ข้ามไปเนื้อหา

ข้าวกั๊นจิ๊น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าวกั๊นจิ๊น
ข้าวกั๊นจิ๊น
ชื่ออื่นข้าวกั๊นจิ๊น, ข้าวเงี้ยว, จิ๊นส้มเงี้ยว
ประเภทข้าวนึ่ง
แหล่งกำเนิดอาหารไทยภาคเหนือ (ดัดแปลงจากอาหารไทใหญ่)

ข้าวกั๊นจิ๊น ข้าวเงี้ยว หรือ จิ๊นส้มเงี้ยว เป็นอาหารไทยภาคเหนือ มีลักษณะเป็นข้าวสวยคลุกเลือดหมูสดห่อในใบตองในลักษณะเดียวกับแหนม บางสูตรไม่ใส่เนื้อสับ แต่ใส่เลือดคลุกเคล้ากับข้าวอย่างเดียว[1] นำมารับประทานกับน้ำมันกระเทียม หอมแดง แตงกวา และพริกทอด[2] อาหารประเภทนี้นิยมรับประทานเป็นอาหารกลางวัน หรือ ข้าวตอน ในสูตรดั้งเดิมมักใช้วัวทำ แต่ปัจจุบันผู้คนไม่ค่อยกินเนื้อวัวกันแล้ว จึงดัดแปลงมาใช้เนื้อหมูแทน

ที่มา

[แก้]

ข้าวกั๊นจิ๊นเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวไทใหญ่ซึ่งนิยมรับประทานข้าวเจ้า (ข้าวสวย) ต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นที่มักรับประทานข้าวนึ่ง (ข้าวเหนียว) ในบางครั้งเรียกข้าวกั๊นจิ๊นว่า "ข้าวเงี้ยว" เพราะเป็นอาหารของชาวไทใหญ่ ในอดีตชาวล้านนามักจะเรียกชาวไทใหญ่ว่า "เงี้ยว" ซึ่งมีนัยของการดูถูกชาติพันธุ์ว่า เป็นชนชาติที่เจ้าเล่ห์ คบไม่ได้ ส่วนคำว่า กั๊น ในคำเมืองหมายถึง นวด บีบ หรือคั้น เพราะขั้นตอนการทำนั้นต้องนวดข้าวให้เข้ากับเลือดด้วย ส่วน จิ๊น ก็คือเนื้อสัตว์[3]

ส่วนผสม

[แก้]

ข้าวกั๊นจิ๊นมีส่วนผสมคือ ข้าวสวย หมูสับ เลือดหมู นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นใส่หนังหมูต้ม มะเขือส้ม เกลือป่น น้ำปลา น้ำมันหอมเจียว ทำให้อาหารมีรสชาติเค็มและหวานเล็กน้อย เมื่อคลุกเคล้าเข้ากันดีแล้วจึงนำไปห่อใบตอง โดยใช้ใบตองแผ่นใหญ่ ๆ ซ้อนกัน 2 ชั้น ห่อข้าวที่คลุกเป็นทรงเตี้ย ๆ คล้ายห่อหมกแล้วกลัดด้วยไม้กลัด นำมานึ่งจนเสร็จ แล้วนำกระเทียมเจียว พริกแห้ง หัวหอมแดงซอย และแตงกวาหั่น แต่งเป็นเครื่องเคียง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รัตนา พรหมพิชัย. (2542). เข้าคั้นชิ้น. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 2, หน้า 807). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
  2. "สื่อนอกแนะนำอาหารเหนือ 'ข้าวซอยน้ำหน้า-ข้าวกั๊นจิ๊น' ติดโผด้วย". วอยซ์ทีวี.
  3. 3.0 3.1 พิชญาดา เจริญจิต (20 มกราคม 2561). "ข้าวกั้นจิ้น อาหารคนเมือง".