ข้ามไปเนื้อหา

แกงสะแล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกงสะแล
ประเภทแกง
มื้ออาหารจานหลัก
แหล่งกำเนิดไทย
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์ (หมูสามชั้น กระดูกหมูหรือใส่ปลาแห้ง) มะเขือเทศ พริกแกง

แกงสะแล หรือภาษาไทยถิ่นเหนือเรียก แก๋งสะแล เป็นอาหารไทยภาคเหนือประเภทแกง โดยนำผลสะแลอ่อนมาแกงใส่หมูสามชั้น กระดูกหมูหรือใส่ปลาแห้ง ใช้พริกแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน แกงผักเสี้ยว (พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง กะปิ ปลาร้าต้มสุก เกลือ) แต่ใส่ข่าและตะไคร้เป็นเครื่องแกงด้วย[1] รวมถึงมีการใส่มะเขือเทศลงไปด้วย[2] เพื่อชูรสเปรี้ยวเล็กน้อย[3] ในบางพื้นที่ก็จะใส่น้ำมะขามลงไปด้วยเพื่อให้ออกเปรี้ยวนำก็จะกลายเป็น แกงส้มสะแล และรับประทานในช่วงหน้าหนาว[4] เพราะสะแลจะออกดอกมากช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม[5]

จากการศึกษาของเสาวภา ศักยพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2534 พบว่าแกงสะแลปริมาณ 100 กรัม มี 96.36 แคลอรี โปรตีน 10.36 กรัม ไขมัน 2.46 กรัม คาร์โบไฮเดต 8.25 กรัม แคลเซียม 180.89 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 55.60 มิลลิกรัม เหล็ก 1.95 มิลลิกรัม วิตามินเอ 179.12 อาร์อี วิตามินบีหนึ่ง 0.26 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.33 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.40 มิลลิกรัม และวิตามินซี 8.17 มิลลิกรัม[6] ผลสะแลมีสรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร และมีสารต้านอนุมูลอิสระ[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "แกงสะแล". กศน. อำเภอลอง.
  2. "แกงสะแล". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  3. "แกงส้มดอกสะแล". ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน.
  4. "แกงสะแล". ไทยพีบีเอส.
  5. "แกงส้มดอกสะแล อาหารตามฤดูกาลคนล้านนา". เทคโนโลยีชาวบ้าน.
  6. "อาหารล้านนา - แกงสะแล". คลังเอกสารสาธารณะ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-12-22.
  7. "สะแล..แกงส้มอร่อย". ไทยรัฐ.