ข้ามไปเนื้อหา

ถนนบรรทัดทอง

พิกัด: 13°44′43″N 100°31′26″E / 13.745326°N 100.523977°E / 13.745326; 100.523977
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บรรทัดทอง
แผนที่
Banthat_Thong_Road.jpg
ถนนบรรทัดทองช่วงแยกสะพานเหลือง ในช่วงเวลาเช้ามืด
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ ถนนพระรามที่ 4 / ทางพิเศษศรีรัช ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศเหนือ ถนนเพชรบุรี ในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ถนนบรรทัดทอง (อักษรโรมัน: Thanon Banthat Thong) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 2 เขตคือ เขตปทุมวันและเขตราชเทวี

ลักษณะทางกายภาพ

[แก้]

ถนนบรรทัดทองมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่แยกสะพานเหลืองตัดกับถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงรองเมืองกับแขวงวังใหม่ในเขตปทุมวันจนถึงคลองแสนแสบ และไปสิ้นสุดที่แยกเพชรพระราม ตัดกับถนนเพชรบุรี เป็นถนนที่ตัดผ่านสนามกีฬาแห่งชาติ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สนามศุภชลาศัย จึงทำให้มีร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและชุดกีฬาจำนวนมากบริเวณนั้นด้วย โดยทั้งนี้ถนนบรรทัดทองทองมิใช่ถนนประทัดทอง หรือ ถนนพระรามที่ 6 ในปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

ระยะแรก

[แก้]

สันนิษฐานว่า ถนนบรรทัดทอง เป็นเส้นเดียวกับถนนพระรามที่ 6 ที่แต่เดิมชื่อ ถนนประทัดทอง แต่ว่าการปรับปรุงถนนในเวลาต่อมา ทำให้ถนนทั้งสองสายไม่ต่อเนื่องกัน[1]

พ.ศ. 2482 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานโดยสมบูรณ์ พื้นที่บริเวณที่เรียกว่าสวนหลวง ส่วนใหญ่เป็นสลัม สวนผัก และสวนมะลิ

ช่วงพัฒนา

[แก้]

จน พ.ศ. 2504 จุฬาทำสัญญาปรับปรุงที่ดินกับบริษัทวังใหม่ จำกัด เป็นการบริหารจัดการที่ดินในเขตพาณิชย์แห่งแรกของมหาวิทยาลัย[2]

ในช่วง พ.ศ. 2513 จุฬาพัฒนาพื้นที่โดยปลูกสร้างตึกแถวสูง 3–4 ชั้น มีผู้ค้าทั้งขนาดเล็กและใหญ่เข้ามาจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ โดยเรียกบริเวณนั้นว่า เซียงกง[3] โดยระหว่าง พ.ศ. 2538–2557 ร้านค้าบางส่วนในย่านเซียงกงสวนหลวงได้เริ่มทยอยย้ายออกไปเปิดในย่านปริมณฑลรอบ ๆ กรุงเทพมหานคร ขณะที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะพัฒนาบริเวณนี้ให้เป็นที่พักอาศัยเพื่อเป็นเขตกันชน

พ.ศ. 2527 พัฒนาที่ดินตลาดกลางไข่เดิม บริเวณถนนบรรทัดทองเป็นอาคารสำนักงานและอาคารพาณิชย์ ในชื่อ อาคารมั่นคงเคหะการ[4]

พ.ศ. 2555 ก่อสร้างอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อุทยานเปิดทำการในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

ถนนสายอาหาร

[แก้]
ร้านเจ๊วรรณ พ.ศ. 2562

บริเวณซอยจุฬาฯ 10 และ 12 ติดกับกรีฑาสถานแห่งชาติ คือแหล่งรวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา จากนั้นมีโครงการสเตเดียม วัน (Stadium One) เปิดให้บริการต้นปี พ.ศ. 2560[4] ซึ่งในระยะ 2 เดือนแรกวางโครงการเป็นจุดนัดพบด้านกีฬา แต่กิจกรรมดังกล่าวก็ได้ลดลง ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ผู้รับสัมปทานจึงต้องหาร้านอาหารดังเข้ามาทดแทน[5]

จุฬามีการพัฒนาในโครงการที่ชื่อ Samyan Smart City ย่านถนนบรรทัดทองที่อยู่ในขอบข่ายการพัฒนา ค่อย ๆ ได้รับการพัฒนาพื้นที่สำคัญ ๆ ผนวกกับมีโครงการสเตเดียม วัน จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาร้านอาหารในบริเวณนี้ จนร้านเหล่านี้ประสบความสำเร็จจึงเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนธุรกิจร้านอาหารให้มายังบรรทัดทองในเวลาต่อมา[6] ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากผู้ทรงอิทธิพล ตัวอย่างเช่น ลิซ่าที่มาที่ร้านน้ำเต้าหู้เจ้วรรณ จนเกิดการดีดตัวของกระแสความในโลกสังคมออนไลน์[5]

รายชื่อทางแยก

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ถนนบรรทัดทอง ทิศทาง: สะพานเหลือง–เพชรพระราม
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
Link=ถนนบรรทัดทอง ถนนบรรทัดทอง (สะพานเหลือง–เพชรพระราม)
กรุงเทพมหานคร แยกเพชรพระราม ถนนเพชรบุรี ไปอุรุพงษ์ ถนนเพชรบุรี ไปราชเทวี, ประตูน้ำ
แยกเจริญผล ถนนพระรามที่ 1 ไปพงษ์พระราม, ยศเส ถนนพระรามที่ 1 ไปปทุมวัน, สยามสแควร์
แยกจรัสเมือง ถนนจรัสเมือง ไปจารุเมือง ซอยจุฬาลงกรณ์ 16 ไปซอยจุฬาลงกรณ์ 5
แยกสะพานอ่อน ถนนเจริญเมือง ไปถนนจารุเมือง ไม่มี
แยกสะพานเหลือง ถนนพระรามที่ 4 ไปหัวลำโพง, เยาวราช ถนนพระรามที่ 4 ไปสามย่าน
ตรงไป: ทางขึ้น ทางพิเศษศรีรัช ไปบางนา, ดาวคะนอง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

[แก้]

สนามกีฬา

[แก้]

สถานศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนประเสริฐธรรมวิทยา
  • โรงเรียนสีตบุดรบำรุง (ช่วงตัดถนนจรัสเมือง - จุฬาลงกรณ์ ซอย 16)
  • โรงเรียนจารุณีวิทย์
  • โรงเรียนกิ่งเพชร

สวนสาธารณะ

[แก้]

ห้างสรรพสินค้า

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ถนนแห่งพระรามาธิบดี ถนนพระรามทั้ง 7 สาย". ศิลปวัฒนธรรม.
  2. ฐานิตา แก้วกลัด. "ผลกระทบของแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในเขตพาณิชยกรรมสวนหลวง-สามย่าน ในช่วงเปลี่ยนผ่าน".
  3. "เซียงกง: พัฒนาการของรูปแบบอาคาร และพื้นที่ใช้สอยที่แปรตามธุรกิจอะไหล่รถยนต์เก่า".
  4. 4.0 4.1 "100 ปี การบริหารจัดการที่ดินเขตจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (PDF). สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  5. 5.0 5.1 "รีวิว สตรีทฟู้ด "บรรทัดทอง" เติมมิติใหม่ย่านปทุมวัน กับภารกิจสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ". marketeeronline.
  6. "จากถนนค้าเสื้อกีฬา ถึงฉายา 'เยาวราช 2' เมื่อ 'บรรทัดทอง' ถนนสายของกินสุดฮิต กำลังถูกตั้งคำถามว่า มาถูกทางหรือไม่?". brandthink.me.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′43″N 100°31′26″E / 13.745326°N 100.523977°E / 13.745326; 100.523977