ข้ามไปเนื้อหา

เขตราชเทวี

พิกัด: 13°45′32″N 100°32′02″E / 13.759°N 100.534°E / 13.759; 100.534
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตราชเทวี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Ratchathewi
อาคารใบหยก 2 และพื้นที่โดยรอบในยามค่ำคืน
อาคารใบหยก 2 และพื้นที่โดยรอบในยามค่ำคืน
คำขวัญ: 
นามราชเทวีศรีสง่า ล้ำคุณค่าวังพญาไท
อนุสาวรีย์ชัยฯ ทหารหาญ ศิลปะโบราณ
วังสวนผักกาด เด่นผงาดใบหยกตึกระฟ้า
งามจับตาผ้าไหมที่บ้านครัว
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตราชเทวี
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตราชเทวี
พิกัด: 13°45′32″N 100°32′04″E / 13.75889°N 100.53444°E / 13.75889; 100.53444
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด7.126 ตร.กม. (2.751 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด64,468[1] คน
 • ความหนาแน่น9,046.87 คน/ตร.กม. (23,431.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10400
รหัสภูมิศาสตร์1037
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 10 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/ratchathewi/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ราชเทวี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เขตราชเทวีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต

[แก้]
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

ชื่อเขตตั้งตามทางแยกราชเทวีซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยมาจากชื่อสะพานพระราชเทวีซึ่งข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี ส่วนชื่อสะพาน "พระราชเทวี" ตั้งตามพระนามของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระยศในขณะนั้น; พระยศต่อมาคือ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน และไปขึ้นกับอำเภอดุสิต และต่อมาใน พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท

เมื่อ พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอพญาไทยกฐานะขึ้นเป็นเขตพญาไท ตำบล 4 ตำบลดังกล่าวจึงมีฐานะเป็นแขวง

ต่อมาในท้องที่เขตพญาไทมีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่นขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง การบริหารราชการ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศให้แบ่งพื้นที่แขวง 4 แขวงดังกล่าวซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพญาไทจัดตั้งเป็น เขตราชเทวี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งเขตดินแดงขึ้น โดยนำพื้นที่บางส่วนของแขวงมักกะสันไปรวมด้วย

ในอดีตย่านราชเทวี มีวังหลายวัง อาทิ บ้านราชเทวี บ้านพระยาเรือนอุดม วังลักษมีวิลาศ

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 89 ราย

ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสั่งปิดล้อมพื้นที่โดยรอบแยกราชประสงค์ ถนนราชปรารภก็กลายเป็นสมรภูมิ ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 19 พฤษภาคม 2553 มีประชาชนถูกยิงเสียชีวิตรวม 23 คนตั้งแต่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาจนถึงสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ราชปรารภ ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายคนที่มีพยานหลักฐานและคำสั่งศาลยืนยันว่าเป็นฝีมือของทหารที่ประจำการในบริเวณนั้น[2] และในวันที่ 19 พฤษภาคมซึ่งมีการสลายการชุมนุมก็มีการเผาทำลายอาคารบริเวณย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเสียหาย

19 มกราคม พ.ศ. 2557 ช่วงบ่าย เกิดการโจมตีด้วยระเบิด ณ จุดชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 คน ถาวร เสนเนียม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอยู่ที่จุดชุมนุมเชื่อว่าเขาเป็นเป้าระเบิด ชายไม่ทราบรูปพรรณขว้างวัตถุระเบิดใกล้เต็นท์ศูนย์สื่อหลังเวทีชุมนุมแล้วหลบหนีเมื่อเวลา 13.30 น.[3] รักษาความปลอดภัยที่จุดชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยบนถนนราชดำเนินนอกถูกนำส่งโรงพยาบาลจากกระสุนปืนจากมือปืนไม่ทราบตัวในเย็นวันเดียวกัน[4] มีผู้เสียชีวิตในวันดังกล่าว ได้แก่นายอานนท์ ไทยดี ซึ่งถูกระเบิดที่บริเวณจุดเกิดเหตุ[5]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ทุ่งพญาไท Thung Phaya Thai
2.559
25,071
9,797.19
แผนที่
2.
ถนนพญาไท Thanon Phaya Thai
1.136
9,798
8,625.00
3.
ถนนเพชรบุรี Thanon Phetchaburi
1.148
13,762
11,987.81
4.
มักกะสัน Makkasan
2.283
15,837
6,936.93
ทั้งหมด
7.126
64,468
9,046.87

ประชากร

[แก้]

การคมนาคม

[แก้]
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สถานีพญาไท

ถนนสายสำคัญของเขตราชเทวี ได้แก่

ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์​ชัย​สมรภูมิ​จนถึงสะพานข้ามคลอง​สามเสน

ถนนสายรองลงไป เช่น ถนนนิคมมักกะสัน ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนโยธี ถนนรางน้ำ ถนนกำแพงเพชร 5 เป็นต้น

นอกจากนี้ ในพื้นที่เขตยังมีทางรถไฟสายเหนือและทางรถไฟสายตะวันออกตัดผ่าน รวมทั้งมีเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟใต้ดิน และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานด้วย

ในส่วนรถไฟ ในพื้นที่เขตมีสถานีรถไฟมักกะสันซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ใกล้กับโรงงานรถไฟมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในส่วนรถไฟฟ้าลอยฟ้าและใต้ดิน มีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีราชเทวี สถานีพญาไท และสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้แก่ สถานีเพชรบุรี และมีสถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3 สถานี ได้แก่ สถานีมักกะสัน สถานีพญาไท และสถานีราชปรารภ โดยในอนาคตจะมีสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพิ่มเติมอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีรางน้ำ ราชปรารภ ประตูน้ำ และราชเทวี

ส่วนการสัญจรทางน้ำ ในพื้นที่เขตมีคลองแสนแสบเป็นคลองเขตแดนทางทิศใต้ของเขต ในอดีตท่าเรือที่บริเวณประตูน้ำเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าทางน้ำที่มาทางเรือตามคลองแสนแสบที่เคยคึกคักมาก ในปัจจุบันการสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือโดยสารคลองแสนแสบ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอันเป็นจุดชุมทางสำคัญที่มีรถประจำทางผ่านหลายสายและยังเป็นจุดผ่านของรถไฟฟ้าบีทีเอสก็ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตราชเทวี นอกจากนั้นในบริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยังมีท่ารถตู้จากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ด้วย

สถานที่สำคัญ

[แก้]
พระราชวังพญาไท

เขตราชเทวีเป็นที่ตั้งของย่านที่ทำการรัฐบาล ย่านธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และย่านสถานศึกษาที่สำคัญ นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์กลางคมนาคม มีประชากรอาศัยในเขตนี้ค่อนข้างหนาแน่นและยังมีชุมชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพิเศษเฉพาะด้วย

สถานที่สำคัญที่กล่าวถึงในคำขวัญของเขตคือ

  • พระราชวังพญาไท ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เขตพญาไท หรืออำเภอพญาไทเดิม ก่อนหน้าที่จะมีการปรับปรุงอาณาเขตของเขตพญาไทใหม่ จนทำให้พื้นที่พระราชวังพญาไทกลายมาเป็นอยู่ในเขตราชเทวี และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่พลเรือนที่มีส่วนร่วมต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศในยามสงคราม ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่เคยเป็นสี่แยกระหว่างถนนราชวิถีกับถนนพหลโยธิน ซึ่งในอดีตเรียกว่า สี่แยกสนามเป้า
  • วังสวนผักกาด บนถนนศรีอยุธยา
  • อาคารใบหยก 1 อาคารใบหยก 2 ซึ่งเคยเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทั้งสองอาคารอยู่ในบริเวณย่านประตูน้ำ
  • ชุมชนชาวไทยมุสลิมเชื้อสายจามที่บ้านครัว ซึ่งอพยพเข้ามาจากกัมพูชาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และมีอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เคยเลืองลือในอดีตคือ การทอผ้าไหม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นาย จิม ทอมป์สัน นักธุรกิจชาวอเมริกันได้ฟื้นฟูการทอผ้าไหมไทยที่ขณะนั้นกำลังซบเซา และนำผ้าไหมไทยออกไปเผยแพร่ในระดับโลกจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย โดยได้ร่วมมือกับช่างทอผ้าไหมในชุมชนบ้านครัวนี้

สถาบันทางการศึกษา

[แก้]
อาคารวรรณสรณ์

สถานที่ราชการ หน่วยงานในกำกับของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ

[แก้]

สถานพยาบาล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
  2. รวมรายชื่อผู้เสียชีวิตเมษา-พฤษภา 53 และความคืบหน้าทางคดี ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563.
  3. "Another daylight blast wounds 28 ralliers". Bangkok Post. 20 January 2014. สืบค้นเมื่อ 20 January 2014.
  4. "NSPRT guard shot at Makkawan". Bangkok Post. 19 January 2014. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  5. ชีวิตที่หล่นหาย จากเสียงนกหวีดถึงวันรัฐประหาร
  6. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. สืบค้น 11 มีนาคม 2560.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′32″N 100°32′02″E / 13.759°N 100.534°E / 13.759; 100.534