พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
ประสูติ | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 |
สิ้นพระชนม์ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (88 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส |
สวามี | หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ |
ราชสกุล | ฉัตรชัย (โดยประสูติ) วุฒิชัย (โดยเสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน |
พระมารดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล |
ศาสนา | พุทธ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล
พระประวัติ
[แก้]พระประวัติช่วงต้น
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร มีพระนามลำลองว่า พระองค์หญิงตุ๊[1] เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล ประสูติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464
พระองค์เจ้าวิมลฉัตรมีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีรวม 3 พระองค์ ได้แก่
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร (7 มีนาคม พ.ศ. 2448 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง (11 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 6 เมษายน พ.ศ. 2454)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524)
นอกจากนี้ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรยังมีพระภคินีและพระอนุชาต่างมารดาอีก 8 องค์ ได้แก่ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี, หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร สุขสวัสดิ์, หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล, หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย, เฟื่องฉัตร ดิศกุล, หิรัญฉัตร เอ็ดเวิร์ดส, หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย และหม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย
เสกสมรส
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรเสกสมรสกับ นาวาโท หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร และหม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย มีพระโอรสธิดาสองคน ได้แก่:
- หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย สมรสกับเอมอร วุฒิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุษบงก์) มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่
- หม่อมหลวงอภิชิต วุฒิชัย
- หม่อมหลวงอาทิตรา วุฒิชัย
- หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ มีธิดาสองคน ได้แก่
- หม่อมหลวงศศิภา สวัสดิวัตน์
- หม่อมหลวงจันทราภา สวัสดิวัตน์
สิ้นพระชนม์
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรทรงเข้ารักษาพระอาการประชวรที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ก่อนสิ้นพระชนม์ด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสพระโลหิตขั้นรุนแรง และพระวักกะวายเฉียบพลัน ในช่วงเช้าของวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 สิริพระชันษา 88 ปี[2]
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปสรงพระศพในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์ ทรงรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด พร้อมพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 7 คืน
ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ (ต่อมาเป็น ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี) เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในวันต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
ต่อมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จไปทรงบำเพ็ญพระกุศลประทานในการออกพระเมรุพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โดยเสด็จด้วย
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรเป็นพระอนุวงศ์ชั้น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ที่ดำรงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระองค์สุดท้ายในขณะนั้น หลังจากนั้น พระอิสริยยศนี้ได้เว้นว่างไปเป็นเวลา 15 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล
การทรงงาน
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาหลายปี ดังนี้
- พ.ศ. 2490 - 2491: เป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
- พ.ศ. 2496 - 2500: ทรงดำรงตำแหน่งผู้ตรวจพิสูจน์อักษร หนังสือพิมพ์สแตนดาร์ด
- พ.ศ. 2501 – 2502: เป็นโฆษกแผนกภาษาไทย สถานีวิทยุบีบีซี กรุงลอนดอน (ครั้งที่ 1)
- พ.ศ. 2503 – 2504: ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่อ่านข่าวภาษาอังกฤษของกรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2504 - 2510: ทรงกลับไปเป็นโฆษกแผนกภาษาไทย สถานีวิทยุบีบีซี กรุงลอนดอน (ครั้งที่ 2)
- พ.ศ. 2511 - 2512: ทรงทำงานที่สำนักงานแถลงข่าวอังกฤษ สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย
- พ.ศ. 2513 – 2525: ทรงดำรงตำแหน่งรองกงสุลแผนกวีซ่า สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย
- พ.ศ. 2526 - 2527: เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2528 - 2530: เป็นอาจารย์สอนพิเศษภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนที่เตรียมศึกษาต่อต่างประเทศ
พระกรณียกิจ
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์การและมูลนิธิต่าง ๆ ที่มุ่งพัฒนาสังคมและช่วยเหลือผู้ยากไร้ เป็นองค์ประธานและกรรมการที่ปรึกษาในหลายมูลนิธิและองค์การ โดยทรงปฏิบัติพระกรณียกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ดังนี้
- องค์ประธานมูลนิธิสวนหลวง ร.9 ในพระบรมราชูปถัมภ์
- องค์ประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
- องค์นายกมูลนิธิช่วยนักเรียนขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
- องค์ประธานกรรมการจัดทุน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
- องค์ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
- องค์ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
- องค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิศูนย์กลางประสานงานพัฒนาชนบท
- องค์ประธานมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80
- องค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิเพชรภาษา
- อดีตองค์ประธานรางวัลซีไรต์
- องค์อุปถัมภ์ชมรมหัวใจไร้สาร และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[5]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[6]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[7]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2514 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
พระเกียรติคุณที่ได้รับ
[แก้]- พ.ศ. 2536 ปริญญาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- พ.ศ. 2540 ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสยาม
- พ.ศ. 2541 โล่รางวัล “มหิดลวรานุสรณ์”
- พ.ศ. 2542 ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระผู้ทรงเป็น "เพชรรัตน" แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
- ↑ สิ้น'เจ้าวิมลฉัตร'พระอาการไตวาย
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). 113 (22 ข). 4 ธันวาคม 2539: 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2556.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (154ง ฉบับพิเศษ): 16. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2530" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (86 ง ฉบับพิเศษ): 5. 5 พฤษภาคม 2530. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-15. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2552.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 58 (ตอน 0 ง): หน้า 1956. 23 มิถุนายน พ.ศ. 2484. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (เดวิด ร็อกกี้เฟลเดอร์, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร, ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธาดา ชาคร)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (1 ข): 31. 12 มกราคม 2539. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2552.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552
- พระวรวงศ์เธอ
- ราชสกุลฉัตรชัย
- ราชสกุลวุฒิชัย
- ราชวงศ์จักรี
- พระองค์เจ้ายก
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสยาม
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- เสียชีวิตจากภาวะไตล้มเหลว
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์