ข้ามไปเนื้อหา

อัชบาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัชบาน
ชื่ออื่นน้ำปานะ
มื้อเครื่องดื่ม
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
อุณหภูมิเสิร์ฟอุ่น, เย็น
ส่วนผสมหลักมะนาว (หรืออื่น ๆ), น้ำอุ่น, น้ำตาล, เกลือ, พริก

อัชบาน, อัฐบาน, อัฏฐบาน หรือ น้ำปานะ เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งของไทย ทำจากสมุนไพร มีรสชาติออกเปรี้ยวและเผ็ดร้อน โดยเป็นน้ำต้มกับสมุนไพรต่าง ๆ เช่น มะนาว ส้ม กระเจี๊ยบ มะตูม มะขามเปียก พุทราแผ่น ลำไยแห้ง ขิง ข่า ตะไคร้ หรือพริก ต้มกับน้ำตาลทราย น้ำผึ้ง และเกลือเพื่อแต่งรสชาติ จากนั้นกรองเอาแต่น้ำใส ๆ ใส่น้ำแข็งไปถวายพระสงฆ์ได้ พระสงฆ์ในพุทธศาสนาสามารถฉันน้ำนี้ได้แทนการขบเคี้ยวหลังเพล อัชบานช่วยลดเสมหะ บรรเทาอาการไอ ระบายท้อง และช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้สะดวก[1]

หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ เล่าว่ามีหญิงคนหนึ่งชื่อเพิ่มแก่ เรียกชื่อน้ำชนิดนี้ไม่ถูก จึงพูดว่า "ขอน้ำรัฐบาล" หม่อมราชวงศ์วงศ์สินธุ์ สิงหราได้ยินดังนั้นจึงตอบกลับไปว่า "น้ำรัฐบาลไม่มี มีแต่น้ำล้างตีนราษฎร"[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chomnapas Wangein (12 October 2017). "สูตร "น้ำปานะ" ป้องกันโรคปลายฝนต้นหนาว". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
  2. เนื่อง นิลรัตน์, หม่อมหลวง. ชีวิตในวัง. กรุงเทพฯ : แจ่มใส พับลิชชิ่ง, 2562, หน้า 131