จำรัส มังคลารัตน์
จำรัส มังคลารัตน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (2 ปี 122 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (0 ปี 71 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มณฑลราชบุรี[1] |
เสียชีวิต | 3 มกราคม พ.ศ. 2540 (75 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ชาติไทย |
คู่สมรส | ลำใย มังคลารัตน์ |
พลตำรวจโท จำรัส มังคลารัตน์ (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 - 3 มกราคม พ.ศ. 2540) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 3 สมัย
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]จำรัส เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 เป็นบุตรคนโตของจ่าง และเจริญ มังคลารัตน์ ในจำนวนพี่น้อง 4 คน
พล.ต.ท. จำรัส สมรสกับลำไย มังคลารัตน์ (สกุลเดิม ประยูรหงษ์) มีบุตร-ธิดา 2 คน ได้แก่[2]
- รัษฎา สะวิคามิน
- ภาณุวัฒน์ มังคลารัตน์
- อรรถชัย มังคลารัตน์
การศึกษา
[แก้]จำรัส จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี, ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนมัธยมศึกษาบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง[3]
การทำงาน
[แก้]งานตำรวจ
[แก้]พล.ต.ท. จำรัส เข้ารับการราชตำรวจครั้งแรกในปี พ.ศ. 2487 ในตำแหน่งนายดาบตำรวจประจำ กองกำกับการ 2 ตรส. และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2505 : ผู้บังคับการตำรวจภูธร เขต 1
- พ.ศ. 2513 : ผู้บัญชาการตำรวจภูธร
- พ.ศ. 2516 : ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
งานการเมือง
[แก้]พล.ต.ท. จำรัส เคยรับราชการตำรวจ และเข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2515, ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[4] สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ใน พ.ศ. 2517 และ สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ใน พ.ศ. 2519 ก่อนที่จะเกษียณและลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 3 สมัย
พล.ต.ท. จำรัส ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเมื่อ พ.ศ. 2531 (ครม.45)[5] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2533 (ครม. 46) ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พล.ต.ท. จำรัส มังคลารัตน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
การถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พล.ต.ท. จำรัส มังคลารัตน์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคปอดอักเสบ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2540 สิริรวมอายุ 75 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์. บุคคลที่น่ารู้จัก. นครหลวงกรุงเทพธนบุรี : ประชาช่าง, 2516, หน้า 101
- ↑ อัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์. บุคคลที่น่ารู้จัก. นครหลวงกรุงเทพธนบุรี : ประชาช่าง, 2516,หน้า 103
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๓๓๘, ๘ กันยายน ๒๕๐๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540
- บุคคลจากอำเภอโพธาราม
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดราชบุรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา