สวัสดิ์ มักการุณ
สวัสดิ์ มักการุณ | |
---|---|
ผู้บัญชาการกองพลทหารอาสาสมัคร | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2513 | |
ก่อนหน้า | พล.ต. ทวี ดำรงหัด |
ถัดไป | พล.ต. เอื้อม จิรพงศ์ |
แม่ทัพภาคที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2517 | |
ก่อนหน้า | พล.ท. พโยม พหุลรัต |
ถัดไป | พล.ท. เปรม ติณสูลานนท์ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มกราคม 2518 – 6 ตุลาคม 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2455 อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (72 ปี) |
คู่สมรส | นางละม้าย พลสิงห์ |
บุตร | 7 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2517 |
ยศ | พลโท |
บังคับบัญชา | กองพลที่ 3 กองพลทหารอาสาสมัคร กองทัพภาคที่ 2 |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเซียบูรพา สงครามเวียดนาม |
พลโท สวัสดิ์ มักการุณ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2455 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตแม่ทัพภาคที่ 2, อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารอาสาสมัคร, อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตราชองครักษ์พิเศษ
ประวัติ
[แก้]สวัสดิ์ มักการุณ เกิดวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2455 ณ ตำบลห้าแยกพลับพลาไชย อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายเอี้ยง และนางเหรียญ มักการุณ
ในวัยเยาว์สวัสดิ์เป็นเด็กกำพร้าบิดาตั้งแต่ยังจำความไม่ได้ มารดาจึงรับภาระเลี้ยงดูบุตร มารดาโดยประกอบอาชีพค้าขาย สวัสดิ์ต้องตื่นนอนทุกเช้าเพื่อเตรียมของขาย และต้องไปโรงเรียนด้วย จนสวัสดิ์อยู่มัธยมศึกษาปี่ที่ 4 มารดาจนเลิกอาชีพค้าขายนี้ไป เนื่องจากมารดาชรามากขึ้น
สวัสดิ์ มักการุณ ได้สมรสกับละม้าย พลสิงห์ ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีบุตรทั้งหมด 7 คน
การศึกษา
[แก้]เมื่ออายุ 7 ขวบ ได้ศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนจักรวรรดิ์ราชาวาส ต้องเดินจากห้าแยกพลับพลาไชยถึงโรงเรียนทุกวัน จนจบประถมศึกษาปีที่ 4 ได้เรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ) ตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จนจบปีที่ พ.ศ. 2471
เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ในปี พ.ศ. 2472 ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 แผนกวิทยาศาสคร์ และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ในปี พ.ศ. 2473 (จบพร้อมกับพล.อ. กฤษณ์ สีวาระ, พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา, พล.อ.อ. หะริน หงสกุล และพล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร)
เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 8 ได้สมัครเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก ในเมษายน พ.ศ. 2474 โดยเริ่มเข้าศึกษาในปีที่ 2 เนื่องจากเป็นข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 แผนกวิทยาศาสคร์
ลำดับการศึกษา
[แก้]พล.ท. สวัสดิ์ มักการุณ จบการศึกษาดังนี้
- พ.ศ. 2465 : โรงเรียนจักรวรรดิ์ราชาวาส
- พ.ศ. 2471 : โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ)
- พ.ศ. 2473 : โรงเรียนเทพศิรินทร์
- พ.ศ. 2476 : โรงเรียนนายร้อยทหารบก
- พ.ศ. 2482 : โรงเรียนนายทหารวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก
- พ.ศ. 2489 : โรงเรียนทหารราบ ชั้นผู้บังคับกองร้อย และชั้นนายพัน
- พ.ศ. 2501 : โรงเรียนร่วมรบกองทัพทหารอากาศ กองทัพบก
- พ.ศ. 2503 : วิทยาลัยการทัพบก
- พ.ศ. 2503 : โรงเรียนสงครามจิตวิทยา
- พ.ศ. 2508 : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 7
การทำงาน
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]ในช่วงสงครามเวียดนาม พล.ต. สวัสดิ์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชากองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 2 ส่วนที่ 1[2] (ขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 3) ต่อจาก พล.ต. ทวี ดำรงหัด ที่เป็นผู้บัญชาการก่อนหน้านั้น พล.ต. สวัสดิ์ เป็นผู้บัญชาการรบที่เสียสละ, เด็ดเดี่ยว และกล้าหาญ ได้ทำการสู้รบกับศัตรู เช่น ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2513 ได้รับรายงานว่าทหารไทยกำลังปะทะอย่างดุเดือดกับเวียดกง บริเวณสวนยางทิศตะวันออกของหมู่บ้านบินท์สัน ผู้บัญชาการกองพล, เสนาธิการกองพล พร้อมกับคณะฝ่ายอำนวยการได้รีบขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังพื้นที่ปฏิบัติการ แม้ว่าจะประสบการยิงของเวียดกงอย่างดุเดือดไม่หวั่นกลัวใด ๆ กลับสั่งให้เฮลิคอปเตอร์บินไปลงพื้นที่จุดปะทะ เพื่อช่วยเหลือผู้บังคับหน่วยในการรบ จนทำให้ พล.ต. สวัสดิ์ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส
หลังจากกลับเวียดนามใต้ก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 ต่อมาก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 ต่อจาก พล.ท. พโยม พหุลรัต และยังได้รับพระราชทานยศ พลโท ในปี พ.ศ. 2516
ราชการพิเศษ
[แก้]พล.ท. สวัสดิ์ มักการุณ ดำรงตำแหน่งงานพิเศษ เช่น[1]
- พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2498 : ราชองครักษ์ ประจำกรมราชองครักษ์
- พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2518 : ราชองครักษ์เวร
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2517 : กรรมการที่ปรึกษาในพอ.สว.
- 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 : ราชองครักษ์พิเศษ
การถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พล.ท. สวัสดิ์ มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 คณะแพทย์ได้ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ พล.ท. สวัสดิ์ ต่อสู้กับมะเร็งเป็นเวลา 2 ปี จนวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 พล.ท. สวัสดิ์ ถึงแก่อนิจกรรมสิริอายุ 72 ปี 11 เดือน 9 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พล.ท. สวัสดิ์ มักการุณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[6]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[7]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[8]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[10]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[11]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2490 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[14]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2518 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นที่ 4
- พ.ศ. 2513 – แกลแลนทรีครอส ประดับใบปาร์ม
- พ.ศ. 2513 – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
- พ.ศ. 2513 – เหรียญสวัสดิภาพสังคม ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – เหรียญปฏิบัติการจิตวิทยา ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพัฒนาชนบท ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – เหรียญเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก ชั้นที่ 1
- สหรัฐอเมริกา :
- พ.ศ. 2515 – เหรียญซิลเวอร์สตาร์[15]
- พ.ศ. 2514 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 (2529). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท สวัสดิ์ มักการุณ ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วันพุธที่ 29 มกราคม 2529. อรุณการพิมพ์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๖๔ ง หน้า ๒๑๗๗, ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๗๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ ตุลาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๓๖, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๔, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๑๑ ง หน้า ๒๙๗๐, ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๓๓๓๐, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๒๐๘๘, 19 พฤษภาคม ๒๔๙๖
- ↑ AGO 1972-32 — HQDA GENERAL ORDERS (MULTIPLE TITLES BY PARAGRAPHS)
- ↑ HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS