หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย
หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 5 | |
ประสูติ | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 |
สิ้นชีพิตักษัย | 13 มกราคม พ.ศ. 2553 (75 ปี) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
หม่อม | หม่อมจารุศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา หม่อมอรศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา หม่อมมัณฑนา ฉัตรชัย ณ อยุธยา |
พระบุตร | 9 คน |
ราชสกุล | ฉัตรชัย |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน |
พระมารดา | หม่อมเอื้อม ฉัตรชัย ณ อยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ชั้นยศ | ร้อยตรี |
ร้อยตรี หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย (6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 – 13 มกราคม พ.ศ. 2553) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ประสูติแต่หม่อมเอื้อม ฉัตรชัย ณ อยุธยา เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้นิพนธ์บทภาพยนตร์
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย มีพระนามลำลองว่า ท่านชายเอื้อม[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ประสูติแต่หม่อมเอื้อม ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อรุณทัต)[2] เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 มีพระพี่น้องร่วมพระบิดา 11 องค์
หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย เสกสมรสกับหม่อมจารุศรี (สกุลเดิม รัตนวราหะ) และมีหม่อมอีกสองคน คือ หม่อมมัณฑนา (สกุลเดิม บุนนาค) และหม่อมอรศรี (สกุลเดิม ลีนะวัต) มีโอรส-ธิดา 9 คนดังนี้[3]
เกิดแต่หม่อมจารุศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา (6 มกราคม พ.ศ. 2480 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558)
- หม่อมราชวงศ์ลักษมีฉัตร วรวรรณ สมรสกับหม่อมหลวงปริญญากร วรวรรณ
- หม่อมราชวงศ์กมลฉัตร บุญพราหมณ์ สมรสกับพร้อมพงศ์ บุญพราหมณ์
- หม่อมราชวงศ์ธิดาฉัตร ฉัตรชัย
- หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรชัย
เกิดแต่หม่อมมัณฑนา ฉัตรชัย ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์มณฑิรฉัตร ฉัตรชัย
- หม่อมหลวงฑวิฉัตร ฉัตรชัย
- หม่อมหลวงอธิฉัตร ฉัตรชัย
เกิดแต่หม่อมอรศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์เอื้อมทิพย์ เศวตศิลา สมรสกับนัทธิน เศวตศิลา
- หม่อมราชวงศ์ฉัตรทิพย์ ฉัตรชัย
- หม่อมหลวงชยากร ฉัตรชัย
- หม่อมราชวงศ์เอิบทิพย์ ฉัตรชัย
หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553 ที่วังในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หลังจากประชวรด้วยพระโรคพาร์กินสัน เป็นเวลาถึง 15 ปี[4] สิริชันษา 75 ปี นับเป็นหม่อมเจ้าองค์สุดท้ายของราชสกุลฉัตรชัย การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปประกอบพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศบรรจุศพ และรับศพไว้ในพระราชานุเคราะห์เป็นเวลา 7 วัน
ทั้งนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดให้ พลอากาศเอกสมชาย เปล่งขำ เป็นผู้แทนพระองค์นำพวงมาลาประดับหน้าศพ พร้อมพวงมาลาของพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อมาหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
ผลงาน
[แก้]หม่อมเจ้าทิพยฉัตร มีผลงานกำกับภาพยนตร์ไทย และนิพนธ์บทภาพยนตร์เรื่องแรก เจ้าแม่ เป็นภาพยนตร์แนวบู๊ ต่อมาเปลี่ยนเป็นแนวรักโรแมนติกของหนุ่มสาว ทุกเรื่องเน้นทิวทัศน์สวยงามและเพลงไพเราะ[5]
- เจ้าแม่ (2519) กำกับร่วมกับ ฉลวย ศรีรัตนา ฉายวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ที่ เฉลิมไทย-พาราเมาท์ นำแสดงโดย อรัญญา นามวงศ์, สมบัติ เมทะนี
- เพลงรักบ้านนา (2520) ฉายวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ที่ สยาม-แกรนด์-พาราเมาท์ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, มธุรส รัตนา
- รักเอย (2521) ฉายวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ที่ สยาม-ปารีส-ออสการ์-ไดเรคเตอร์ [6][7] นำแสดงโดย พิศาล อัครเศรณี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
- มนต์รักอสูร (2521) ฉายวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2521 ที่สยาม-พาราเมาท์-ออสการ์-สามย่าน [8] นำแสดงโดย พิศาล อัครเศรณี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
- เพลิน (2522) ฉายวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2522 ที่ปารีส-ออสการ์-สามย่าน-วอชิงตัน นำแสดงโดย พิศาล อัครเศรณี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
- ชื่นรัก (2522) ฉายวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ที่ เฉลิมไทย-สยาม-พาราเมาท์-วอชิงตัน นำแสดงโดย เศรษฐา ศิระฉายา, อรัญญา นามวงศ์
- ผู้หญิง (2523) ฉายวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ที่ สยาม-อินทรา-ปารีส-กรุงเกษม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, อาพร โทณะวนิก, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
- เคหาสน์สีแดง (2523) ฉายวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ที่ โคลีเซี่ยม-เฉลิมไทย-พาราเมาท์ นำแสดงโดย พอเจตน์ แก่นเพชร, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, ทูน หิรัญทรัพย์, อำภา ภูษิต
- เชลยศักดิ์ (2524) ฉายวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2524 ที่ เฉลิมไทย-ปารีส นำแสดงโดย ภคินี อมราพิทักษ์, อาพร โทณะวณิก, ทูน หิรัญทรัพย์, วิฑูรย์ กรุณา, นิรุตติ์ ศิริจรรยา
- เก็บรัก (2524) ฉายวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ที่ เฉลิมไทย-พาราเมาท์-สามย่าน-โคลัมเบีย นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, วิยะดา อุมารินทร์
- ค่าแห่งความรัก (2524) ฉายวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ที่ แอมบาสเดอร์-รามา-ดาดา นำแสดงโดย พิศาล อัครเศรณี, ทูน หิรัญทรัพย์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
- หล่อลากดิน (2525) ฉายวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ที่ เฉลิมไทย-โคลีเซี่ยม-พาราเมาท์ นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, ลักษณ์ อภิชาติ, มยุรา ธนะบุตร
- ไอ้หนุ่มรถไถ (2525) ฉายวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 ที่ เฉลิมไทย-พาราเมาท์-ลอนดอน นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
- ขอรักเธออีกสักครั้ง (2526) ฉายวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ที่ เฉลิมไทย-ลิโด-ดาดา-วิลล่า-เฉลิมกรุง นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์, นิรุตติ์ ศิริจรรยา, อมรรัตน์ อังธนานนท์
- ครั้งหนึ่งเราเคยรักกัน (2526) ฉายวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ที่ เอเธนส์-แกรนด์-พาราไดซ์ นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, จารุณี สุขสวัสดิ์
- แล้วเราก็รักกัน (2527) ฉายวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2527 ที่ สยาม-เฉลิมกรุง-ดาดา-รามา-สิริรามา นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์, จารุณี สุขสวัสดิ์
- ขอแค่คิดถึง (2527) ฉายวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2527 ที่ เฉลิมไทย-สยาม-ดาดา-รามา-สิริรามา นำแสดงโดย สุชาติ ชวางกูร, ใหม่ สิริวิมล, ธงไชย แมคอินไตย์
- รักนี้เราจอง (2527) ฉายวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ที่ สยาม-เฉลิมกรุง-ดาดา-รามา นำแสดงโดย เบน อิศรางกูร ณ อยุธยา, ใหม่ สิริวิมล
- ด้วยรักคือรัก (2528) ฉายวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ที่ พาราไดซ์-พระโขนงรามา-วังบูรพา นำแสดงโดย ธงไชย แมคอินไตย์, อัญชลี จงคดีกิจ
- อีกครั้ง (2529) ฉายวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ที่ ลิโด-อินทรา-เฉลิมกรุง-วิลล่า นำแสดงโดย ธงไชย แมคอินไตย์, อัญชลี จงคดีกิจ
- ด้วยรักและผูกพัน (2529) ฉายวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ที่ เฉลิมไทย-สยาม-อินทรา นำแสดงโดย ธงไชย แมคอินไตย์, กาญจนา จินดาวัฒน์
- หากคุณรักใครสักคน (2530) ฉายวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2530 ที่ สยาม-เฉลิมไทย-อินทรา นำแสดงโดย กาญจนา จินดาวัฒน์, บดินทร์ ดุ๊ก
- จงรัก (2531) ฉายวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ที่ เฉลิมไทย-อินทรา-สยาม นำแสดงโดย บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์, มาช่า วัฒนพานิช, บดินทร์ ดุ๊ก
- ด้วยรักคิดถึง (2531) ฉายวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2531 ที่ สยาม-เฉลิมไทย-อินทรา-วิลลา นำแสดงโดย บดินทร์ ดุ๊ก, ลลิตา ปัญโญภาส
- เสน่หา (2532) ฉายวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ที่ สยาม-อินทรา-เฉลิมกรุง-พันธ์ทิพย์ นำแสดงโดย บดินทร์ ดุ๊ก, ไกรวิทย์ พุ่มสุโข, จริยา สรณะคม
- ด้วยรักไม่รู้จบ (2534) ฉายวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ที่ สยาม-อินทรา-เฉลิมกรุง-มอลล์ 5 นำแสดงโดย บดินทร์ ดุ๊ก, สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
- เกาะรัก (2534) ฉายวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ที่ สยาม-อินทรา-เฉลิมกรุง-มอลล์ 5 นำแสดงโดย ภุชงค์ โยธาพิทักษ์, คัทรียา กาญจนโรจน์, เปียเชอร์ กาญจนโรจน์
- อยากบอกให้รู้ว่ารัก (2534) ฉายวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ที่ สยาม-อินทรา-มอลล์5 ฯลฯ นำแสดงโดย บิลลี่ โอแกน, สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
- เพียงเรามีเรา (2535) ฉายวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ที่ สยาม-อินทรา-มอลล์5-อิมพีเรียล นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ, จินตหรา สุขพัฒน์
บทภาพยนตร์
[แก้]- เพลงรักบ้านนา (2520) ฉายวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ที่ สยาม-แกรนด์-พาราเมาท์ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, มธุรส รัตนา, ไพรวัลย์ ลูกเพชร, บู๊ วิบูลย์นันท์, สมจินต์ ธรรมทัต
- มนต์รักอสูร (2521) ฉายวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2521 ที่สยาม-พาราเมาท์-ออสการ์-สามย่าน [9] นำแสดงโดย พิศาล อัครเศรณี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, พีท ทองเจือ, สมพงษ์ พงษ์มิตร
- ไอ้หนุ่มรถไถ (2525) ฉายวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 ที่ เฉลิมไทย-พาราเมาท์-ลอนดอน นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, ส.อาสนจินดา, สมควร กระจ่างศาสตร์, เด๋อ ดอกสะเดา
- ครั้งหนึ่งเราเคยรักกัน (2526) ฉายวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ที่ เอเธนส์-แกรนด์-พาราไดซ์ นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, จารุณี สุขสวัสดิ์, ดิลก ทองวัฒนา, มธุรส รัตนา, กำธร สุวรรณปิยะศิริ
- ขอแค่คิดถึง (2527) ฉายวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2527 ที่ เฉลิมไทย-สยาม-ดาดา-รามา-สิริรามา นำแสดงโดย สุชาติ ชวางกูร, ใหม่ สิริวิมล, ธงไชย แมคอินไตย์
- ด้วยรักและผูกพัน (2529) ฉายวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ที่ เฉลิมไทย-สยาม-อินทรา นำแสดงโดย ธงไชย แมคอินไตย์, กาญจนา จินดาวัฒน์, กำธร สุวรรณปิยะศิริ
- ด้วยรักไม่รู้จบ (2534) ฉายวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ที่ สยาม-อินทรา-เฉลิมกรุง-มอลล์ 5 นำแสดงโดย บดินทร์ ดุ๊ก, สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์, ไพโรจน์ ใจสิงห์, รอง เค้ามูลคดี, พูนสวัสดิ์ ธีมากร
แสดงภาพยนตร์
[แก้]- รักเอย (2539)
อำนวยการสร้าง
[แก้]- เจ้าแม่ (2519) กำกับร่วมกับ ฉลวย ศรีรัตนา ฉายวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ที่ เฉลิมไทย-พาราเมาท์ นำแสดงโดย อรัญญา นามวงศ์, สมบัติ เมทะนี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, สุริยา ชินพันธุ์, ภูมิ พัฒนายุทธ, สมจินต์ ธรรมทัต, บู๊ วิบูลย์นันท์
บทละคร
[แก้]- เพลงรักบ้านนา (2554)
ระยะหลัง หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ทรงหันไปทรงงานอยู่เบื้องหลัง เป็นนักแปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศ และทรงประกอบกิจการร้านอาหารชื่อ "บ้านสีม่วง" กับหม่อมอรศรี
พระเกียรติยศ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พระยศ
[แก้]พระยศทางทหาร
[แก้]- 1 มกราคม พ.ศ. 2500: ร้อยตรี[11]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงและเชิงอรรถ
[แก้]- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรไชย สิ้นชีพิตักษัย[ลิงก์เสีย] ข่าวต้นชั่วโมง เวลา 15.00 น. จากสำนักข่าวไทย
- ↑ "ภาพยนตร์เก่าๆของ ท่านชายทิพย์ มจ.ทิพยฉัตร ฉัตรไชย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2007-12-09.
- ↑ รักเอย ถูกนำมาสร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2539 กำกับโดย ธนิตย์ จิตนุกูล นำแสดงโดย รวิชญ์ เทิดวงศ์, กุลสตรี ศิริพงศ์ปรีดา
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-01.
- ↑ [1]
- ↑ [2]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกให้แก่พระราชวงศ์ (ร้อยตรี หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล พันเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 25ข วันที่ 29 ธันวาคม 2549 หน้า 2
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร