สถานีพญาไท
สถานีพญาไท (อังกฤษ: Phaya Thai station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีพญาไท
[แก้]พญาไท N2 Phaya Thai | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีพญาไท | |||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°45′24.99″N 100°32′1.84″E / 13.7569417°N 100.5338444°E | ||||||||||||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | พญาไท ป้ายหยุดรถไฟพญาไท | ||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | N2 | ||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | ||||||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||||||
2564 | 2,475,681 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
|
สถานีพญาไท (รหัส: N2) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพญาไทในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่สถานีพญาไทได้โดยตรง และในอนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีรถไฟพญาไท
ที่ตั้ง
[แก้]ด้านทิศใต้ของทางแยกพญาไท (จุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนศรีอยุธยา) ในพื้นที่แขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตัวสถานีอยู่คร่อมจุดตัดทางรถไฟสายตะวันออกและอยู่ใต้เส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แผนผังสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (ราชเทวี) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า พญาไท |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, สำนักงานเขตราชเทวี, กรมปศุสัตว์, จุดหยุดรถไฟพญาไท โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย, ศูนย์การศึกษาครบวงจร อาคารวรรณสรณ์ |
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 170 เมตรเพื่อให้ตัวสถานีสามารถข้ามทางรถไฟสายตะวันออกที่อยู่ด้านล่างได้ ตัวสถานีมีความสูงสองชั้นประกอบด้วยชั้นชานชาลาและชั้นขายบัตรโดยสาร ซึ่งได้มีการแบ่งพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารออกเป็นสองส่วน เพื่อเปิดทางออกที่ 5 สำหรับเชื่อมต่อกับสถานีพญาไทอีกแห่งของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเชื่อมเข้ากับทางออกที่ 1 (อาคารพญาไท พลาซ่า) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถเดินข้ามไปถนนพญาไทฝั่งขาออกเมือง (ฝั่งมุ่งหน้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) และอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารจากถนนพญาไทฝั่งขาออกเมืองสามารถเดินข้ามไปยังตัวสถานีพญาไทได้ รวมทั้งมีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง
ทางเข้า-ออก
[แก้]- 1 อาคารพญาไทพลาซ่า, อาคารเดอะ ยูนิคอร์น พญาไท (สะพานเชื่อม), จุดหยุดรถไฟพญาไทฝั่งใต้,คอนโดบ้านปทุมวัน,ร้าน HEAP (บันไดเลื่อน)
- 2 ที่ทำการไปรษณีย์ราชเทวี, กรมปศุสัตว์, จุดหยุดรถไฟพญาไทฝั่งเหนือ, ป้ายรถประจำทางไปราชเทวี
- 3 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ 3 (พญาไท), โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย, สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาคารถนนศรีอยุธยา, ป้ายรถประจำทางไปสะพานเสาวนี-นางเลิ้ง
- 4 โรงแรมฟลอริดา, อาคารวรรณสรณ์, โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ, วังสวนผักกาด (ลิฟต์)
- 5 พญาไท
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 3 หน้าธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาพญาไท
สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีพญาไท
[แก้]พญาไท A8 Phaya Thai | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขบวนซิตี้ไลน์ หมายเลข 1 ณ ชานชาลาแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°45′24″N 100°32′06″E / 13.7567329°N 100.5349124°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | เอเชีย เอรา วัน (AERA1) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | สถานีพญาไท | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | A8 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีพญาไท เป็นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แบบยกระดับในเส้นทางสายซิตี้เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยกระดับเหนือทางรถไฟสายตะวันออกที่จุดตัดถนนพญาไท กรุงเทพมหานคร ใกล้กับทางแยกพญาไท สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ได้โดยตรงที่สถานีพญาไท และในอนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน
ที่ตั้ง
[แก้]อยู่บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก ที่ป้ายหยุดรถไฟพญาไท บริเวณจุดตัดถนนพญาไทด้านทิศตะวันออก ติดกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พญาไท ห่างจากทางแยกพญาไทมาทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร ในพื้นที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สถานีข้างเคียงตามแนวเส้นทางคือสถานีราชปรารภ อยู่ห่างเพียงประมาณ 800 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นช่วงระหว่างสถานีที่สั้นที่สุดในเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สถานีพญาไทยังคงเป็นสถานีปลายทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จนกว่าจะมีการเริ่มก่อสร้างส่วนต่อขยายพญาไท-ดอนเมือง ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินขึ้น โดยรถไฟฟ้าจะลดระดับลงไปอยู่ในระดับใต้ดินแบบคลองแห้ง แล้ววิ่งเลียบถนนสวรรคโลก แล้วยกระดับกลับไปอยู่ในระดับที่ 4 ที่เป็นความสูงปัจจุบันของโครงการ เพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่ 14 ในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
แผนผังสถานี
[แก้]P ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ | |
ชานชาลา 2 | สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ | |
C ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
I |
- | ทางออก, พญาไท |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถยนต์ |
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ตัวสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นลอยซึ่งเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส, ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชาลาที่ชั้นบนสุด
ทางเข้า-ออก
[แก้]เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[1] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
E23 | เคหะฯ | ทุกวัน | 05.15 | 23.46 | ||
E15 | สำโรง | ทุกวัน | – | 00.00 | ||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
N24 | คูคต | ทุกวัน | 05.57 | 00.16 | ||
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | ทุกวัน | – | 00.29 | ||
สายซิตี้[2] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 และ 2 | ||||||
A1 | สุวรรณภูมิ | จันทร์ – ศุกร์ | 05.30 | 00.00 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.29 | 00.08 |
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]ถนนพญาไท มุ่งหน้า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถขสมก. 36 54 1-7E 1-80E รถเอกชน สาย 29 34 34E 108 529 1-63 2-34
ถนนพญาไท มุ่งหน้า แยกราชเทวี รถขสมก. สาย 36 54 63ทางด่วน รถเอกชน สาย 17 34 34E 38 108 139 140 529 1-63 3-54
ถนนพญาไท
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
36 (2-40) (3) | อู่พระราม 9 | ท่านํ้าสี่พระยา | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. | |
54 (3) | วงกลม: อู่พระราม 9 | ดินแดง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
59 (1-8) (3) | อู่รังสิต | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
62 (2) | ท่าน้ำสาธุประดิษฐ์ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน |
ถนนพญาไท | ||||
---|---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |
รถเอกชนสังกัดกรมการขนส่งทางบก | ||||
1-1 (29) | บางเขน | หัวลำโพง | เส้นทางผ่านถนนวิภาวดีรังสิต | |
1-2E (34E) | รังสิต | หัวลำโพง | ทางด่วน | |
1-3 (34) | บางเขน | หัวลำโพง | ||
3-8 (38) | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 | เดินรถฝั่งขาเข้า (กรมปศุสัตว์) เท่านั้น | |
4-19 (108) | วงกลม: เดอะมอลล์ท่าพระ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ||
3-16E (139) | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 | ทางด่วน - เดินรถฝั่งขาเข้า (กรมปศุสัตว์) เท่านั้น | |
4-23E (140) | เคหะธนบุรี/แสมดำ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ทางด่วน - เดินรถฝั่งขาเข้า (กรมปศุสัตว์) เท่านั้น | |
4-28 (529) | แสมดำ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) | ||
1-68 | ปัฐวิกรณ์ | สวนหลวงพระราม 8 | ||
3-54 | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ตลาดพลู |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- สำนักงานเขตราชเทวี
- สถานีตำรวจนครบาลพญาไท
- กรมปศุสัตว์
- กรมแพทย์ทหารบก
- ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
- สถานีวิทยุศึกษา
- สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- ที่ทำการไปรษณีย์ ราชเทวี
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 (อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 28-29)
- สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 35-36)
- วังสวนผักกาด
- ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ (ในอดีตคือ พระตำหนักลักษมีวิลาศ)
- มูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานถนนศรีอยุธยา
- ศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (กำลังก่อสร้าง)
- โรงพยาบาลพญาไท 1
- โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
- โรงเรียนพญาไท
- โรงเรียนอำนวยศิลป์
- โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน
[แก้]- อาคารสิริภิญโญ
- อาคารวรรณสรณ์
- อาคารพญาไทพลาซ่า
- อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ 3 (พญาไท) เก็บถาวร 2017-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อาคารศรีอยุธยา
- อาคารบุญวิสุทธิ์
- อาคารเลิศปัญญา
- อาคาร เค เอส แอล ทาวเวอร์
- อาคารเจ้าพระยาจิวเวอรี่
- อาคารเดอะ ยูนิคอร์น พญาไท
โรงแรม
[แก้]- โรงแรมสุคนธ์
- โรงแรมฟลอริดา
- โรงแรมเดอะ สุโกศล[3]
- โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ Airport Rail Link (2023-04-22). "เนื่องจากมีผู้โดยสารสอบถามเวลาการเดินรถเข้ามาเป็นจำนวนมาก วันนี้แอดมินขอแชร์ข้อมูลเวลาการเดินรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ซิตี้ไลน์) ขบวนแรกและขบวนสุดท้าย มาฝากกันนะครับ". เฟสบุ๊ก.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-23. สืบค้นเมื่อ 2014-02-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีพญาไท
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- Articles using Infobox station with markup inside name
- Articles using Infobox station with markup inside type
- Articles using Infobox station with images inside type
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
- สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
- สถานีขนส่งผู้โดยสารในเขตราชเทวี
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2542
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2553