ข้ามไปเนื้อหา

สังขยา (อาหารนึ่ง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สังขยา
ข้าวเหนียวสังขยา
ชื่ออื่นSrikaya, kaya
ประเภทอาหารหวาน
ส่วนผสมหลักมะพร้าว, น้ำตาลมะพร้าว
รูปแบบอื่นสังขยาฟักทอง สังขยามะพร้าวอ่อน สังขยาเผือก
ข้อมูลอื่นคนละชนิดกับสังขยาที่กินกับขนมปัง

สังขยา หรือที่เรียกในภาษามลายูว่า เซอรีกายาหรือกายา (มลายู: kaya, seri kaya; ตากาล็อก: matamis sa bao, matamis na bao, kalamay-hati; ภาษาจีนฮกเกี้ยน: 咖吔 ka-iā) เป็นขนมนึ่งทำจากกะทิและน้ำตาล พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ

อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์

[แก้]

กายาหรือเซอรีกายา (มาจากคำว่าร่ำรวยในภาษามลายู) เป็นขนมที่ทำจาก กะทิ ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ซึ่งขยำให้เข้ากันด้วยใบเตย ปรุงรสหวานด้วยน้ำตาล มีจุดกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะใช้เครื่องปรุงที่พบมาในท้องถิ่นคือน้ำตาลมะพร้าวและใบเตย ปรุงให้สุกด้วยการนึ่ง สุกแล้วแข็ง นิยมใช้แต่งหน้าข้าวเหนียวแบบข้าวเหนียวสังขยาของไทย ในมาเลเซียใส่สีกายาเป็นสีเขียวเรียก ปูลุตเซอรีกายา หรือ เซอรีมูกา ในอินโดนีเซียทำกายาหน้าสีน้ำตาลอย่างสีไข่ เรียก เกอตันเซอรีกายา หรือนึ่งในผลฟักทอง เรียก เซอรีกายาลาบูกูนิง สังขยาอย่างหลังนี้แพร่หลายในหมู่ชาวย่าหยาที่เป็นลูกผสมระหว่างจีนกับมลายู[1]

ไทย

[แก้]
สังขยาฟักทอง

สังขยาในไทยเป็นขนมที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว หรือใส่ในฟักทอง เผือกหรือมะพร้าว แล้วนำไปนึ่ง เป็นคนละชนิดกับสังขยาที่ปรุงด้วยการกวนและมักกินกับขนมปัง

อ้างอิง

[แก้]
  1. พจน์ สัจจะ. สังขยามาจากไหน. ครัว. ปีที่ 19 ฉบับที่ 217 กรกฎาคม 2555. หน้า 91 - 95

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]