สมรรค ศิริจันทร์
สมรรค ศิริจันทร์ | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 26 เมษายน 2526 – 1 พฤษภาคม 2529 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ | |
ก่อนหน้า | สอาด ปิยวรรณ |
ถัดไป | ชุมพล ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
เสียชีวิต | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (76 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2522–2534) |
คู่สมรส | ศรีประไพ ศิริจันทร์ |
สมรรค ศิริจันทร์ (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2543) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ 3 สมัย อดีตเลขาธิการพรรคประชากรไทย และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประวัติ
[แก้]สมรรค เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 (นับแบบปัจจุบัน คือปี พ.ศ. 2467)[1] เป็นบุตรของนายอิม และ นางเลี้ยง ศิริจันทร์ มีพี่น้อง 9 คน สำเร็จการศึกษา ธรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับศรีประไพ ศิริจันทร์ (สกุลเดิม : รัชตะปิติ) มีบุตร-ธิดา รวม 5 คน คือ
- พันเอกสุพพัต ศิริจันทร์ สมรสกับ หม่อมหลวงวิมลพรรณ กมลาสน์ มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน
- วุฒิชัย ศิริจันทร์ สมรสกับ จิรพร สุวรรณปาล มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน
- ทินวัฒน์ ศิริจันทร์ สมรสกับ จิรวรรณ นิ้มสันติเจริญ มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน
- รัชฎาภรณ์ ศิริจันทร์ สมรสกับ พลตรีอนันต์ ทองเอี่ยม มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน
- นางสาวกรแก้ว ศิริจันทร์
สมรรค ศิริจันทร์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 สิริอายุรวม 76 ปี
งานการเมือง
[แก้]สมรรค เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสมุทรปราการ ใน พ.ศ. 2510 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรครั้งแรกใน พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคประชากรไทย และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 3 ครั้ง
สมรรค ได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 14 เมื่อ พ.ศ. 2526
สมรรค เคยเป็นรองเลขาธิการพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2517[2] และเป็นเลขาธิการพรรคประชากรไทย
สมรรค เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในปี พ.ศ. 2539
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สมรรค ศิริจันทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติสมาชิกรัฐสภาไทย พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2543
- บุคคลจากอำเภอบางพลี
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- พรรคสันติชน
- พรรคสังคมชาตินิยม
- พรรคประชากรไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.