ข้ามไปเนื้อหา

รถไฟฟ้าสายสีฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้ามหานคร สายสีฟ้า
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังศึกษาเส้นทาง
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี9
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้าโมโนเรล
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2582[ต้องการอ้างอิง]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง9.5 กิโลเมตร (est.)
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม[ต้องการอ้างอิง]
ความเร็ว80 กิโลเมตร/ชั่วโมง[ต้องการอ้างอิง]

รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2553-2572 โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ที่เชื่อมต่อจุดสำคัญใจกลางเมือง มีจุดมุ่งหมายเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ย่านดินแดง ซึ่งมีโครงการพัฒนาเคหะชุมชนดินแดง โครงการพัฒนาย่านมักกะสัน และการเปิดใช้ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ระยะที่ 2-4 รวมทั้งเพื่อเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจบนถนนสาทร โดยมีแนวเส้นทางจากเคหะชุมชนดินแดง เข้าสู่ศูนย์คมนาคมมักกะสัน (สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง) ไปยังถนนวิทยุ และถนนสาทร รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 319,000 รายต่อวันในปี พ.ศ. 2572

ปัจจุบันโครงการได้ถูกนำมาบรรจุลงไปใหม่ ในแผนแม่บทระยะที่ 2 (M-MAP 2) ที่ประกาศโดยกรมการขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2582[ต้องการอ้างอิง] แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2567 กรุงเทพมหานครได้ถ่ายโอนโครงการให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการแทน เนื่องจากเล็งเห็นว่าการรวมโครงการไว้ที่เจ้าของเดียวจะทำให้สามารถควบคุมค่าโดยสารไม่ให้สูงเกินความจำเป็นได้ โดยภายหลังการรับโอน รฟม. จะนำโครงการกลับมาศึกษาใหม่เพื่อหาความเหมาะสมในการก่อสร้างโครงการต่อไป

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน

[แก้]

เขตดินแดง, ราชเทวี, ปทุมวัน, บางรัก และสาทร กรุงเทพมหานคร

แนวเส้นทาง

[แก้]

เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีประชาสงเคราะห์ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม บริเวณที่ตั้งของศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ลงมาทางทิศใต้ตามแนวถนนประชาสงเคราะห์ ผ่านเคหะชุมชนดินแดง แยกประชาสงเคราะห์ จุดตัดถนนดินแดง ยกระดับข้ามทางพิเศษศรีรัชบริเวณบึงมักกะสัน เข้าสู่พื้นที่ของศูนย์คมนาคมมักกะสัน โดยวิ่งไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางที่เตรียมไว้สำหรับระบบรางเดี่ยวภายในศูนย์ฯ ผ่านสถานีมักกะสัน แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนอโศก-ดินแดง เลี้ยวขวาอีกครั้งที่แยกอโศก-เพชรบุรี เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี ผ่านแยกมิตรสัมพันธ์ จุดตัดถนนนิคมมักกะสัน และซอยนานาเหนือ ยกระดับข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลงทางด่วนเพชรบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายที่แยกวิทยุ-เพชรบุรีเข้าสู่แนวถนนวิทยุลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกเพลินจิต สถานทูตอเมริกา แยกสารสิน สวนลุมพินี ยกข้ามสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม ถนนพระรามที่ 4 ที่แยกวิทยุ เข้าสู่ถนนสาทร ผ่านแยกถนนสวนพลู ไปสิ้นสุดที่แยกสาทร-นราธิวาส จุดตัดถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร

สถานี

[แก้]

มี 9 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

ชื่อและรหัสของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง เปิดให้บริการ
ประชาสงเคราะห์ LB01 สายสีส้ม ประชาสงเคราะห์
มิตรไมตรี LB02
ดินแดง LB03
มักกะสัน LB04 สายสีน้ำเงิน เพชรบุรี
สายซิตี้ มักกะสัน
สายสีแดงอ่อน มักกะสัน (โครงการ)
เพชรบุรี LB05
เพลินจิต LB06 สายสุขุมวิท สถานีเพลินจิต
ลุมพินี LB07 สายสีน้ำเงิน ลุมพินี
สวนพลู LB08 สายสีเทา สวนพลู
ช่องนนทรี LB09 สายสีลม ช่องนนทรี
 บีอาร์ที  สถานีสาทร
สายสีเทา ช่องนนทรี

การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่น

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]