ข้ามไปเนื้อหา

สถานีสีลม

พิกัด: 13°43′45″N 100°32′15″E / 13.7292°N 100.5375°E / 13.7292; 100.5375
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สีลม
BL26

Si Lom
ทางเข้าสถานีเชื่อมต่อจากบีทีเอสสถานีศาลาแดง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 4 เขตบางรัก และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′45″N 100°32′15″E / 13.7292°N 100.5375°E / 13.7292; 100.5375
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาต่างระดับ
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ ศาลาแดง (เชื่อมต่อนอกสถานี)
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL26
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25645,333,875
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สามย่าน
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล ลุมพินี
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ราชดำริ สายสีลม
เชื่อมต่อที่ ศาลาแดง
ช่องนนทรี
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีสีลม (อังกฤษ: Si Lom Station, รหัส BL26) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกศาลาแดง มีทำเลอยู่ใจกลางเมืองในย่านธุรกิจถนนสีลม

ที่ตั้ง

[แก้]

ใต้ผิวถนนพระรามที่ 4 บริเวณสี่แยกศาลาแดงด้านทิศตะวันออก หน้าสวนลุมพินี จุดบรรจบของถนนพระรามที่ 4, ถนนสีลม และถนนราชดำริ ในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน และแขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี

[แก้]
2
สะพานลอย
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สีลม เอดจ์, ศาลาแดง
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, สวนลุมพินี, ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-2, ห้องขายบัตรโดยสาร
เครื่องขายบัตรโดยสาร
B2
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
B4
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี

[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]
"พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" สัญลักษณ์ของสถานี

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่อยู่ด้านหน้าสวนลุมพินีและยังเป็นจุดที่ตั้งสถานีสีลม โดยใช้สีน้ำเงินเพื่อบ่งบอกถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟลอยฟ้ากับรถไฟฟ้าใต้ดิน[1]

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 30 เมตร ยาว 156 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 30 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องจากถนนพระรามที่ 4 ขาออกมีท่อส่งน้ำของการประปานครหลวง ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน

ความโดดเด่นของโครงสร้างสถานี

[แก้]
บันไดเลื่อนลงไปยังชานชาลาที่ 1 ความยาว 43 เมตร
  • เป็นสถานีที่อยู่ลึกมากที่สุดในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ถึง 30 เมตรจากระดับพื้นดิน
  • มีบันไดเลื่อนสถานีรถไฟฟ้ายาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากชั้นออกบัตรโดยสารสู่ชานชาลาชั้นล่าง ยาวถึง 43 เมตร
  • การก่อสร้างอุโมงค์สถานี จำเป็นต้องตัดเสาเข็มตอม่อสะพานลอยไทย-ญี่ปุ่น เนื่องจากเดิมตอม่อได้ฝังที่ระดับความลึก 28 เมตร แต่ส่วนบนสุดของสถานีจะอยู่ที่ระดับความลึก 30 เมตรจากพื้นดิน ซึ่งห่างกันเพียง 2 เมตร จึงได้ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างจากประเทศเยอรมนี โดยค้ำยันฐานรากสะพานระหว่างที่ตัดเสาตอม่อ (under pining) ก่อนถ่ายน้ำหนักตัวสะพานลงบนหลังคาสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ดังนั้นในปัจจุบันตัวสถานีจึงทำหน้าที่เป็นตอม่อสะพานแทน โดยระหว่างการก่อสร้างสถานีที่มีการตัดเสาเข็มออก สะพานลอยไทย-ญี่ปุ่นยังสามารถเปิดการจราจรได้ตามปกติ

ทางเข้า-ออกสถานี

[แก้]
ทางเข้า-ออกที่ 1 หน้าสวนลุมพินี
ทางเข้า-ออกที่ 2 เชื่อมต่อกับสะพานลอยไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลาแดง และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • 1 หน้าสวนลุมพินี ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลง)
  • 2 ศาลาแดง (สะพานเชื่อม), ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค, ถนนสีลม, โรงพยาบาลจุฬาฯ (สะพานเชื่อม), อาคารสีลมเอจ (สะพานเชื่อม), โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพฯ ลุมพินีพาร์ก (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลงสำหรับทางเข้า-ออก ส่วนสะพานเชื่อมมีเฉพาะบันไดเลื่อนขึ้น)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]

แบ่งเป็น 2 ชั้นเหนือพื้นดิน และ 4 ชั้นใต้ดิน ประกอบด้วย

  • 2 สะพานลอย
  • G ระดับถนน
  • B1 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • B2 ชั้นชานชาลา หมายเลข 2 มุ่งหน้าสถานีลุมพินี และสถานีปลายทางท่าพระ (ผ่านบางซื่อ)
  • B3 ชั้นห้องเครื่อง
  • B4 ชั้นชานชาลา หมายเลข 1 มุ่งหน้าสถานีสามย่าน และสถานีปลายทางหลักสอง

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:54 00:04
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:01 00:04
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:57 23:34
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 23:34
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:47

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ถนนพระราม 4

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ผู้ให้บริการ ประเภทของรถที่ให้บริการ หมายเหตุ
4 4
(กปด.14)
ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ ขสมก. รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
4 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
21E (4-7E) Handicapped/disabled access 5
(กปด.15)
วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) เดินรถฝั่งขาเข้าเท่านั้น
45 3
(กปด.13)
รถโดยสารประจำทาง อู่ปู่เจ้าสมิงพราย ท่านํ้าสี่พระยา รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
47 4
(กปด.14)
ท่าเรือคลองเตย กรมที่ดินฯ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
50 7
(กปด.27)
สะพานพระราม 7 สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
50 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
67 8
(กปด.18)
วัดเสมียนนารี เซ็นทรัลพระราม 3 รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
67 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
67 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
141 5
(กปด.25)
รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
141 Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV
รถเอกชน
3-36 (4) ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
3-39 (14) ถนนตก ศรีย่าน
3-10 (46) ม.รามคําแหง 2 สี่พระยา
74 คลองเตย ห้วยขวาง
1-45 (115) สวนสยาม บางรัก
4-26 (167) เคหะธนบุรี สวนลุมพินี
507 สําโรง สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
  • ถนนพระรามที่ 4 หน้าสวนลุมพินี สาย 4 14 45 46 47 67 74 76 115 141 507
ถนนพระรามที่ 4 (หน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
4 ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
4 ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
45 สําโรง สี่พระยา
47 ท่าเรือคลองเตย สํานักงานที่ดินกรุงเทพ
50 พระราม 7 สวนลุมพินี
67 วัดเสมียนนารี เซ็นทรัลพระราม 3
67 วัดเสมียนนารี เซ็นทรัลพระราม 3
67 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เซ็นทรัลพระราม 3
141 แสมดำ จุฬาฯ
รถเอกชน
3-36 (4) ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
3-10 (46) ม.รามคําแหง 2 สี่พระยา
4-55 (163) ศาลายา สนามกีฬาแห่งชาติ
507 สําโรง สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
3-52 วงกลม : เซ็นทรัลพระราม 3 หัวลำโพง
3-53 ARL หัวหมาก เสาชิงช้า
4-68 ถนนตก สวนผัก
  • ถนนพระรามที่ 4 หน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สาย 4 45 46 47 50 67 141 177 507
ถนนสีลม
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
15 บางลําพู BRT ราชพฤกษ์
15 บางลําพู BRT ราชพฤกษ์
76 แสมดำ ประตูน้ำ
77 เซ็นทรัลพระราม 3 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
77 เซ็นทรัลพระราม 3 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
514 มีนบุรี สีลม


  • ถนนสีลม สาย 15 76 77 115 504 514 547
  • ถนนราชดำริ สาย 14 50 74 504 514 547
  • หมายเหตุ : สาย 50 เดินรถทิศทางเดียว จากหน้า รพ.จุฬาฯ-สี่แยกศาลาแดง-สวนลุมพินี-ถนนวิทยุ-ถนนสารสิน-ถนนราชดำริ-สี่แยกศาลาแดง-ตรงข้าม รพ.จุฬาฯ

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]
แผนผังบริเวณสถานี

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

[แก้]

โรงแรม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]