ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ |
เสียชีวิต | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (87 ปี) |
คู่สมรส | ยุพิน นาคสุริยะ |
อาชีพ | นักร้อง พิธีกร นักแสดง นักพากย์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2501 - 2565 |
ผลงานเด่น | พิธีกรรายการ "นาทีทอง" และ "ประตูดวง" |
โทรทัศน์ทองคำ | พ.ศ. 2537 - นักพากย์ยอดเยี่ยม |
เมขลา | พ.ศ. 2538 - พิธีกรโทรทัศน์ยอดเยี่ยม |
ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ (12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565) นักร้อง พิธีกรรายการโทรทัศน์ นักแสดง นักพากย์ มีผลงานที่น่าจดจำ คือเป็นพิธีกรรายการ "นาทีทอง" และ "ประตูดวง" รายการที่มีผู้ชมสูงสุดทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ประวัติ
[แก้]ธรรมรัตน์ จบการศึกษาจากโรงเรียนเพาะช่าง สาขาจิตรกรรม รุ่นเดียวกับสุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปินแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2499 และเรียนต่อคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นเดียวกับนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและกำธร สุวรรณปิยะศิริ พร้อมกับรับราชการกระทรวงศึกษาธิการ และสมัครเป็นนักร้องกับชาลี อินทรวิจิตร
ธรรมรัตน์ รับราชการเป็นครูอยู่ 5 ปี จึงลาออกมาเป็นโฆษก ที่สถานีวิทยุ วปถ.1 (วิทยุทหารสื่อสารประจำถิ่น) กรมการทหารสื่อสาร และสมัครสอบเข้าเป็นผู้ดำเนินรายการ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7 ขาวดำในอดีต)เมื่อ พ.ศ. 2507 และไปเป็นผู้ช่วยพิธีกรรายการป็อปท็อป ทางช่อง 5 ซึ่งมี พ.อ.การุณ เก่งระดมยิง เป็นพิธีกร
ธรรมรัตน์ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ดำเนินรายการทางช่อง 7 เป็นอันดับหนึ่งด้วยน้ำเสียงทุ้มเป็นเอกลักษณ์และมีท่าทางเป็นธรรมชาติ มีหน้าที่ทั้งเป็นผู้พากย์หนัง พากย์รายการมวย พูดโฆษณาสินค้า เป็นโฆษกการตัดสินรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นนักร้อง และจัดรายการพิพิธภัณฑ์ดารา และรายการเพลงสุนทราภรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2517
ธรรมรัตน์ ได้เป็นพิธีกรรายการเกมโชว์ "นาทีทอง" ช่วงเที่ยงวันอาทิตย์ และ "ประตูดวง" ช่วงเย็นวันอาทิตย์ แทนอาคม มกรานนท์ พิธีกรคนเดิมที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ทั้งสองรายการเป็นรายการที่มียอดผู้ชมสูงสุด และสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก
ธรรมรัตน์ ลาออกจากช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2528 เพื่อไปทำงานการเมืองกับกลุ่มรวมพลังของพลตรีจำลอง ศรีเมือง ลงสมัคร ส.ก.เขตลาดพร้าว 2 สมัย โดยในสมัยที่สองได้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภา กทม.คนที่ 1
ธรรมรัตน์ ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขานักพากย์ยอดเยี่ยม จากผลงานพากย์หนังชุด บิ๊กซินีม่า ทางช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2537 และรับรางวัลพิธีกรโทรทัศน์ยอดเยี่ยม รางวัลเมขลาในปี พ.ศ. 2538 จากรายการ 20 คำถาม จากนั้นจึงเลิกผลิตรายการโทรทัศน์และเลิกเล่นการเมือง หันไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2541 จากนั้นจึงออกตระเวนเดินสายร้องเพลง และจัดรายการวิทยุภาคภาษาไทยที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวันที่ 4 มีนาคม ใน กทม.ด้วย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ธรรมรัตน์ เดินทางกลับมาใช้ชีวิตในประเทศไทย ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ชื่อ เอเชียน วิชั่น แชนแนล และยังรับงานพากย์ภาพยนตร์ และร้องเพลง
ชีวิตส่วนตัว ธรรมรัตน์สมรสกับยุพิน นาคสุริยะ มีธิดาคือปวันรัตน์ นาคสุริยะ นักแสดงและพิธีกร
ธรรมรัตน์เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 04:00 น. โดยมีพิธีฌาปนกิจศพทันทีในวันเดียวกัน เวลา 13:00 น. ที่วัดภาณุรังษี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร[1]
รายการโทรทัศน์
[แก้]- ประตูดวง
- 20 คำถาม
- นาทีทอง
ผลงานการแสดงภาพยนตร์
[แก้]- เทวดาเดินดิน (2519)
- เมืองขอทาน (ขี้กลากคอนกรีต) (2521) รับบท เจ้าชมพู่
- อะไรกันวะ (2521) (รับเชิญ)
- สัญชาตญาณโหด (2522)
- น.ส. เย็นฤดี (2526) รับบท โฆษก
- สวัสดีคุณนาย (2527) (รับเชิญ)
- อีแต๋น ไอเลิฟยู (2527) (รับเชิญ)
- นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (2527) รับบท ธรรมรัตน์ (รับเชิญ)
- ตุ๊กตาทองหลังโลงศพ (2530)
- ล่าระเบิดเมือง (2542) รับบท เล่าซู
- สุริโยไท (2544) รับบท พระสุนทรสงคราม
- The Legend of Suriyothai (2546) รับบท พระสุนทรสงคราม
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]- ชาวเขื่อน ช่อง 7 (2524)
- ปมรักนวลฉวี ช่องไอทีวี (2546)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[2]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ปิดฉาก นักแสดง-พิธีกรชั้นครู "ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ" โควิดคร่าชีวิต วัย 87 ปี". พีพีทีวี. 2022-02-19. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ 71ปีแล้วแต่ยังแจ๋ว[ลิงก์เสีย], ไทยโพสต์ 5 มิถุนายน 2548 [ลิงก์เสีย]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2477
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2565
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักร้องชายชาวไทย
- พิธีกรชาวไทย
- นักพากย์ชาวไทย
- นักร้องเพลงลูกกรุง
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- พรรคพลังธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- บุคคลจากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ ดารา ที่ยังไม่สมบูรณ์