สถานีวุฒากาศ
วุฒากาศ S11 Wutthakat | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชานชาลาสถานีฯ | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนราชพฤกษ์ เขตธนบุรีและเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°42′44″N 100°28′16″E / 13.7123°N 100.4710°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง วุฒากาศ | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | S11 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556[1] | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 1,209,856 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
|
สถานีวุฒากาศ (อังกฤษ: Wutthakat station; รหัส: S11) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลมส่วนต่อขยายแยกตากสิน–บางหว้า โดยสถานียกระดับเหนือถนนราชพฤกษ์บริเวณคลองด่าน ในพื้นที่เขตธนบุรีและเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร และจะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มในอนาคต
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีวุฒากาศตั้งอยู่เหนือถนนราชพฤกษ์ โดยสร้างคร่อมคลองด่านซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของทางแยกราชพฤกษ์–วุฒากาศ ในพื้นที่แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี และแขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
ก่อนหน้านี้ มีการคาดหมายให้บริเวณสถานีวุฒากาศเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีตากสินของโครงการศูนย์คมนาคมขนส่งตากสิน ซึ่งจะเป็นศูนย์คมนาคมแบบครบวงจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครด้านใต้ มีทั้งระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟทางไกล และสถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ จึงต้องปรับปรุงแก้ไขแนวเส้นทางหลายครั้งเพื่อให้รถไฟฟ้าเชื่อมต่อกันภายในโครงการโดยตรง (บริเวณด้านทิศตะวันออกของทางแยกราชพฤกษ์–วุฒากาศ) แต่ภายหลังรัฐบาลได้ล้มเลิกโครงการนี้ไป เนื่องจากประชาชนในพื้นที่คัดค้านอย่างหนักเพราะเป็นชุมชนหนาแน่นและต้องเวนคืนบ้านเรือนไปเป็นจำนวนมาก ในที่สุด โครงการการก่อสร้างสถานีวุฒากาศแห่งนี้จึงกลับมาใช้แนวถนนราชพฤกษ์และเป็นจุดเชื่อมต่อสถานีของเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่อยู่ห่างออกไปเล็กน้อยเช่นเดิม
แผนผังสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 3 | สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (สถานีปลายทาง) | |
ชานชาลา 4 | สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (ตลาดพลู) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนราชพฤกษ์ |
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนของหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด
ทางเข้า-ออก
[แก้]- 1&2 ถนนราชพฤกษ์ (บันไดเลื่อนและลิฟต์)
- 3 วัดใหม่ยายนุ้ย
- 4 ซอยวุฒากาศ 27 (ลิฟต์)
- 5 คลองด่าน
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 ทางออก 2 และทางออก 4 ใกล้กับถนนวุฒากาศ
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | ขบวนรถ | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสีลม[2] | ||||||
ชานชาลาที่ 3 | ||||||
S12 | บางหว้า | เต็มระยะ | 05.54 | 00.37 | ||
ชานชาลาที่ 4 | ||||||
W1 | สนามกีฬาแห่งชาติ | เต็มระยะ | 05.32 | 23.52 | ||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท | – | 23.37 | ||||
S7 | กรุงธนบุรี | รถเสริมบางหว้า–กรุงธนบุรี | – | 0.02 |
ที่หยุดรถไฟวุฒากาศ
[แก้]ที่หยุดรถไฟวุฒากาศ ที่หยุดรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย สายแม่กลอง ตั้งอยู่ที่ถนนวุฒากาศ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เปิดใช้งานเมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563[3]
สถานีก่อนหน้า | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
คลองต้นไทร มุ่งหน้า มหาชัย
|
สายแม่กลอง สายวงเวียนใหญ่–มหาชัย
|
ตลาดพลู มุ่งหน้า วงเวียนใหญ่
|
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สีส้มแดง : เขตการเดินรถที่ 4
สีชมพู : เขตการเดินรถที่ 5
รถเอกชน
สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)
ถนนวุฒากาศ
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
111 (2) | วงกลม: เจริญนคร | ตลาดพลู | ขสมก. | 1.รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีครีม-แดง |
ถนนวุฒากาศ รถขสมก. สาย 111 รถเอกชน สาย 43
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
[แก้]- รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มของการรถไฟแห่งประเทศไทย ช่วงหัวลำโพง–มหาชัย เชื่อมต่อที่สถานีตากสินในอนาคต
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- สวนงูธนบุรี
- วัดใหม่ยายนุ้ย
- วัดนางชีโชติการาม
- วัดนาคปรก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ขึ้นบีทีเอสไปบางหว้าฟรีถึง 16 ม.ค. 57 [Free extension cost for riding in Silom Line Extension until 16 January 2014]. 20 August 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2014.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ "การรถไฟฯ เปิดใช้ 2 ที่หยุดรถ "วุฒากาศ" เชื่อมบีทีเอส และ "นิคมรถไฟมหาชัย" 23 ต.ค.นี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-31. สืบค้นเมื่อ 2023-07-26.