ลูอิส ไวเลอร์
ลูอิส ไวเลอร์ (เยอรมัน: Luis Weiler; 9 กันยายน 2406-16 มกราคม 2461) วิศวกรโยธา ชาวเยอรมันและเจ้า กรมรถไฟ หรือ การรถไฟแห่งประเทศไทย ในปัจจุบันคนที่ 3 ช่วงปี พ.ศ. 2447-2460
นายไวเลอร์ได้เข้ารับราชการในกรมรถไฟในตำแหน่ง เซ็กชั่นเอ็นจิเนียร์ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 อันตรงกับวันเปิดเส้นทางรถไฟสายแรก กระทั่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายไวเลอร์เป็นเจ้ากรมรถไฟเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 แทนนาย เฮอร์แมน เกิตส ที่ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเพื่อกลับไปยังบ้านเมือง[1]
กระทั่งวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพ็ชร์อัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการรถไฟชั่วคราว[2] ทำให้นายไวเลอร์พ้นจากตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ จากนั้นในวันที่ 27 เดือนเดียวกันได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และโปรดเกล้าฯ ให้นายไวเลอร์เป็นหัวหน้าแผนกวิชาในกรมรถไฟหลวง[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ๒๔๓๙ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[4]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
บรรณานุกรม
[แก้]- Rainer Falkenberg: Luis Weilers Briefe aus China (Dezember 1897 – August 1901). Materialien zur Entwicklung in Qingdao und zum Bau der Shandong-Bahn. In: Kuo Heng-yü, Mechthild Leutner (Hrsg.): Berliner China-Studien, Beiträge zu den deutsch-chinesischen Beziehungen, 12 (1986), S. 113–134.
- Luis Weiler: Briefe aus Siam (1892-1898), in: Rainer Falkenberg (Hrsg.): Brief und Tagebuch – Erinnerungen an Asien (Band 1), Talkau 2015
- Luis Weiler: Briefe aus China (1898–1901), in: Rainer Falkenberg (Hrsg.): Brief und Tagebuch – Erinnerungen an Asien (Band 2), Talkau 2016
- Luis Weiler: Briefe aus Siam (1904–1917), in Rainer Falkenberg (Hrsg.): Brief und Tagebuch – Erinnerungen an Asien (Band 4), Talkau 2019
อ้างอิง
[แก้]ก่อนหน้า | ลูอิส ไวเลอร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
แฮร์มัน เกทส์ | เจ้ากรมรถไฟ (1 กรกฎาคม 2447 – 5 มิถุนายน 2460) |
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธิน (ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง) |