สถานีศรีนครินทร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศรีนครินทร์ E20 Srinagarindra | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
![]() | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | E20 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 472,787 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีศรีนครินทร์ (อังกฤษ: Srinagarindra station; รหัส: E20) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทส่วนต่อขยายแบริ่ง–สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร[1] ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยจะยกระดับคร่อมคลองบางปิ้งบริเวณทางแยกการไฟฟ้าสมุทรปราการ ใกล้ปากซอยวัดชัยมงคล เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561[2][3]
ที่ตั้ง
[แก้]ถนนสุขุมวิท บริเวณสะพานข้ามคลองบางปิ้งและทางแยกการไฟฟ้าสมุทรปราการ ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
แผนผังของสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (แพรกษา) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (ปากน้ำ) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ซอยวัดชัยมงคล, สะพานข้ามคลองบางปิ้ง |
รูปแบบสถานี
[แก้]กว้าง 22.6 เมตร ยาว 150 เมตร มีช่วงพื้นที่รองรับรางรถไฟยาว 135 เมตร ประกอบด้วยชั้นจำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง
ทางเข้า-ออก
[แก้]- 1 ซอยสุขุมวิท ซอย 43, โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ (บันไดเลื่อน)
- 2 ซอยศิริราษฎร์ศรัทธา (วัดในสองวิหาร), โรงเรียนนพคุณวิทยา
- 3 ซอยสุขุมวิท ซอย 45 (ลิฟต์)
- 4 ซอยวัดชัยมงคล, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสมุทรปราการ, โรงพยาบาลสัตว์เทศบาลนครสมุทรปราการ (ลิฟต์)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณซอยศิริราษฎร์ศรัทธา และทางออก 4 บริเวณซอยวัดชัยมงคล
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]- ลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[4] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.26 | 00.42 |
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.20 | 23.20 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 23.35 |
E15 | สำโรง | – | 00.05 |
สัญลักษณ์ของสถานี
[แก้]เดิมกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปดาวสามแฉก สื่อถึงการเป็นจุดบรรจบที่สำคัญของถนนสายหลัก 2 สาย คือถนนศรีนครินทร์และถนนสุขุมวิท[5][6] แต่ปัจจุบันเน้นใช้สีเขียวอ่อน ตกแต่งรั้วและเสา บริเวณสถานี ชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายบอกทางและทางเข้าออกสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีด้านตะวันออก
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
23E (3-4E) ![]() |
ปากน้ำ | เทเวศร์ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
ขสมก. | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงด่านประตูน้ำ) |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- การไฟฟ้านครหลวง สมุทรปราการ
- โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ
- ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสมุทรปราการ
- โรงพยาบาลสัตว์เทศบาลนครสมุทรปราการ
- โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล สมุทรปราการ
- โรงเรียนนพคุณวิทยา
- โรงเรียนสิริศึกษา
- วัดในสองวิหาร
- วัดชัยมงคล
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสมุทรปราการ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Green Line route opens Dec 6". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
{{cite news}}
:|first=
ไม่มี|last=
(help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|first=
- ↑ "BTS Green Line's nine new stations to Samut Prakan now open to public". bk.asia-city.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-12-07. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
- ↑ "BTS skytrain extension to open Thursday, free rides through new stations for 4 months | Coconuts Bangkok". 3 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-20. สืบค้นเมื่อ 2023-07-26.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ เอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชน ครั้งที่ 2 งานออกแบบรายละเอียดโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมแกรนด์ อินคำ จ.สมุทรปราการ
- ↑ สัญลักษณ์ประจำสถานี ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ , สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562