สถานีเคหะฯ
เคหะฯ E23 Kheha | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชานชาลาสถานีฯ | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | E23 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | ||||||||||
ชื่อเดิม | การเคหะแห่งชาติ เคหะสมุทรปราการ | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 1,115,896 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีเคหะฯ (อังกฤษ: Kheha station; รหัส: E23) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทส่วนต่อขยายแบริ่ง–สมุทรปราการ[1] ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิทบริเวณปากซอยเทศบาลบางปู 50 ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานีปลายทางของโครงการฯ ส่วนต่อขยายแบริ่ง–สมุทรปราการซึ่งมีศูนย์ซ่อมบำรุงไปทางทิศตะวันออก เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561[2] จากสถานีเคหะฯ เพียง 2 กิโลเมตรก็เข้าสู่ตำบลบางปู[3]
ที่ตั้ง
[แก้]ถนนสุขุมวิท บริเวณปากซอยเทศบาลบางปู 50 ในพื้นที่ตำบลท้ายบ้านใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
สถานีเคหะฯ ยังคงเป็นสถานีปลายทางในส่วนตะวันออกของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ไปจนกว่าจะมีความชัดเจนในการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทระยะที่ 3 ตั้งแต่สถานีเคหะฯ ไปจนถึงสถานีบางปู จากกรุงเทพมหานคร และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ทั้งนี้ช่วงดังกล่าว ซึ่งถือเป็นช่วงสุดท้ายของโครงการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติฯ สาย 1 ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง
ชื่อสถานี
[แก้]เดิมทีสถานีแห่งนี้ใช้ชื่อในแผนงานและในระหว่างการก่อสร้างว่า สถานีเคหะสมุทรปราการ ก่อนที่ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จะมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขชื่อสถานีในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้างเป็น สถานีเคหะฯ เพื่อให้ชื่อสถานีมีความเหมาะสม[4][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] ทั้งนี้กรุงเทพมหานครเคยกำหนดชื่อสถานีในช่วงก่อนเปิดให้บริการสถานีสำโรงว่า สถานีการเคหะแห่งชาติ แต่เนื่องจากชื่อการเคหะแห่งชาติมีได้หลายความหมาย ประกอบกับที่ทำการใหญ่ของการเคหะแห่งชาติ อยู่บริเวณถนนนวมินทร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับผู้โดยสารที่มาใช้บริการได้ กรุงเทพมหานครจึงยึดชื่อ สถานีเคหะฯ เป็นชื่อสถานีแห่งนี้ตามมติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเดิม[5]
แผนผังของสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท สถานีปลายทาง | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (สายลวด) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ซอยเทศบาลบางปู 50, ลานจอดแล้วจร (Park & Ride) |
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีคูคตถึงแล้วจะต้องลงจากขบวนทั้งหมดที่ชานชาลา 1 จากนั้นขบวนรถจะกลับทิศบริเวณสุดราง เพื่อมุ่งหน้ามารับผู้โดยสารที่ชานชาลา 2 ฝั่งตรงข้าม
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน ชั้นชานชาลากว้าง 17.75 เมตร ยาว 150 เมตร ชั้นจำหน่ายตั๋วกว้าง 19.55 เมตร ยาว 120 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง
บันไดเลื่อนสถานีเคหะฝั่งสถานีปลายทางจะถูกตั้งไว้ที่ ลง หมายความว่าผู้โดยสารสามารถลงบันไดเลื่อนจากสถานีเคหะ
ทางเข้า-ออก
[แก้]- 1 ซอยเทศบาลบางปู 45
- 2 ลานจอดแล้วจร (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
- 3 ซอยเทศบาลบางปู 47 (บันไดเลื่อน)
- 4 ซอยเทศบาลบางปู 50, โรงเรียนปราณีเนาวบุตร (บันไดเลื่อน)
- 5 ซอยเทศบาลบางปู 45 (ลิฟต์)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณซอยเทศบาลบางปู 48 และทางออก 4 บริเวณโรงเรียนปราณีเนาวบุตร
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]- ลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ
- ลานจอดแล้วจร จอดรถได้ประมาณ 1,200 คัน
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[6] | |||
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.15 | 23.15 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 23.30 |
E15 | สำโรง | – | 00.00 |
สัญลักษณ์ของสถานี
[แก้]เดิมกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเคหะสมุทรปราการ สื่อถึงย่านที่พักอาศัยหลักของเมือง[7] แต่ปัจจุบันเน้นใช้สีเขียวอ่อน ตกแต่งรั้วและเสา บริเวณสถานี ชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายบอกทางและทางเข้าออกสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีด้านตะวันออก
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- ตลาดกม.30
- โรงเรียนบ้านคลองหลวง
- ไปรษณียบางปู
- โรงเรียนปราณีเนาวบุตร
- สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.สมุทรปราการ
- ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ
- เมืองโบราณ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอสสมุทรปราการ
- บริษัท ซีเมนส์ จำกัด สำนักงานย่อยสมุทรปราการ
- สถานตากอากาศบางปู
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]- สองแถว
- สองแถวเล็กสาย 1140 ปากน้ำ-เด่นชัย (ป้ายเหลือง อักษรฟ้า)
- สองแถวเล็กสาย 1140 ปากน้ำ-โลตัส-บางปู (ป้ายขาว อักษรแดง)
- สองแถวเล็ก สาย 1140 ปากน้ำ-วัดศรีจันทร์ (ป้ายเหลือง อักษรน้ำเงิน / ป้ายเงิน อักษรขาว)
- สองแถวเล็ก สาย 1140 ปากน้ำ-ตลาดสด-นิคมบางปู (ป้ายเขียว อักษรขาว มีสัญลักษณ์รวงข้าว)
- สองแถวเล็ก สาย 1140 ปากน้ำ-ดาเจี่ย-คลองด่าน (ป้ายเขียวเหลือง อักษรขาวแดง)
- สองแถวใหญ่ สาย 1140 ปากน้ำ-ตำหรุ[8]
- รถตู้
- รถตู้ สำโรง-คลองด่าน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wancharoen, Supoj (2018-11-28). "Green Line route opens Dec 6". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2019-01-31.
- ↑ Sriyananda Selley, Dhipkawee (2018-12-07). "BTS Green Line's nine new stations to Samut Prakan now open to public". BK. สืบค้นเมื่อ 2019-01-31.
- ↑ "BTS skytrain extension to open Thursday, free rides through new stations for 4 months". Coconuts Bangkok. 2018-12-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-20. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
- ↑ "สถานีของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ เปลี่ยนชื่อสามสถานี". สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ" (PDF).
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ สัญลักษณ์ประจำสถานี ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ , สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562
- ↑ "รถหมวด 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- Articles using Infobox station with markup inside name
- Articles using Infobox station with markup inside type
- บทความที่ไม่ผ่านการพิสูจน์ยืนยันตั้งแต่January 2025
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2561
- สถานีรถไฟฟ้าในอำเภอเมืองสมุทรปราการ
- บทความเกี่ยวกับ การคมนาคมขนส่ง ที่ยังไม่สมบูรณ์