฎเพียงพระนาม โซเบคโฮเทป บนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินเท่านั้น[2] นักวิชาการคนอื่นๆ เช่น ดอดสัน เชื่อว่า ฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทปที่ 2 และฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป ไม่ใช่ฟาโรห์พระองค์เดียวกันจากราชวงศ์ที่สิบสาม[6] ในขณะที่ เบียร์บริเออร์ เสนอความเห็นที่ว่า ให้พระองค์เป็นฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทปที่ 1 และส่วนฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปที่ 2 แทน[7] เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไซมอน คอนเนอร์และจูเลียน ซิเอสเซ ได้ตรวจสอบรูปแบบของอนุสาวรีย์ของพระองค์และโต้แย้งว่า พระองค์น่าจะปกครองในระยะเวลาภายหลังนานกว่าที่เคยคิดไว้มาก (หลังจากรัชสมัยฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 – ผู้ซึ่งจะกลายเป็นฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 3 แทน)[8]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Inventory of the Louvre: B.3–5, C.9–10; E. Bresciani: Un edificio di Kha-anekh-Ra Sobekhotep ad Abdido. In: Egitto e Vicino Oriente, vol. II, 1979, pp. 1–20
  2. 2.0 2.1 2.2 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period (Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997), 339, File 13/13.
  3. C. N. Reeves, Miscellanea Epigraphica, Studien zur Altägyptischen Kultur, Bd. 13, (1986), pp. 165–170
  4. K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
  5. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 445
  6. Aidan Dodson, Monarchs of the Nile, American Univ in Cairo Press, 2000, p 207
  7. Bierbrier, M.L. (2008). Historical dictionary of ancient Egypt. Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-5794-0. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
  8. Simon Connor, Julien Siesse: Nouvelle datation pour le roi Sobekhotep Khâânkhrê, in: Revue d'Égyptologie 66 (2015), 2015, 227-247; compare Throne Names Patterns as a Clue for the Internal Chronology of the 13th to 17th Dynasties (Late Middle Kingdom and Second Intermediate Period), GM 246 (2015), p. 75-98 798 online