เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 | |
ก่อนหน้า | พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) |
ถัดไป | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) |
อธิบดีศาลฎีกา | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2462 | |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ |
ถัดไป | พระยากฤติกานุกรณ์กิจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 |
เสียชีวิต | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (81 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร |
บุตร | นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์) หลวงจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (วิสุทธิ ไกรฤกษ์) ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา คุณหญิงศรี ไชยยศสมบัติ |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
มหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร นามเดิม ลออ สกุลไกรฤกษ์ (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 อดีตเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตประธานศาลฎีกา
ประวัติ
[แก้]ลออ ไกรฤกษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม 4 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ ตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 เวลา 8 นาฬิกา ณ ตำบลตึกแดง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระยาเพ็ชรรัตน (โมรา) กับท่านตาล ไกรฤกษ์ สมรสกับกลีบ ธิดาหมื่น นรารักษ์ (ปิ่น บางยี่ขัน) ซึ่งเป็นเจ้าของสวนอยู่ที่บางยี่ขัน ธนบุรี มารดาชื่อหุ่น กำเนิดในสกุล สนธิรัตน์
ประวัติการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2428 ศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส
- พ.ศ. 2429 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
- พ.ศ. 2440 สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิต ชั้นที่ 1 จากโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม นับเป็นเนติบัณฑิตคนแรกของประเทศไทย
ประวัติการรับราชการ
[แก้]- พ.ศ. 2434 ช่วยราชการในศาลฎีกา
- ช่วยราชการใน กรมราชเลขานุการ
- ผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา (ศาลยุติธรรมในปัจจุบัน)
- ผู้บัญชาการและสอนวิชากฎหมาย ณ โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม
- ผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- เลขานุการเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์)
- พ.ศ. 2441 อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- พ.ศ. 2444 ปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2453 กรรมการศาลฎีกา
- 16 พฤษภาคม 2454 – อธิบดีกองฎีกา[1]
- พ.ศ. 2454 ราชเลขานุการฝ่ายกฤษฎีกา
- พ.ศ. 2457 เป็นสมุหพระนิติศาสตร์ (หัวหน้ากรมพระนิติศาสตร์คนแรก)
- พ.ศ. 2461 อธิบดีศาลฎีกา (ประธานศาลฎีกา) (สามัญชนคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้)
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2462 ราชเลขาธิการ[2]
- องคมนตรี
- พ.ศ. 2480 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ราชการพิเศษ
[แก้]- กรรมการสอบความรู้เนติบัณฑิต
- กรรมการชำระกฎหมายเก่า และรวบรวมร่างกฎหมายใหม่
- สภานายกคนแรกของเนติบัณฑิตยสภา
- กรรมการสภาการคลัง
- กรรมการตรวจร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- กรรมการ ก.พ.
- ประธาน อ.ก.พ. วิสามัญ
เกียรติยศ
[แก้]มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[แก้]- พ.ศ. 2482 ศาสตราจารย์วิสามัญ แห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง[3]
- พ.ศ. 2498 ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคนแรกตั้งแต่ตั้งมหาวิทยาลัย
ลำดับบรรดาศักดิ์
[แก้]- 28 ธันวาคม พ.ศ. 2441 หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ถือศักดินา ๖๐๐[4]
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 พระจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์[5]
- 20 มกราคม พ.ศ. 2446 พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ถือศักดินา ๓๐๐๐[6]
- พ.ศ. 2465 เจ้าพระยามหิธร บรมนริศรมหาสวามิภักดิ์ นิติพิทักษ์ธรรมพิศาล ราชเลขาธิการวิสุทธิคุณ ไกรฤกษ์กุลวิวัฒน์ ศรีรัตนตรัยสรณธาดา สุจริตาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[7]
ยศ
[แก้]ยศพลเรือน
[แก้]ยศในพระราชสำนัก
[แก้]- มหาเสวกโท
- 31 มีนาคม 2461 – มหาเสวกเอก[10]
ยศกองเสือป่า
[แก้]- – นายหมู่ตรี
- 30 กันยายน 2454 – นายหมู่โท[11]
- 17 กุมภาพันธ์ 2455 – นายหมู่ใหญ่[12]
- นายหมวดโท[13]
- นายหมวดเอก[14]
- นายกองตรี[15]
เครื่องยศ
[แก้]เจ้าพระยามหิธรได้รับพระราชทานเครื่องยศดังนี้
- พานทอง
- มาลาเส้าสะเทิน
- เครื่องทองคำลงยายอดเกี้ยว
- เสื้อทรงประพาศขลิบทอง
- กระบี่ด้ามและฝักทองคำสลัก
- หีบหมากทองคำลงยาหุ้มไม้แดงหลังหีบมีตรานารายณ์ยืนแท่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[19]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[21]
- พ.ศ. 2440 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[22]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[23]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[24]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[25]
- พ.ศ. 2463 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[26]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[27]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[28]
- พ.ศ. 2450 – เข็มอักษรรักษาพระนครเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปคราวหลัง (เข็มเงิน)[29]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เข็มพระบรมนามาภิธัย ว.ป.ร. ประดับเพ็ชร์
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เข็มพระบรมรูปสมเด็จพระพันปีหลวงขอบประดับเพ็ชร์
- 2452 – เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 3 เงิน[30]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]เจ้าพระยามหิธรท่านเป็นคนขรึม ๆ ซ่อนความรู้สึกและชอบฟังมากกว่าชอบพูด แต่เมื่อคราวจะต้องพูดก็พูดได้มากและพูดได้ดี ท่านเป็นคนช่างสังเกตและมีอารมณ์ขัน เป็นคนไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่ชอบมีหนี้สิน แต่มีความเอื้ออารีต่อบุตร ภรรยา ญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงตามอัตภาพ เป็นผู้ถือและปฏิบัติตามคติธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้อยู่ในศีลในสัตย์ เกลียดการทุจริตเบียดเบียนกันและเป็นผู้รักษาระเบียบประเพณีอย่างเคร่งครัด คุณสมบัติอันสำคัญยิ่งของท่านคือ มีความกตัญญูกตเวที ท่านไม่ลืมบุญคุณของผู้ที่อุปการะท่าน และพยายามตอบแทนทุกวิถีทางด้วยเหตุนี้ท่านจึงพยายามรับใช้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ กรมขุนศิริฯ สมเด็จพระมหาสมณะฯ และกรมหลวงราชบุรีฯ ทุกโอกาสที่ทำได้ และเมื่อกรมหลวงราชบุรีฯ สิ้นพระชนม์ก็ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงชักชวนสานุศิษย์ให้ตั้งกองกุศลขึ้นอุทิศถวายให้แก่พระองค์ท่าน ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 – 6 – 7 ซึ่งได้ทรงชุบเกล้าฯ เลี้ยงท่านไว้ในราชการนั้น ท่านก็ได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เทิดทูนพระเกียรติและเคารพสักการะอยู่เป็นเนืองนิตย์ ท่านชอบเล่นกีฬา คือ แล่นเรือยนต์ เล่นเทนนิส กอล์ฟ ในสมัยท่านยังหนุ่มท่านชอบปีนเขา แต่เมื่อท่านมีอายุมากแล้วท่านก็ชอบเดินออกกำลังในตอนเช้า นอกจากนี้ท่านยังชอบอ่านหนังสือและสะสมของเก่า เช่น เครื่องสังคโลกและเครื่องลายคราม เป็นต้น
บุตรธิดา
[แก้]เจ้าพระยามหิธร ได้สมรสกับท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร โดยมีบุตรธิดาหลายคน อาทิ เช่น
- จักร
- นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์) มหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เมื่ออายุ 21 ปี
- คุณหญิง (ศรี) ไชยยศสมบัติ
- ศิล
- หลวงจักรปาณี ศรีศิลวิสุทธิ์ (วิสุทธิ ไกรฤกษ์)
- ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา ภริยาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- มัณฑนาภรณ์
- วิจิตราภรณ์
- ภูษณาภรณ์
- นิภาภรณ์
- ดารา ไกรฤกษ์
- รัตนาภรณ์ ยูนิพันธ์
นอกจากนี้ ท่านยังมีบุตรชายที่เกิดกับ มาลัย อนุภรรยาซึ่งเป็นน้องสาวแท้ ๆ ของท่านผู้หญิงกลีบ ชื่อ มาลา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แจ้งความกรมราชเลขานุการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง ตั้งราชเลขาธิการและอธิบดีศาลฎีกา
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2021-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 39, 19 พฤศจิกายน 2465, หน้า 324-328
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖, ๒๘ เมษายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศและเลื่อนยศ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๒๙, ๓ ธันวาคม ๒๔๕๙
- ↑ ประกาศกระทรวงวัง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ ประกาศเลื่อนยศเสือป่า (หน้า ๑๙๙๔)
- ↑ ประกาศเลื่อนยศเสือป่ากองพลหลวง (หน้า ๒๖๗๘)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๒๒๙๒)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๕, ๙ มกราคม ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม สมาชิกสมาชิกา เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๕ เก็บถาวร 2020-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๘๔, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๑, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามแลนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๗๕, ๔ มกราคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐, เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕, ๔ เมษายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๗๕๕, ๓๐ มกราคม ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๖๖, ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๗, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๒๗, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๖, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๘๖, ๒๘ พฤศจิกายน ๑๒๖
- ↑ พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2417
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2499
- บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา
- ประธานศาลฎีกาไทย
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 7
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- ราชเลขาธิการและราชเลขานุการในพระมหากษัตริย์ไทย
- สกุลไกรฤกษ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลจากเขตคลองสาน
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์