ข้ามไปเนื้อหา

สุราขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุราขาว
ประเทศต้นกำเนิดประเทศไทย
แอลกอฮอล์โดยปริมาตร28%–40%
สีใส
ส่วนผสมกากน้ำตาล, ข้าว, ข้าวหอมมะลิ, ข้าวเหนียว, ข้าวโพด, น้ำอ้อย, ลูกเดือย, ข้าวฟ่าง, ฯลฯ

สุราขาว หรือ เหล้าขาว คือ สุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งผสมปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 80 ดีกรีเป็นสุราที่ได้จากการควบคุมการหมักและกลั่นอย่างพิถีพิถัน มีการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตโดยห้องปฏิบัติการ วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและได้รับการอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมน้ำที่นำมาใช้ปรุงแต่ง ปรับดีกรีสุราเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากแร่ธาตุ จึงทำให้ได้น้ำสุราที่ใสรสชาติชวนดื่ม

ประวัติ

[แก้]

หยิงหยาเชิ่งหล่าน” ของจีน (1405–1433) ระบุว่า เซียนหลัว (暹羅, Xiānluó)[a] มีสุราขาวสองแบบ ทั้งสองแบบเป็นสุรากลั่น[1]: 107  ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ทูตชาวฝรั่งเศสผู้เดินทางมายังสยามในสมัยอยุธยาตอนกลาง เขียนเกี่ยวกับสุราสยามไว้ดังนี้:[2]

“แต่เพราะในเมืองร้อนการดองน้ำกระแช่เนื่องๆไป ก็ชักให้ชาวสยามต้องการที่จะทวีแรงสุราให้เมาหนักขึ้น จึงพากันชอบนิยมดื่มแอควาวิตออย่างแรงที่สุดยิ่งกว่าสุราอย่างอื่นๆ ชาวสยามทำสุราอย่างนี้ด้วยข้าว ที่เคยๆทำกันนั้นหมักไว้กับน้ำปูน สุราที่ทำด้วยข้าวนี้ชั้นแรกก็ทำเป็นเบียร์ แต่ชาวสยามไม่ดื่มเบียร์แต่กลับกลั่นเป็นแอควาวิตอ ซึ่งชาวสยามเรียกเหล้า ฝรั่งโปรตุเกสเรียกอาแรก เป็นคำอาหรับ ซึ่งน่าจะแปลว่ากลั่น บางทีก็เรียกว่าเอสเซนส์ ก็คือแอควาวิตออย่างดีนั่นเอง อนึ่ง น้ำส้มสายชูทำด้วยเบียร์ข้าวนั้นด้วยก็มี”

สุราขาวปัจจุบันส่วนใหญ่กลั่นมาจากกากน้ำตาลแทนข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต[3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เซียนหลัวเป็นชื่อจีนสำหรับอยุธยา ซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีต้นตอจากการผยวกละโว้กับสุโขทัย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ying-yai Sheng-lan: The Overall Survey of the Ocean's Shores (1433). Hakluyt Society at the University Press. 1970. ISBN 0521010322.
  2. de La Loubère, Simon (1693). "CHAP. IX. Of the Gardens of the Siameses, and occasionally of their Liquors". A New Historical Relation of the Kingdom of Siam. แปลโดย A.P. สืบค้นเมื่อ March 13, 2021.
  3. Charan Chettanachi. "การหมักเหล้าขาวญี่ปุ่นโดยใช้ข้าวดิบ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 9, 2021. สืบค้นเมื่อ March 13, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]