ธวัชชัย สมุทรสาคร
ธวัชชัย สมุทรสาคร | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
แม่ทัพภาคที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | พลโท วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ |
ถัดไป | พลโท จีระศักดิ์ ชมประสพ |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 เมษายน พ.ศ. 2495 |
คู่สมรส | นางศิริพร สมุทรสาคร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2555 |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพภาคที่ 2 |
พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการในคณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่ายตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 336/2558[1] สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2] กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ บริษัท อินเตอร์ลิงก์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 อดีตแม่ทัพน้อยที่ 2 เป็นคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการ และการบริหารงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และเป็นประธานบริหารบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
ประวัติ
[แก้]พล.อ. ธวัชชัย สมุทรสาคร เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2495 ที่อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายวิเชียร และนางสีมา สมุทรสาคร มีพี่น้อง4คน สมรสกับนางศิริพร สมุทรสาคร มีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ พ.ท. กฤติพงศ์ สมุทรสาคร และ พ.ต. พิศุทธิ์ สมุทรสาคร เป็นเพื่อนสนิทกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2509 มัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2514 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12
- พ.ศ. 2517 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
- พ.ศ. 2517 หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 39
- พ.ศ. 2518 หลักสูตรส่งทางอากาศ รุ่นที่ 94
- พ.ศ. 2519 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 51 โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2526 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 40 โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2528 หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 63 สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
- พ.ศ. 2531 หลักสูตรครูทำการรบ ณ ประเทศออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2538 หลักสูตร พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์
- พ.ศ. 2539 หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 41 สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
- พ.ศ. 2548 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.48)
- พ.ศ. 2552 หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 1 ณ สำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า
- พ.ศ. 2553 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร การบริหารจัดการด้านความมั่นคงชั้นสูง รุ่นที่ 1 (วปอ.มส.1)
การรับราชการ
[แก้]- พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23
- พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 6
- พ.ศ. 2532 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 23
- พ.ศ. 2540 ผู้บังคับกรมทหารราบที่ 23
- พ.ศ. 2544 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6
- พ.ศ. 2547 ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุรินทร์
- พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6
- พ.ศ. 2550 รองแม่ทัพภาคที่ 2
- พ.ศ. 2552 แม่ทัพน้อยที่ 2
- พ.ศ. 2553 แม่ทัพภาคที่ 2
- พ.ศ. 2555 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
งานการเมือง
[แก้]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 พล.อ. ธวัชชัยได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ลำดับที่ 1[3] ต่อมาหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ยึดอำนาจการปกครองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แล้วนั้น พล.อ.ธวัชชัยได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)[7]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[8]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ถก 'วิป สปท.' นัดแรก เคาะ 4 รายชื่อ ร่วม คกก. ประสานงาน 3 ฝ่าย
- ↑ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนา)
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗, ราชกิจจานุเบกษา,1 สิงหาคม 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๖
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อ.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- แม่ทัพภาคที่ 2
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ