ข้าวโป่ง
หน้าตา

ข้าวโป่ง เป็นขนมพื้นบ้านภาคอีสาน นิยมในฤดูหนาวหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว การทำเริ่มจากนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไปตำด้วยครกมอง เมื่อละเอียดแล้วจะเอาใบตดหมูตดหมาหรือย่านพาโหมขยี้กับน้ำแล้วสลัดใส่ครก เพื่อให้ข้าวเหนียวจับตัวกันดี นำน้ำอ้อยโขลกแล้วตำผสมลงในครกจนเหนียวได้ที่ นำน้ำมันหมูทามือแล้วปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนผสมกับไข่แดง กดก้อนข้าวเหนียวที่ปั้นให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้ววางบนใบตองที่ทาน้ำมันหมูแล้ว ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะรับประทานจึงเอามาปิ้งให้สุก
ทางภาคเหนือมีขนมชนิดนี้เช่นกันแต่เรียก ข้าวปอง หรือ ข้าวควบ[1]
อ้างอิง
[แก้]- ยูร กมลเสรีรัตน์. ขนมอีวสาน... เมื่อวันวาร. วัฒนธรรมไทย. 36 (4): 42-43, มกราคม 2542
- ↑ "อาหารล้านนา : ข้าวควบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-20. สืบค้นเมื่อ 2010-05-01.