โสภณ เพชรสว่าง
โสภณ เพชรสว่าง | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2483 อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
โสภณ เพชรสว่าง (เกิด 31 ธันวาคม พ.ศ. 2483) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง[1] อดีตเลขาธิการพรรคมวลชน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
ประวัติ
[แก้]โสภณ เพชรสว่าง เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2519[2]
การทำงาน
[แก้]โสภณ เพชรสว่าง เคยทำงานเป็นทนายความ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 (สังกัดพรรคประชาธิปัตย์) พ.ศ. 2531 (สังกัดพรรคมวลชน) พ.ศ. 2535/2 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 (สังกัดพรรคชาติพัฒนา) พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2548 (สังกัดพรรคไทยรักไทย) และเคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ใน พ.ศ. 2526 และเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ลงสมัครในสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย[4] ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 80[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล)[6][7]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 83[8]
ใน พ.ศ. 2561 นายโสภณได้ย้ายจากพรรคเพื่อไทยมาสังกัด พรรคพลังพลเมืองไทย เป็นรองหัวหน้าพรรค[9] จากนั้นจึงได้ย้ายมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคเพื่อชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา นายโสภณ เพชรสว่าง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์)
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
- ↑ ""โสภณ" แฉแผนซื้อเสียง "พลังแม้ว" เทแต้ม - ส่ง "มฌ." กวาด ส.ส.บุรีรัมย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
- ↑ ""เผาไทย"บุรีรัมย์เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.9 เขต-โวล้มช้าง "ยี้ห้อย"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 50/2555 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน 12 ราย)
- ↑ ครม.ตั้ง ขรก.การเมือง"ปู 2"ครบทุกตำแหน่ง "วัน อยู่บำรุง"นั่งที่ปรึกษา รมช.คค.-"ผดุง"ตามโผเลขาฯ มท.1 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/D/070/T137.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอกระสัง
- นักการเมืองไทย
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคมวลชน
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคพลเมืองไทย
- พรรคเพื่อชาติ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.