กรมการสารวัตรทหารบก
กรมการสารวัตรทหารบก | |
---|---|
![]() กรมการสารวัตรทหารบก | |
ประเทศ | ![]() |
บทบาท | จับกุมผู้กระทำผิด[1] การจราจรในกิจการทหาร[1] รักษาความปลอดภัย[1] สืบสวนสอบสวนคดีอาญาในอำนาจศาลทหาร[1] อำนวยการยามสงคราม[1] • ทหารพลัดหน่วย[1] • เชลยศึก[1] • ชนชาติศัตรู[1] • ผู้ลี้ภัย[1] ยุทธวิธีทหารราบ[1] ปฏิบัติการสนธิกำลัง[2] |
กองบัญชาการ | ซอยโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร[3] |
สมญา | ทหารแขนแดง (พ.ศ. 2476)[4] |
สีหน่วย | น้ำเงิน[5] |
สัญลักษณ์นำโชค | ท้าวกุเวร[5] |
วันสถาปนา | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495[5] |
ปฏิบัติการสำคัญ | อันแทค[5] วิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก[5] เหตุการณ์ชิงตัวประกันในเทอร์มินอล 21 โคราช[6][7] |
ผู้บังคับบัญชา | |
เจ้ากรมการสารวัตรทหารบก | พลตรี[8] สันติพงษ์ มั่นคงดี[9] |
ผบ. สำคัญ | พลตรี วัชชรินทร์ สุวรรณรินทร์[10] |
กรมการสารวัตรทหารบก (อักษรย่อ: สห.ทบ.;[11] อังกฤษ: The Provost Marshal General Department) เป็นส่วนราชการกองทัพบกไทย ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัย โดยมีเจ้ากรมการสารวัตรทหารบกคนปัจจุบันคือ พลตรี[12]สันติพงษ์ มั่นคงดี[13]
ประวัติ
[แก้]
ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ซึ่งสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารแผนปัจจุบันจากทวีปยุโรป และเสด็จกลับมารับราชการที่กระทรวงกลาโหม โดยได้ปรับปรุงกิจการทหารตามแบบต่างประเทศ และปรับเปลี่ยนการบอกคำสั่งจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย กระทั่งมีการแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งสารวัตรใหญ่เป็นผู้ควบคุมเพื่อดูแลระเบียบวินัยของทหารเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2450 ทางกองทัพบกไทยจึงอนุมัติให้วันที่ 27 มีนาคม เป็นวันทหารสารวัตร เพื่อเป็นกำลังใจแก่ข้าราชการเหล่าทหารสารวัตร[4]
นับจากนั้น ได้มีการปรับปรุงกิจการมาโดยตลอดจนถึง พ.ศ. 2476 ที่จัดให้ทุกมณฑลทหารบกมีสารวัตรทหาร โดยประดับปลอกแขนสีแดงที่ด้านขวา กระทั่งได้รับสมญาในฐานะพวกทหารแขนแดง[4]
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2484 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยสารวัตรผสม ทั้งทหารบก, ทหารเรือ, ทหารอากาศ และตำรวจ เพื่อระงับเหตุการณ์ทั่วไปในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี[4]
ในภายหลัง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยจัดตั้งกรมการสารวัตรทหารบกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ด้วยเหตุนี้ ทางทหารสารวัตรจึงถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนากรมการสารวัตรทหารบกสืบมา[5]
การสังคม
[แก้]เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 กรมการสารวัตรทหารบก ได้รับการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาแก่ทายาท จากกลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ จำนวนสองแสนบาท เนื่องในวันสถาปนากรม[14][15][16][17][18]
ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 กรมการสารวัตรทหารบก ได้ร่วมกับกรมข่าวทหารบก และสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งฟุตบอลอาวุโส ครั้งที่ 1 ชิงถ้วยพลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท อดีตผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งมี 16 ทีมเข้าร่วมการแข่ง[19]
กิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ทางสมาคมสารวัตรทหารบก กรมการสารวัตรทหารบก ได้จัดกิจกรรมการบริจาคโลหิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีเจ้ากรมสารวัตรทหารบก และกำลังพลร่วมบริจาคทั้งสิ้น 160 นาย[20]
เหตุการณ์ชิงตัวประกันในเทอร์มินอล 21 โคราช
[แก้]เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้เกิดเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเหล่าสารวัตรของทหาร (สห.) ของกองพันทหารสารวัตรที่ 21 มณฑลทหารบกที่ 21 (พัน.สห.21 มทบ.21) ได้เข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เป็นกลุ่มแรก นับเป็นกลุ่มแรกที่ช่วยลำเลียงประชาชนตั้งแต่เริ่มสถานการณ์ โดยมีตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) เข้าร่วม จนถึงเช้าวันต่อมา[6][7]
สิ่งสืบทอด
[แก้]กรมการสารวัตรทหารบกได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและนอกองค์กร อาทิ เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 มีข้าราชการทหารชั้นประทวน สังกัดกรมการสารวัตรทหารบก เข้ารับการบรรยายด้านการฝึกอาชีพเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขังคดียาเสพติด และแนวทางการพัฒนาเรือนจำ จากผู้บัญชาการเรือนจำกลางคลองไผ่[21]
ส่วนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 โรงเรียนสารวัตรทหารบก กรมการสารวัตรทหารบก ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ "การพัฒนาทักษะภาวะการเป็นผู้นำ" ให้แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยระดับปกครอง ที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก[22] และเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีบุคคลากรจากกรมสารวัตรทหารบก 20 นาย เข้าร่วมงานบรรยาย เพื่อพัฒนาศักยภาพในระบบการข่าว เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด[23]
ยุทโธปกรณ์
[แก้]ยานพาหนะภาคพื้นดิน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
นิสสัน เซฟิโร่ | ![]() |
รถยนต์นั่งขนาดกลาง | ![]() |
รถวิทยุสายตรวจ |
อีซูซุ ดีแมคซ์ | ![]() |
รถกระบะ | ![]() |
|
บีเอ็มดับเบิลยู อาร์1200อาร์ที | ![]() |
จักรยานยนต์สปอร์ตทัวริง | ![]() |
|
ยามาฮ่า เอฟเจอาร์1300 | ![]() |
จักรยานยนต์สปอร์ตทัวริง | ![]() |
|
ฮอนด้า ซีทีเอ็กซ์1300 | ![]() |
ครุยเซอร์ | ![]() |
เป็นสีขาว กองพันทหารสารวัตรที่ 11 ใช้นำและตามขบวนผู้นำระดับประเทศ[24] |
อาวุธเล็ก
[แก้]ชื่อ | ภาพ | ประเภท | ขนาดลำกล้อง | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ไทป์ 86 | ![]() |
ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | .45 เอซีพี | ![]() ![]() |
ปืนพกเอ็ม 1911 เอ 1 ที่ผลิตภายใต้ใบอนุญาต |
กล็อก 19 เจน 4 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | ![]() |
||
อูซี | ![]() |
ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | ![]() |
เจ้าหน้าที่สารวัตรทหารนำมาใช้ในเหตุการณ์ชิงตัวประกันในเทอร์มินอล 21 โคราช[6] |
เอชเค 33 | ![]() |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ![]() ![]() |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "ทหารราบยานเกราะ - ส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ บุกค้นบ้านยึดใบกระท่อม-ยาบ้า-ปืน - บ้านเมือง
- ↑ เชิญชวนร่วมคัดช้างเผือก ร.ร.วัดราชาธิวาส - บ้านเมือง
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "พีธีอัญเชิญองค์พระนารายณ์ ขึ้นประดิษฐาน ณ เทวสถาน บริเวณหน้า กรมการสารวัตรทหารบก เนื่องในวันทหารสารวัตร ครบรอบ 112 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "ประวัติกรมการสารวัตรทหารบก" (PDF).[ลิงก์เสีย]
- ↑ 6.0 6.1 6.2 “สารวัตรทหาร” ฮีโร่ผู้เข้าไปปิดพื้นที่เหตุกราดยิงโคราช ชุดแรกตั้งแต่เริ่มถึงเช้า
- ↑ 7.0 7.1 คลั่งยิงตายเกลื่อน 'จ่าสิบเอก'โหด!ไล่ฆ่าจับตัวประกันกลางห้างเมืองโคราช
- ↑ โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 10 กันยายน 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2022.
- ↑ ""ผ้าป่าสามัคคี พลตรีวัชรินทร์ สุวรรณรินทร์ เจ้ากรม สห." - Siam Hotline News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ รวบทีมฆ่า จ่าสห.ทบ. มือปืนซัด เมียว่าจ้าง
- ↑ โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 10 กันยายน 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2022.
- ↑ คิง เพาเวอร์ มอบเงินสนับสนุนกรมการสารวัตรทหารบก - โพสต์ทูเดย์
- ↑ มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ มอบเงินสนับสนุนกรมการสารวัตรทหารบก
- ↑ "คิง เพาเวอร์" สนับสนุน "กรมการสารวัตรทหารบก" - เดลินิวส์
- ↑ มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ มอบเงินสนับสนุนกรมการสารวัตรทหารบก - บ้านเมือง
- ↑ มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ มอบเงินสนับสนุนกรมการสารวัตรทหารบก
- ↑ 16 ทีมร่วมชิงชัยศึกบอลอาวุโสครั้งที่ 1 ชิงถ้วยอดีตผบ.ทบ. - Siamsport
- ↑ "สารวัตรทหารบก จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ นายอารีย์ เฉลยสุข ผู้บัญชาการฯ สังกัดกรมสารวัตรทหารบก - เรือนจำกลางคลองไผ่
- ↑ “การพัฒนาทักษะภาวะการเป็นผู้นำ” ให้กับเจ้าหน้าที่ รปภ. ระดับปกครอง
- ↑ "ณ กรมการสารวัตรทหารบก - สำนักงาน ป.ป.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2020-02-27.
- ↑ อย่างเท่ กองพันทหารสารวัตรถอย Honda CTX1300 ใหม่เอี่ยมเป็นรถนำ-ตามขบวน - Autospinn