สถานีแบริ่ง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
แบริ่ง E14 Bearing | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนสุขุมวิท เขตบางนา กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°39′33.61″N 100°36′3.78″E / 13.6593361°N 100.6010500°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | E14 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | ||||||||||
ชื่อเดิม | สุขุมวิท 107 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 2,662,421 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีแบริ่ง (อังกฤษ: Bearing station; รหัส: E14) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทส่วนต่อขยายอ่อนนุช–แบริ่ง[1] ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิทบริเวณก่อนถึงทางแยกแบริ่งซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร ก่อนเข้าสู่พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายต่อไปจนถึงย่านบางปู
ที่ตั้ง
[แก้]ถนนสุขุมวิท ระหว่างปากทางถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) กับซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ในพื้นที่แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
ระหว่างการก่อสร้าง สถานีแบริ่งใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่าสถานีสุขุมวิท 107 แต่ตัวสถานีจริง ๆ ตั้งอยู่หน้าปากทางถนนลาซาล[2]
โดยหลังจากเปิดให้ใช้บริการส่วนต่อขยายฟรีใน พ.ศ. 2554 สถานีแบริ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง (อันดับสองคือสถานีอุดมสุข และอันดับสามคือสถานีบางจาก) เนื่องจากเป็นเขตที่สิ้นสุดกับเขตจังหวัดสมุทรปราการ จึงทำให้ผู้ที่พำนักอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการมาใช้งานมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น
ในช่วง พ.ศ. 2554–2560 สถานีแบริ่งเคยทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพแทนสถานีอ่อนนุช แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางอีกต่อไป เนื่องจากกรุงเทพมหานครและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดใช้งานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561[3]
ภายหลังที่โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เปิดให้บริการใน พ.ศ. 2566 อาจทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อของสถานีที่มีความใกล้เคียงกันระหว่างสถานีแบริ่งของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท กับสถานีศรีแบริ่งของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ที่ตั้งอยู่คนละด้านของซอยแบริ่ง (สถานีตั้งอยู่บริเวณใกล้กับต้นซอยแบริ่งและด้านท้ายซอยแบริ่ง) ซึ่งทั้งสองสถานีนั้นมีระยะห่างกันมากกว่า 4.5 กิโลเมตร
แผนผังของสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (สำโรง) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (บางนา) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนลาซาล, ซอยสุขุมวิท 107 |
เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีสำโรงและสถานีเคหะฯ ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีเคหะฯ แต่มากับขบวนรถที่มุ่งหน้าไปสถานีสำโรง จะต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีนี้ หรือเปลี่ยนชานชาลาที่สถานีสำโรง
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด
สัญลักษณ์ของสถานี
[แก้]ใช้สีเขียวตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายทางเข้าและบริเวณทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านตะวันออก
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]ลิฟต์สำหรับผู้พิการไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา จากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่ง
ทางเข้า-ออก
[แก้]- 1 ถนนลาซาล, เซ็นเตอร์พ้อยท์ สตูดิโอ ไทยแลนด์ (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
- 2 ซอยสุขุมวิท 70/4 (ลิฟต์)
- 3 ซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง), โรงเรียนนานาชาติ เซ็นต์แอนดรูวส์ สุขุมวิท 107
- 4 ซอยสุขุมวิท 70/5, ปั๊มน้ำมันเอสโซ่, เบ็นซ์ บีเคเค กรุ๊ป, บีเคเค แกรนด์ เอสเตท, สยามนิสสันบีเคเค (บันไดเลื่อน)
- 5 เอพีที แบริ่ง มอลล์
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้าปากซอยสุขุมวิท 70/4 และทางออก 4 หน้าเบ็นซ์ บีเคเค กรุ๊ป
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[4] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.55 | 00.27 |
E15 | สำโรง | – | 00.40 |
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.17 | 23.35 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 23.48 |
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
23E (3-4E) (1) | ปากน้ำ (ตลาดปากน้ำ) | เทเวศร์ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
ขสมก. | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงด่านเพชรบุรี) |
23 (3-5) (1) | ปู่เจ้าสมิงพราย | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
|||
25E (3-7E) (3) | อู่แพรกษาบ่อดิน | ท่าช้าง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงด่านสะพานเหลือง) | |
45 (3-9E) (1) | หนามแดง | ท่านํ้าสี่พระยา | รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงด่านพระรามที่ 4) | |
102 (3-12E) (2) | ปากน้ำ (อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ) | อู่สาธุประดิษฐ์ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
1.ขาไป วนเข้าถนนแพรกษาตามสัมปทาน 2.รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านท่าเรือ) | |
129 (1-14E) (1) | สำโรง | อู่บางเขน | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านดินแดง) | |
142 (3-17E) (2) | ปากน้ำ (อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ) | อู่แสมดำ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านสุขสวัสดิ์) | |
511 (2) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) | รถทางล่าง ใช้ป้ายหน้ารถสีนํ้าเงิน รถบริการทางด่วน ใช้ป้ายหน้ารถสีเหลือง มีรถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขุมวิท 62 ลงทางด่วนด่านประตูน้ำ) มีให้บริการตั้งแต่ 04.00 น. - 21.00 น. | |||
536 (3-24E) (2) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านประตูน้ำ) |
รถเอกชน
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
2 (3-1) | ปากน้ำ | สะพานพระพุทธยอดฟ้า | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.ไทยสมายล์บัส | มีรถให้บริการตลอดคืน |
2E (3-2E) | ท่านํ้าปู่เจ้าสมิงพราย | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขุมวิท 62 ลงทางด่วนด่านประตูน้ำ) | |||
25 (3-6) | โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) | บจก.สาย 25 ร่วมใจ (เครือไทยสมายล์บัส) |
||
507 (3-13) | อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) | บจก.สมาร์ทบัส (เครือไทยสมายล์บัส) |
||
513 (3-23E) | ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ | บจก.ไทยสมายล์บัส | |||
552 (3-25E) | ปากน้ำ | นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา กม.6 ลงทางด่วนด่านบางแก้ว) | ||
552X (3-25EX) | โรงเรียนนายเรือ | เมกาบางนา | เส้นทางเสริม ไม่ขึ้นทางด่วน | ||
3-27 | ท่านํ้าปู่เจ้าสมิงพราย | สวนสยาม | |||
3-32 | อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) |
รถหมวด 3-4
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
365 | ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ | บางปะกง | รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว | บจก.สันติมิตรขนส่ง | |
365 (เสริม) | สําโรง | ตลาดบางโฉลง | รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว | บจก.สันติมิตรขนส่ง | |
1141 | ปากน้ำ | ตลาดนัมเบอร์วัน | รถโดยสารสองแถวขนาดเล็กสีขาว | บจก.เทียนทองขนส่ง | |
1145 | บางนา | หนามแดง | รถโดยสารสองแถวขนาดเล็กสีส้ม | บจก.สมุทรเจ้าพระยาขนส่ง | |
บางนา | พรสว่าง |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
- โรงเรียนบางกอกพัฒนา
- โรงเรียนนานาชาติ เซนต์ แอนดรูวส์ สุขุมวิท 107
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา
- โรงเรียนลาซาล บางนา
- ซัมเมอร์ ลาซาล
- ซันนี่ แอท ซัมเมอร์ ลาซาล
- ดาดฟ้า ลาซาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Bangkok Mass Rapid Transit-Green Line Extension". Railway Technology. สืบค้นเมื่อ 10 April 2017.
- ↑ PCL, Post Publishing. "St. Andrews International School, Sukhumvit 107". bangkokpost.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-02.
- ↑ "Free BTS Bearing-Samrong rides until 2018". bangkokpost.com. Post Publishing. สืบค้นเมื่อ 11 April 2017.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.