บัวลอย
หน้าตา
บัวลอย เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง มีส่วนผสมหลักคือ แป้ง กะทิ และน้ำตาล โดยคำว่า "บัวลอย" อาจมาจากลักษณะของวิธีการทำขนมที่จะนำแป้ง ที่นวดแล้วเป็นเม็ดกลมเล็ก ใส่ในน้ำตาล จนแป้งสุกและลอยขึ้นมา ในปัจจุบันมีการเติมสีสันที่มาจากพืขหรือผลไม้เข้าไป[1] เช่น การผสมเผือก ฟักทอง ใบเตย อัญชัน[2] บัวลอยมักใส่ไข่ไปด้วยและเรียกว่า บัวลอยไข่หวาน
ขนมบัวลอยมักนิยมนำมาทำรับประทานในงานบุญและงานมงคลต่าง ๆ ตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคล และงานพิธีการ[3] เพื่อให้ผู้ที่รับประทานรักใคร่กลมเกลียวกัน[4]
ขนมบัวลอยปรากฏใน กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ความว่า
บัวลอยเล่ห์บัวงาม | คิดบัวกามแก้วกับตน | |
ปลั่งเปล่งเคร่งยุคล | สถนนุชดุจประทุม |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เก็บมาฝากสูตรดั้งเดิม "บัวลอย-ห่อหมก" รสไทยแท้ มาตรฐานแท้จริงอาหารไทย". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ พิศมัย ศรีชาเยช. "แป้งขนมบัวลอยจากมันสำปะหลัง".
- ↑ "ขนมบัวลอยไข่หวาน". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
- ↑ "ขนมบัวลอย: สัญลักษณ์ของความสัมพันธ์และความอบอุ่นในวัฒนธรรมไทย".