พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม | |
ระหว่าง | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พาณิชย์) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) (คมนาคม) |
ถัดไป | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) |
แม่ทัพภาคที่ 1 | |
ระหว่าง | พ.ศ. 2454[1] – 2456[2] |
ถัดไป | พระยาเสนาภิมุข (จง ลักษณสุต) |
ผู้บัญชาการรถไฟหลวง | |
ระหว่าง | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2460 – 8 กันยายน พ.ศ. 2471 |
ก่อนหน้า | เฮนรี กิตทินส์ |
ถัดไป | พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์[3] |
ประสูติ | 23 มกราคม พ.ศ. 2425 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 14 กันยายน พ.ศ. 2479 (54 ปี) สิงคโปร์ สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ |
พระราชทานเพลิง | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส |
ภรรยา | พระชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล หม่อม เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ หม่อมเพี้ยน ฉัตรชัย ณ อยุธยา หม่อมเผือด ฉัตรชัย ณ อยุธยา หม่อมบัวผัด ฉัตรชัย ณ อยุธยา หม่อมจำลอง ฉัตรชัย ณ อยุธยา หม่อมเอื้อม ฉัตรชัย ณ อยุธยา |
พระบุตร |
|
ราชสกุล | ฉัตรชัย |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 5 |
ลายพระอภิไธย | |
ธรรมเนียมพระยศ | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | พลเอก นายกองตรี |
นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2425 – 14 กันยายน พ.ศ. 2479) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาวาด ดำรงตำแหน่งองคมนตรี แม่ทัพภาคที่ 1 พระองค์แรก จเรทหารช่าง ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทั้งยังทรงริเริ่มการค้นหาปิโตรเลียมในประเทศสยาม และทรงเป็นต้นราชสกุลฉัตรชัย[4]
พระประวัติ
[แก้]ประสูติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2425 พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาวาด
การศึกษา
[แก้]ขณะทรงพระเยาว์เริ่มศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ปี พ.ศ. 2437 เสด็จไปทรงศึกษาต่อด้านโยธาธิการที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรมที่ทรินิทีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และวิชาทหารช่างที่ แชทแฮม จากนั้นเสด็จศึกษาเพิ่มเติมในประเทศฝรั่งเศส ทรงศึกษาการทำทำนบและขุดคลอง ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเสด็จกลับมาทรงงานและศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนได้เป็นสมาชิก M.I.C.E. (Member of the Institution of Civil Engineer) (เทียบเท่า วิศวกรรมสถาน)
รับราชการ
[แก้]พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2447 ทรงรับราชการทหาร เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2449[5] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างพระองค์แรกในปี พ.ศ. 2451 และทรงดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลา 17 ปี ทรงนำความรู้ในวิชาการทหารแผนใหม่ตามแบบอย่างประเทศตะวันตกมาปรับปรุงกิจการทหารช่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่ และกองทัพ ต่อมาปี พ.ศ. 2452 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[6]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทรงถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาตั้งเป็นองคมนตรีในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[7] และดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 พระองค์แรก เมื่อปี พ.ศ. 2454 ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 โปรดให้เลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธิน[8] และวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โปรดให้เลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน[9]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ยุบรวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคม จึงโปรดให้กรมหลวงกำแพงเพ็ชรฯ รับตำแหน่งผู้รั้งสนาบดีกระทรวงคมนาคมและพาณิชยการตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2468[10] จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 จึงทรงตั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และทำการในตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยามด้วย[11] ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 โปรดให้เลื่อนเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ประชาธิบดินทรเจษฎภาดา ปิยมหาราชวงศ์วิศิษฎ์ อเนกยนตรวิจิตรกฤตยโกศล วิมลรัตนมหาโยธาธิบดี ราชธุรันธรีมโหฬาร พาณิชยการคมนาคม อุดมรัตนตรัยสรณธาดา มัททวเมตตาชวาศรัย ฉัตรชัยดิลกบพิตร ทรงศักดินา 15000[12] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นอภิรัฐมนตรีในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2474[13] ทรงเป็นองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7 จนถึงปี พ.ศ. 2475[14]
การสิ้นพระชนม์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงลาออกจากราชการและเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับครอบครัวเมื่อ พ.ศ. 2476 ต่อมาประชวรจนกระทั่งวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2479 จึงสิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ สิริพระชันษาได้ 55 ปี พระชายาได้เชิญพระศพกลับกรุงเทพฯ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลโปรดให้ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร แล้วประกอบการพระราชกุศลทักษิณานุปทานในวันที่ 8–9 ตุลาคม[15] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[16]
สาเหตุการประชวรจนสิ้นพระชนม์นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงระบุไว้ใน สาส์นสมเด็จ ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงกินเลี้ยงขนานใหญ่ทั้งวันจนประชวรพระนาภี (ท้องเสีย) รักษาถึงสามวัน พระอาการไม่ทุเลา วันที่สี่ แพทย์จึงเชิญเสด็จไปโรงพยาบาล เสด็จไปได้สองชั่วโมง พระหทัยก็หยุดเต้น[17]
พระกรณียกิจ
[แก้]ด้านการรถไฟไทย
[แก้]การดำเนินกิจการรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงให้ชาวต่างประเทศเป็นผู้ควบคุมการบริหารกิจการทั้งหมด กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ในปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมรถไฟหลวง" และให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆ ของกรมรถไฟหลวง ขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สายตะวันออกเฉียงเหนือทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี สายตะวันออกจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ และในปี พ.ศ. 2471 พระองค์ยังได้ทรงสั่งซื้อรถจักรดีเซล จำนวน 2 คัน (หมายเลข 21 และ 22) จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีกำลัง 180 แรงม้า เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่า รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถไม่สะดวก และไม่ประหยัด อีกทั้งลูกไฟที่กระจายออกมาเป็นอันตรายต่อผู้โดยสาร และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ไม้หมอนอีกด้วย ซึ่งรถจักรดีเซลทั้งสองคันดังกล่าว เป็นรถจักรดีเซลคันแรกในทวีปเอเชีย และถือว่าประเทศไทยนำรถจักรดีเซลเข้ามาใช้งานเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียด้วย[18]
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมกรมทางไปขึ้นกับกรมรถไฟหลวง โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงรับผิดชอบงานสร้างถนนและสะพานทั่วประเทศ เช่น สะพานกษัตริย์ศึก เป็นสะพานลอยข้ามทางรถไฟแห่งแรก และสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง สะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม 6
ในปี พ.ศ. 2464 ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงริเริ่มนำเอาเครื่องเจาะมาทำการเจาะสำรวจหาน้ำมันดิบ ในบริเวณที่มีผู้พบน้ำมันดิบไหลขึ้นมาบนผิวดินที่บ่อหลวง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงว่าจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันเข้ามาสำรวจทางธรณีวิทยา เพื่อค้นหาน้ำมันดิบและถ่านหินในประเทศไทย
ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร
[แก้]พระองค์ทรงริเริ่มนำวิทยาการด้านการสื่อสารเข้ามาใช้การพัฒนาประเทศ ทรงตั้งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงทดลองขนาดเล็กและสั่งเครื่องวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง ทรงเปิดการกิจการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท"[19] และถือว่าเป็นบุคคลแรกของสยามที่ต้องการให้ประเทศสยามมีการส่งเทเลวิชั่น หรือวิทยุโทรทัศน์ขึ้นครั้งแรก แต่ความคิดที่จะต้องการส่งแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อขณะดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้นไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากสยามได้เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทำให้การกำเนิดโทรทัศน์จึงล้มเลิกไปในระยะหนึ่ง (หากประสบความสำเร็จ ประเทศสยามอาจเป็นประเทศแรกของเอเชียที่มีการส่งโทรทัศน์)
ด้านการสื่อสารทรงให้ความสำคัญการสื่อสาร โดยจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ ให้บริการรับส่งจดหมาย พัสดุ ไปรษณีย์ ธนาณัติ และโทรเลข รวมทั้งการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์และวิทยุโทรเลขภายในและภายนอกประเทศ
ด้านการคมนาคม ทรงสนพระทัยกิจการบิน โดยทรงทดลองขับเครื่องบินสาธิต จนได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นคนไทยคนแรกที่มีโอกาสขึ้นเครื่องบิน และทรงวางรากฐานกิจการการบินขึ้นในประเทศไทย และการจัดการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ จัดตั้งบริษัทเดินอากาศและเปิดเส้นทางพาณิชย์
ด้านอื่น ๆ
[แก้]1 เมษายน พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคมเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน และให้ นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และเป็นนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์
21 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาราชการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงปฏิบัติราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีเป็นครั้งคราว
17 กันยายน พ.ศ. 2473 ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบในอุดมการณ์ของโรตารี จึงได้รับการก่อตั้งสโมสรโรตารีแห่งแรกในประเทศไทยขึ้น เรียกชื่อว่า "สโมสรโรตารีกรุงเทพ" มีสมาชิกก่อตั้งรวม 69 ท่าน ซึ่งมีสัญชาติต่างๆ อยู่ถึง 15 ชาติด้วยกัน โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดานายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้งท่านหนึ่ง การประชุมก่อตั้งได้จัดทำขึ้น ณ พระราชวังพญาไท (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร) โดยเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงรับเป็นนายกก่อตั้งสโมสร
ทรงริเริ่มการค้นหาปิโตรเลียมในประเทศสยามเป็นครั้งแรก
พระชายาและหม่อม
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นต้นราชสกุล "ฉัตรชัย" มีพระชายาหนึ่งพระองค์คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล (พ.ศ. 2428–2506) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์) อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 นอกนั้นเป็นนางห้าม ได้แก่ เจ้าลดาคำ (สกุลเดิม ณ เชียงใหม่; พ.ศ. 2439–2527) หม่อมเพี้ยน (สกุลเดิม สุรคุปต์; พ.ศ. 2442–2481) หม่อมเผือด (สกุลเดิม พึ่งรักวงศ์; พ.ศ. 2449–2527) หม่อมบัวผัด (สกุลเดิม อินทรสูต; พ.ศ. 2454–ไม่ทราบปี) หม่อมจำลอง (สกุลเดิม ชลานุเคราะห์; พ.ศ. 2456–2511) และหม่อมเอื้อม (สกุลเดิม อรุณทัต; พ.ศ. 2452–2491) มีพระโอรส พระธิดารวม 11 องค์ ดังนี้[20][21][22]
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | มารดา | เสกสมรส | พระนัดดา |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร | 7 มีนาคม พ.ศ. 2449 | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล | หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์ | หม่อมราชวงศ์พรรธนภณ สวัสดิวัตน์ |
2. | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 | หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร (สกุลเดิม สารสาส) |
||
3. | ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 | เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ | หม่อมเจ้ารวิพรรณไพโรจน์ รพีพัฒน์ วรงค์ วงศ์ทองศรี |
หม่อมราชวงศ์พัฒนฉัตร รพีพัฒน์ ฉัตรชัย วงศ์ทองศรี ดนัยฉัตร วงศ์ทองศรี ธนฉัตร วงศ์ทองศรี |
4. | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล | หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย | หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ |
5. | หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร สุขสวัสดิ์ | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2464 | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 | หม่อมเพี้ยน ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุรคุปต์) |
หม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ | หม่อมราชวงศ์อดิศรฉัตร สุขสวัสดิ์ หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง หม่อมราชวงศ์ประกายฉัตร สุขสวัสดิ์ หม่อมราชวงศ์ไชยฉัตร สุขสวัสดิ์ |
6. | หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล | 21 มีนาคม พ.ศ. 2467 | 29 มีนาคม พ.ศ. 2551 | เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ | หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล | หม่อมราชวงศ์รมณียฉัตร แก้วกิริยา หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล |
7. | หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2472 | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 | หม่อมเผือด ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม พึ่งรักวงศ์) |
หม่อมรัชดา ฉัตรชัย ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม อิศรเสนา ณ อยุธยา) หม่อมราชวงศ์เรืองรำไพ ฉัตรชัย (ราชสกุลเดิม ชุมพล) |
หม่อมราชวงศ์รพิฉัตร ฉัตรชัย หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรชัย |
8. | เฟื่องฉัตร ดิศกุล | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | หม่อมบัวผัด ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อินทรสูต) |
หม่อมราชวงศ์พิพัฒนดิศ ดิศกุล | หม่อมหลวงธีรฉัตร ฉัตรชัย หม่อมหลวงพิพัฒนฉัตร ดิศกุล หม่อมหลวงพิชยฉัตร ดิศกุล หม่อมหลวงฉัตรฏิปปีญา ดิศกุล |
9. | หิรัญฉัตร เอ็ดเวิดส์ | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2541 | หม่อมจำลอง ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชลานุเคราะห์) |
แอลเฟรด ฟิททิง เบเวน เอ็ดเวิดส์ |
ฉัตราภรณ์ คอรา ฟิททิง ฉัตราภา ออรอรา ฟิททิง ปีติฉัตร เบเวอร์ลี เอ็ดเวิดส์ ภัทรฉัตร เบเวน เอ็ดเวิดส์ |
10. | หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 | 13 มกราคม พ.ศ. 2553 | หม่อมเอื้อม ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อรุณทัต) |
หม่อมจารุศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตนวราหะ) หม่อมมัณฑนา ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) หม่อมอรศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ลีนะวัต) |
หม่อมราชวงศ์ลักษมีฉัตร วรวรรณ หม่อมราชวงศ์กมลฉัตร บุญพราหมณ์ หม่อมราชวงศ์ธิดาฉัตร จันทร์ตรี หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรชัย หม่อมราชวงศ์มณฑิรฉัตร ฉัตรชัย หม่อมราชวงศ์เอื้อมทิพย์ เศวตศิลา หม่อมราชวงศ์ฉัตรทิพย์ ฉัตรชัย หม่อมราชวงศ์เอิบทิพย์ ฉัตรชัย |
11. | หม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย | 12 กันยายน พ.ศ. 2478 | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 | หม่อมบัวผัด ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อินทรสูต) |
มิได้สมรส |
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2424 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449)
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธิน (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 14 กันยายน พ.ศ. 2479)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
[แก้]- พ.ศ. 2447 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[23]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[24]
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[25]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[26]
- พ.ศ. 2471 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[27]
- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[28]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[29]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[30]
- พ.ศ. 2448 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[31]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[32]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[33]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[34]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[35]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[36]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1[37]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 1[37]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[37]
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา[38]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2464 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[39]
- อิตาลี :
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นสูงสุดประดับดอกคิริ[42]
พระสมัญญา
[แก้]- พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย[43][44]
- พระบิดาแห่งการรถไฟไทย[45][46]
- พระบิดาแห่งโรตารีไทย[47]
- ผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่และกองทัพ[48]
พระยศ
[แก้]พระยศทหาร
[แก้]- นายพลตรี
- 11 เมษายน พ.ศ. 2455: นายพลโท[49]
- นายพลเอก
พระยศเสือป่า
[แก้]- นายหมู่ใหญ่
- 30 กันยายน พ.ศ. 2454: นายกองตรี[50]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง
- ↑ สิ้นสุดดำรงตำแหน่ง
- ↑ ประกาศตั้งผู้รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวง
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 24. 9 มิถุนายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรี
- ↑ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- ↑ "บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2275. 1 มกราคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0 ก): 228–230. 11 พฤศจิกายน 2459. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศเลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 305–309. 19 พฤศจิกายน 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ เรื่อง ตั้งผู้รั้งเสนาบดีกระทรวงคมนาคมและพาณิชยการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 418. 28 มีนาคม 2468. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยกับเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมและนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 188. 16 พฤษภาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 181–183. 10 พฤศจิกายน 2471. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอภิรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 366. 25 ตุลาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทรงเป็นองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7
- ↑ "หมายกำหนดการ ที่ ๑๑/๒๔๗๙ พระราชกุศลทักษิณานุปทานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1767–1769. 11 ตุลาคม 2479. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ ที่ ๑๕/๒๔๗๙ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๔๗๙ เล่ม 53, ตอน ๐ ง, 17 มกราคม พ.ศ. 2479, หน้า 2640
- ↑ กรมศิลปากร (ผู้รวบรวม). (2497). สาสน์สมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 15). พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. (พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพนายแขก ศรีพยัคฆ์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2497). หน้า 28–29.
- "อาการที่ประชวรนั้น หม่อมฉันเพิ่มทราบพิสดารว่า วันหนึ่ง เธอมีการเลี้ยงอาหารลาวไทยฝรั่ง (หรือจีน) รวมกันทั้งเวลากลางวันและเวลาเย็น เป็นเหตุให้พระนาภีเสีย เรียกหมอมา หมอวางยาระบาย เลยลงพระนาภีเกินไป เกิดปวดเจ็บแน่นในพระนาภี หมอตกใจ ไปเรียกหมอมาปรึกษาอีกคนหนึ่ง รักษาถึง 3 วัน พระอาการก็ไม่คลายขึ้น วันที่ 4 เมื่อพระอาการเพียบแล้ว หมอจึงให้เชิญเสด็จไปโรงพยาบาล พระองค์เธอเองก็ไม่อยากไป พอไปถึงโรงพยาบาลได้ 2 ชั่วโมง ก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระหทัยหยุด"
- ↑ พัฒนาการคมนาคม : หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[ลิงก์เสีย]
- ↑ 25 กุมภาพันธ์ 2473 เปิดตัว “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” วิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย ห้องสมุด มสธ.
- ↑ สืบสันติวงศ์
- ↑ "พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-13. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรกรีบรมราชวงษ์, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๘๐๓, ๒๙ มกราคม ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๗๖๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๕๘, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๗, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๖๗๙, ๓๐ กันยายน ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๑, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๘, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๕๙๙, ๑ ตุลาคม ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๗๐, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๙, ๒๘ มกราคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ 37.0 37.1 37.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๒๒, ๒๗ มีนาคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๕๕, ๒๘ กันยายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๐๕, ๑๐ กันยายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๘๗, ๔ ธันวาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๘๓๑, ๔ มกราคม ๒๔๗๓
- ↑ 25 กุมภาพันธ์ วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ
- ↑ น้อมรำลึก พระบิดาแห่งการรถไฟไทย!! วันคล้ายวันประสูติ "พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร" กับตราจารึกพระนาม "บุรฉัตร" สัญลักษณ์ข้างรถไฟ ที่น้อยคนจะรู้
- ↑ "พระบิดาแห่งการรถไฟไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ 23 ม.ค. วันคล้ายวันประสูติ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระบิดากิจการรถไฟสมัยใหม่
- ↑ ๑๔ ก.ย. รำลึกถึง พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร !!! บุคคลที่มีบทบาท ในด้านการพัฒนาประเทศไทย มากที่สุดคนหนึ่ง #แต่ทำไมน้อยคนที่รู้จัก
- ↑ ๑๔ ก.ย. รำลึกถึง พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร !!! บุคคลที่มีบทบาท ในด้านการพัฒนาประเทศไทย มากที่สุดคนหนึ่ง #แต่ทำไมน้อยคนที่รู้จัก
- ↑ "พระราชทานยศนายพลโท" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-27. สืบค้นเมื่อ 2021-05-27.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- บรรณานุกรม
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 258-259. ISBN 974-221-818-8
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6
ดูเพิ่ม
[แก้]ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ |
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม คนที่ 2 (15 พฤษภาคม 2469 – 10 ธันวาคม 2475) |
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) | ||
สถาปนาตำแหน่ง | แม่ทัพภาคที่ 1 คนที่ 1 (2453 – 2456) |
พระยาเสนาภิมุข (จง ลักษณะสุต) | ||
ลูอิส ไวเลอร์ (เจ้ากรมรถไฟสายเหนือ) เฮนรี กิตตินส์ (เจ้ากรมรถไฟสายใต้) |
ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง คนที่ 5 (5 มิถุนายน 2460 – 8 กันยายน 2471) |
พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2425
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2479
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- อภิรัฐมนตรี
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมพระ
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลฉัตรชัย
- ทหารบกชาวไทย
- วิศวกรชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- สมาชิกกองเสือป่า
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศสิงคโปร์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- แม่ทัพภาคที่ 1