สาส์นสมเด็จ
สาส์นสมเด็จ | |
---|---|
ผู้ประพันธ์ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | ศาสตร์และศิลป์หลายแขนงของไทย |
สำนักพิมพ์ | องค์การค้าของคุรุสภา |
วันที่พิมพ์ | พ.ศ. 2505 |
ชนิดสื่อ | สิ่งพิมพ์ |
สาส์นสมเด็จ เป็นชุดหนังสือที่รวมจดหมายซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนถึงกันตั้งแต่ พ.ศ. 2475–2486 อันเป็นช่วงที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพหนีไปอยู่ปีนังหลังกบฏบวรเดช โดยฉบับแรกลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 และฉบับสุดท้ายลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2486 มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระวิจารณ์และถ้อยอรรถาธิบายในเรื่องศาสตร์และศิลป์หลายแขนงของไทย ต่อมาทายาทของสองพระองค์ได้ส่งมอบจดหมายดังกล่าวให้กับกรมศิลปากร[1]
ในช่วงแรกมีการตีพิมพ์ สาส์นสมเด็จ ในรูปแบบของหนังสืองานศพของบุคคลต่าง ๆ ซึ่งมีการกระจัดกระจายเนื้อหาออกไปมากมาย มากกว่า 50 ภาค จน พ.ศ. 2505 ในโอกาสครบรอบ 100 ปี วันประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์การค้าของคุรุสภาได้ทำการรวบรวมจดหมายตอบโต้ของทั้งสองพระองค์นำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดจำนวน 27 เล่ม ใช้ชื่อว่า สาส์นสมเด็จ มีทั้งชุดแบบปกอ่อนและปกแข็ง นอกจากนี้ยังมีอีกฉบับในชื่อว่า สาส์นสมเด็จ ฉบับที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ พ.ศ. 2475 จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา เมื่อ พ.ศ. 2533 เนื้อหาในหนังสือชุดนี้จดหมายฉบับแรกลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และฉบับสุดท้ายลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการค้นพบในภายหลังและยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน[2]
สาส์นสมเด็จ ติดอยู่ในหนึ่งรายชื่อหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ประเภทสารคดี[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สาส์นสมเด็จ บันทึกบทสนทนาระหว่าง นายช่างแห่งสยาม และบิดาประวัติศาสตร์ไทย". สารคดี.
- ↑ วฤทธิ์ ศุภสุธีกุล,สุรพล ราชภัณฑารักษ์ และเกรียงชัย ปึงประวัติ (กรกฎาคม–กันยายน 2566). "การเมืองใน "สาส์นสมเด็จ"". วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 13 (3). ISSN 2730-2075.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ "รายชื่อหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ประเภทสารคดี/บทความ (NON FICTION)". มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.