จีระศักดิ์ ชมประสพ
พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
แม่ทัพภาคที่ 2 กองทัพบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | ธวัชชัย สมุทรสาคร |
ถัดไป | ชาญชัย ภู่ทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร[1] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย[2] |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพภาคที่ 2[3] |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา[2][4][5] |
พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 – ) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 และมีบทบาทในกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2555 ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
ประวัติ
[แก้]จีระศักดิ์เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 12 เพื่อนร่วมรุ่นพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[6][7]
เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 เขาเป็นผู้นำกำลังพลระดับผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเยี่ยมชมโครงการโซลาร์ฟาร์ม เพื่อความรู้ความเข้าใจด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการให้ความรู้ด้านพลังงานทดแทน[8]
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งจีระศักดิ์ ชมประสพ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[9][10][11]
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 จีระศักดิ์ได้เป็นตัวแทนรัฐบาลในการเจรจากับฝ่ายรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ถึงกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่[12][13]
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[14]
ในภายหลัง เขาได้รับแต่งตั้งเป็นอดีตราชองครักษ์พิเศษ[15]
พ.ศ. 2561 เขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[16]
เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจีระศักดิ์ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการ ได้ชี้แจงถึงการยกระดับที่ดินให้กว้างขวางขึ้นโดยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่แก้ปัญหาเรื่องที่ดิน ตลอดจนกำหนดให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง เนื่องด้วยมีความเกี่ยวข้องในการจัดทำแนวเขตแบบดิจิทัล[1][17]
เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[18][19] โดยโพสต์ทูเดย์ระบุว่าเขาเป็นคนรู้ใจของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี[20] และใน พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[21][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา
[แก้]วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการประชุมคณะกรรมการการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย–กัมพูชา ที่โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างจีระศักดิ์ แม่ทัพภาคที่ 2[22][23] ประธานการประชุม กับพลเอก เจีย มอน รองผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ 4 กัมพูชา เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นทุกภาคส่วน[24][25][26] ซึ่งในเดือนเดียวกันนี้ จีระศักดิ์ยังได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมทหารไทยที่ภูมะเขือ ใกล้ปราสาทพระวิหาร โดยกำชับให้ทหารไทยในพื้นที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับทหารกัมพูชา[27]
กิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 จีระศักดิ์ได้เป็นตัวแทนเข้าเยี่ยมกำลังพล และมอบเงินช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ จากการเหยียบกับระเบิดบริเวณฝั่งตะวันออกของปราสาทพระวิหาร รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[28]
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 จีระศักดิ์ได้เดินทางเพื่อศึกษาดูงานในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งพบว่าป่าสงวนจำนวนมากถูกบุกรุก จึงหาทางแก้ปัญหา โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่า 40 เปอร์เซ็นต์[29] และในเดือนธันวาคม เขาได้เดินทางพบปะชาวบ้านเผ่าปกาเกอะญอ 7 หมู่บ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาคนอยู่กับป่า[30]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[31]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[32]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[33]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[34]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[35]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เปิดชื่อรองผู้ว่าฯ กทม.! ชง ‘จีระศักดิ์-อำนวย’ ร่วมทีม
- ↑ 2.0 2.1 พลทหารเหยียบ “กับระเบิด” เขาพระวิหาร อาการปลอดภัยแล้ว - MGROnline
- ↑ ผบ.ทบ.ลงพื้นที่ปราสาทพระวิหาร - Voice TV
- ↑ แก็งตัดไม้พะยูงแค้นทหารจงใจวางบึ้ม - โพสต์ทูเดย์ ข่าวภูมิภาค
- ↑ เกาะประเด็น - 'สุกำพล-ประยุทธ์' ขึ้นเขาพระวิหารส่งตชด.แทนทหาร
- ↑ เปิดรายชื่อ 4 รองผู้ว่าฯกทม. 'พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ' เพื่อนนายกฯตู่ ร่วมทีมด้วย
- ↑ เปิดรายชื่อ 4 รองผู้ว่าฯ ร่วมทีมบริหารกทม. - Voice TV
- ↑ กำลังพลผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - SPCG[ลิงก์เสีย]
- ↑ ครม. ตั้งที่ปรึกษานายกฯ- ชัชวาลย์ปลัด ยธ.- อนุสิษฐ เลขา สมช.คนใหม่
- ↑ ครม.ตั้งที่ปรึกษานายกฯ 4 คน-พล.อ.ชัชวาลย์นั่งปลัดยธ. : INN News[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ครม.ตั้ง 'พล.อ.สกล' นั่งที่ปรึกษานายกฯ - Mthai". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2019-03-04.
- ↑ งดกิจกรรมต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินรอบทำเนียบหลังเจรจา รอนายกฯให้คำตอบรับข้อเสนอหรือไม่ บ่าย 3 โมง
- ↑ รัฐยอมยุติ EIA-EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่
- ↑ เปิดรายชื่อ 4 รองผู้ว่าฯกทม. - มติชน
- ↑ ประกาศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บด - ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ จรัญ พงษ์จีน : โรดแมปเลือกตั้งเจอโรคเลื่อน! อีกตามเคย - มติชนสุดสัปดาห์
- ↑ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เห็นชอบประกาศให้ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เป็นกฎหมาย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "บ้านเมือง - พ่อเมืองโคราชพร้อม 100% รับครมสัญจร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-04.
- ↑ เครือข่ายอันดามัน กดดันรัฐบาลยกเลิกโรงไฟฟ้ากระบี่ต่อเนื่อง : PPTVHD36
- ↑ ฟิต - โพสต์ทูเดย์ คอลัมน์นิสต์ออนไลน์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ “ประยุทธ์” ปิดประตูตีเมือง 6 ภาค เจาะฐานเสียง ชิงคะแนนนิยมนักเลือกตั้ง
- ↑ ผบ.ทบ.ยันทัพภาค 2 ซ้อมรบ ไม่เกี่ยวเตรียมเผชิญหน้าใคร
- ↑ ทหารไทย-เขมรถก “RBC” ที่โคราชชื่นมื่น-อ้างเหยียบบึ้มเจ็บ 3 แค่เชื้อปะทุค้างเก่า
- ↑ "การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา (RBC)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-04.
- ↑ คณะกรรมการชายแดนเตรียมประชุมอาร์บีซีไทย-กัมพูชา - Thai PBS News
- ↑ “มทภ.2” เยี่ยมทหารไทย“ภูมะเขือ” กำชับรักษาสัมพันธ์ทหารเขมร - MGROnline
- ↑ ในหลวง-พระราชินีพระราชทานทรัพย์ทหารผ่านศึก 'พระวิหาร'
- ↑ กมธ.ทส.ลงใต้ดูงานที่ดิน-ป่าไม้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ป่า 40%
- ↑ "กมธ.สิ่งแวดล้อมฯ พบปะชาวบ้านชนเผ่าปกากะญอ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา "คนอยู่กับป่า"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-04.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๗, ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๔ ตุลาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๔, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ราชองครักษ์พิเศษ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.