ศันสนีย์ นาคพงศ์
ศันสนีย์ นาคพงศ์ | |
---|---|
ศันสนีย์ ในปี พ.ศ. 2551 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (0 ปี 247 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล นลินี ทวีสิน |
ถัดไป | วราเทพ รัตนากร สันติ พร้อมพัฒน์ |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มิถุนายน – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (0 ปี 150 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ฐิติมา ฉายแสง อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด (รักษาการ) |
ถัดไป | ทศพร เสรีรักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มีนาคม พ.ศ. 2502 จังหวัดชัยนาท ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังธรรม (2538–2540) ไทยรักไทย (2543–2550) เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน) |
ศันสนีย์ นาคพงศ์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[1] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังธรรม, อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย, อดีตนักร้อง, อดีตพิธีกร, อดีตผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งมีชื่อเสียงคู่กับจักรพันธุ์ ยมจินดา และเอกชัย นพจินดา
ประวัติ
[แก้]ศันสนีย์มีชื่อเล่นว่า "ติ๋ว" เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2502 ที่ตำบลคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแสดงภาพยนตร์ไทย และนักร้องที่มีชื่อเสียง ผลงานที่สร้างชื่ออาทิ เพลงอดีตรักดอกทองกวาว ที่แต่งโดย ว.วัชญาณ์ และเพลง คนเก่งคนดี ซึ่งประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง ทางช้างเผือก ต่อมาศันสนีย์เข้าสู่วงการโทรทัศน์ เริ่มจากการเป็นผู้ประกาศรายการ และผู้ประกาศข่าวเด็ดเจ็ดสีภาคค่ำ, พิธีกรรายเกมโชว์ นาทีทอง คู่กับ ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ และ พลากร สมสุวรรณ, บรรยายสารคดีโทรทัศน์ต่าง ๆ ผลงานที่สร้างชื่อคือรายการ จดหมายเหตุกรุงศรี ซึ่งช่อง 7 สีผลิตให้แก่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ออกอากาศในช่วงข่าวภาคค่ำ, ควบคุมการผลิตละครเช่น พ่อม่ายทีเด็ด กระท่อมโสมจันทร์ น้ำตาลใกล้มด ผู้ชายก็ท้องได้ มัจจุราชสีน้ำผึ้ง เป็นต้น, ควบคุมการผลิตรายการสารคดี 1 ในเมืองไทย โดยเธอทำงานอยู่ในวงการนี้ประมาณ 20 ปี
งานเพลง
[แก้]เพลง คนเก่งคนดี (เพลงประกอบละคร ทางช้างเผือก) ปี 2551[2]
งานการเมือง
[แก้]ศันสนีย์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2538-2539[3] สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมาดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร สองสมัย[4] แต่เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย โดยเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรค 111 คน[5]
ต่อมาหลังจากพ้นกำหนด 5 ปี วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เข้ารับตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[6][7] สืบต่อจากอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาการโฆษกฯ
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)[8] และถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[9] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (กิตติรัตน์ ณ ระนอง)[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[ลิงก์เสีย]
- ↑ Release - Topic (2019-09-06), คนเก่งคนดี (เพลงประกอบละคร..., สืบค้นเมื่อ 2024-12-01
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2010-01-24.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 45/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 49ง วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 122/2555 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์)
- ↑ ครม.ตั้ง'สุรนันท์'นั่งเลขาฯดัน'ศันสนีย์'โฆษกฯ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๙๗๔/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ พลตำรวจตรี สงกรานต์ สังขกร นางสาวนิชนันท์ วังคะฮาตธัญญกิจ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอมโนรมย์
- นักร้องหญิงชาวไทย
- พิธีกรชาวไทย
- ผู้ประกาศข่าวช่อง 7
- ผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- พรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์