พร ธนะภูมิ
พร ธนะภูมิ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | เสริมศักดิ์ เทพาคำ |
ถัดไป | พลตรี จำลอง ศรีเมือง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2460[1] |
เสียชีวิต | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (96 ปี)[1] |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | เรณี ธนะภูมิ |
พลเอก พร ธนะภูมิ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นบิดาของนางเกสรา ณ ระนอง ภริยาของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี[2]
ประวัติ
[แก้]พร ธนะภูมิ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อเป็นนักเรียนเทคนิคทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2477 ในปี พ.ศ. 2479 เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2481 และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่น 29
พร สมรสกับนางเรณี ธนะภูมิ มีบุตรคือ นางเกสรา ธนะภูมิ สมรสกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง[2]
การทำงาน
[แก้]พร ธนะภูมิ เข้ารับราชการทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2483 กระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2519 และเป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหมในปีเดียวกัน
พร ธนะภูมิ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] และได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) ในปี พ.ศ. 2520 ต่อมาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2522[4] ควบคู่กับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติประชาธิปไตย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[11]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[15]
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
[แก้]- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2497 - เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- สหรัฐอเมริกา :
- พ.ศ. 2498 - เหรียญบรอนซ์สตาร์[17]
- พ.ศ. 2495 - เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (ทหารบก)
- สหราชอาณาจักร :
- พ.ศ. 2515 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นสร้อยแพร (CVO)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก พร ธนะภูมิ
- ↑ 2.0 2.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/171/86.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๕๗, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๑๑๘๔, ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๐๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๖, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๓, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 70 ตอนที่ 21 หน้า 1392, 31 มีนาคม 2496
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 76 หน้า 2707, 29 มีนาคม 2498
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2460
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ทหารบกชาวไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทย
- พรรคชาติประชาธิปไตย (พ.ศ. 2525)
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- เหรียญสหประชาชาติ