สถานีศรีอุดม
หน้าตา
ศรีอุดม YL16 Si Udom | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°40′35″N 100°38′46″E / 13.67639°N 100.64611°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (อีบีเอ็ม) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | YL16 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1] | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีศรีอุดม (อังกฤษ: Si Udom station; รหัส: YL16) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีเหลือง ยกระดับเหนือถนนศรีนครินทร์ในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร[2]
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีศรีอุดมตั้งอยู่เหนือถนนศรีนครินทร์ ทางทิศใต้ของทางแยกศรีอุดมหรือทางแยกหนองบอน (จุดตัดระหว่างถนนศรีนครินทร์ ถนนอุดมสุข และถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) ในพื้นที่แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร[3]
รายละเอียด
[แก้]สีสัญลักษณ์
[แก้]ใช้สีเหลืองตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
รูปแบบ
[แก้]เป็นสถานียกระดับ มีชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง[4]
ทางเข้า–ออก
[แก้]ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่[5]
- 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9, โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ (ลิฟต์)
- 2 ซอยศรีนครินทร์ 63 (บันไดเลื่อน)
- 3 ซอยศรีนครินทร์ 58 (บันไดเลื่อน)
- 4 ถนนอุดมสุข (ลิฟต์)
แผนผัง
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสีเหลือง มุ่งหน้า สำโรง (ศรีเอี่ยม) | |
ชานชาลา 2 | สายสีเหลือง มุ่งหน้า ลาดพร้าว (สวนหลวง ร.9) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
G ระดับถนน |
– | ป้ายรถประจำทาง |
สถานที่ใกล้เคียง
[แก้]- โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]ถนนศรีนครินทร์
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
145 (3-18) (3) | อู่แพรกษาบ่อดิน | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
ขสมก. | |
206 (3-30) (3) | เมกาบางนา | อู่บางเขน | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
3-19E (145E) (3) | อู่แพรกษาบ่อดิน | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงด่านพระรามที่ 4) | |
3-21 (207) (3) | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง |
รถเอกชน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
- ↑ "3 มิ.ย.นี้ เปิดทดลองรถไฟฟ้า "สีเหลือง" 13 สถานี "สำโรง-หัวหมาก"".
- ↑ "รฟม. ขยายเส้นทางเปิดทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน นี้ เป็นต้นไป จากสถานีภาวนา ถึง สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น." www.mrta.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง". MRTA Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16.
- ↑ "อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.