ข้ามไปเนื้อหา

สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์
แม่ทัพภาคที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2498 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2499
ก่อนหน้าพลโท ครวญ สุทธานินทร์
ถัดไปพลโท หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
สนิท ไทยานนท์

24 มีนาคม พ.ศ. 2448
ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านปรก เมืองสมุทรสงคราม ประเทศสยาม
เสียชีวิต1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (64 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อำเภอพญาไท จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
คู่สมรสกลิ่นผกา จารุโยธิน
บุพการี
  • พระภักดีสมบัติ (สิงห์โต ไทยานนท์) (บิดา)
  • ยิ้ม ภักดีสมบัติ (มารดา)
ศิษย์เก่า
อาชีพทหารบก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
 กองทัพไทย
ประจำการพ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2508
ยศ พลเอก
นายกองเอก
บังคับบัญชากองทัพภาคที่ 2
ผ่านศึก

พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์ หรือ ขุนสนิทยุทธการ (24 มีนาคม พ.ศ. 2448 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น รองผู้บัญชาการทหารบก เสนาธิการทหารบก เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และแม่ทัพภาคที่ 2[1]

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์[2] เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2447 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2448) ที่ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านปรก เมืองสมุทรสงคราม เป็นบุตรของอำมาตย์ตรี พระภักดีสมบัติ (สิงห์โต ไทยานนท์) กับยิ้ม ภักดีสมบัติ (สกุลเดิม ลัดดากลม) มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน

พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์ สมรสกับกลิ่นผกา ไทยานนท์ (สกุลเดิม จารุโยธิน) ธิดาของเลื่อน จารุโยธิน กับหม่อมหลวงใหญ่ จารุโยธิน แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน

การศึกษา

[แก้]

พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก สอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2467 และได้สำเร็จการศึกษาหลังรับราชการ ดังนี้[2]

การทำงาน

[แก้]

พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์ เริ่มรับราชการที่กองทัพบก ในเหล่าทหารราบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น[2]

การรับราชการที่สำคัญ

[แก้]
  • พ.ศ. 2493 : จเรทหารราบ และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรี[3]
  • พ.ศ. 2495 : เสนาธิการกองทัพที่ 3[4]
  • พ.ศ. 2497 : รองแม่ทัพกองทัพที่ 3 และรองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 3
  • พ.ศ. 2498 : แม่ทัพกองทัพที่ 2 และผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 2[5]
  • พ.ศ. 2500 : เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก[6]
  • พ.ศ. 2503 : รองเสนาธิการทหารบก[7]
  • พ.ศ. 2504 : รองเสนาธิการทหาร[8]
  • พ.ศ. 2506 : เสนาธิการทหารบก[9]
  • พ.ศ. 2507 : รองผู้บัญชาการทหารบก[10]

ตำแหน่งทางการเมือง

[แก้]

ราชการพิเศษ

[แก้]
  • พ.ศ. 2500 : ประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถพิเศษของทหารพลร่มของกองทัพบก
  • พ.ศ. 2500 : รองประธานกรรมการพิจารณาจัดตั้งกองอำนวยการป้องกันการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พ.ศ. 2504 : กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ[12]
  • พ.ศ. 2505 : รองผู้อำนวยการดับเพลิง เขตหลังสำหรับศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2506 : ร่วมเดินทางไปปฏิบัติราชการกับเสนาธิการทหารบก เนื่องจากไปตรวจราชการกับนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2507 : กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ อีกวาระหนึ่ง[13]
  • พ.ศ. 2507 : หัวหน้าคณะทูตไปเยี่ยมสาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2507 : ประดับเครื่องหมายพลร่มกิตติมศักดิ์ของสาธารณรัฐจีน
  • พ.ศ. 2507 : กรรมการต่อต้านการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ในราชอาณาจักรลาว
  • พ.ศ. 2507 : กรรมการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2507 : นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์[14]

ราชการสงครามและชีวิตหลังเกษียณ

[แก้]

พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์ เคยไปราชการสงครามในสนาม กรณีพิพาทอินโดจีน ในคราวพิพาทกับอินโดจีนฝรั่งเศส ในกรณีเรียกร้องดินแดนคืนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2484 และเคยไปราชการในสนาม ในกรณีฉุกเฉินกรณีคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2489

พลเอก สนิท เกษียณอายุราชการเป็นนายทหารพ้นราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508

โดยหลังเกษียณได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ธนาคารเอเชีย เพื่ออุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม จำกัด จนถึงแก่อนิจกรรม

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เวลา 20.50 น. ด้วยโรคหัวใจวายโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สิริอายุได้ 64 ปี 99 วัน มีการสวดพระอภิธรรมศพที่ศาลาวัดโสมนัสวิหาร และงานพระราชทานเพลิงศพมีขึ้นที่เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[2]

เกียรติยศ

[แก้]

ยศทหาร

[แก้]
  • 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 – นักเรียนทำการนายร้อย
  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – นายร้อยตรี[15]
  • 5 เมษายน พ.ศ. 2472 – นายร้อยโท[16]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 – นายร้อยเอก[17]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 – เป็นนายพันตรี[18]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 – นายพันโท[19]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2488 – พันเอก[20]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2494 – พลตรี[21]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2499 – พลโท[22]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 – พลเอก[23]

ยศกองอาสารักษาดินแดน

[แก้]
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2507 – นายกองเอก[24]

บรรดาศักดิ์

[แก้]
  • 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 – เป็นขุนสนิทยุทธการ ถือศักดินา 600[25]
  • 21 มกราคม พ.ศ. 2485 – ลาออกจากบรรดาศักดิ์[26]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 - กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 (2512). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์ ม.ป.ช, ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส. โรงพิมพ์ศูนย์การทหารราบ.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๒๔๑๙, ๑๓ มิถุนายน ๒๔๙๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๙๓๖, ๑๕ เมษายน ๒๔๙๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๖๒๕, ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ และพ้นจากตำแหน่งหน้าที่, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๔๗๕, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๑๐๓, ๒๖ มกราคม ๒๕๐๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๗๖ ง หน้า ๒๐๕๑, ๒๖ กันยายน ๒๕๐๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๒๒๗๕, ๘ ตุลาคม ๒๕๐๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๑ กันยายน ๒๕๐๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๒๑ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติและกรรมการบริหาร, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๒๐๙๑, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติและกรรมการบริหาร, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๕๙, ๑๔ มกราคม ๒๕๐๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๙๖๗, ๗ เมษายน ๒๕๐๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๖๑, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๘, ๑๔ เมษายน ๒๔๗๒
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๒, ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๐, ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๘๑
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๗๐ ง หน้า ๒๗๘๖, ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๙๗๐, ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๘๘
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๑๐๕๙, ๖ มีนาคม ๒๔๙๔
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๗ มีนาคม ๒๔๙๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๔
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๓๐๕, ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานบรรดาศักดิ์, เล่ม ๔๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๒๙, ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๕
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๑๗๙, ๒๗ มกราคม ๒๔๘๕
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๐๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  32. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๒, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๕, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๐ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๑, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
  36. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๘, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  37. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๑๓ ง หน้า ๕๔๘, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗