วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
วรรณรัตน์ ชาญนุกูล | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ถัดไป | พิชัย นริพทะพันธุ์ |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ |
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร |
ถัดไป | เทวัญ ลิปตพัลลภ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2492 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2535–2547) ไทยรักไทย (2548–2550) ชาติพัฒนากล้า (2550–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เต็มศิริ ชาญนุกูล |
นายแพทย์ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็น กรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนากล้า กรรมการในคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ประธานสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้า อดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ประวัติ
[แก้]นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล 8 มีนาคม พ.ศ. 2492อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[2] เป็นบุตรของนายเหล็ง กับนางสวาท ชาญนุกูล จบการศึกษา วิทยาศาสตร์การแพทย์ และแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิติศาสตร์บัณฑิต (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นทำงานเป็นอายุรแพทย์ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ที่ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางเต็มศิริ ชาญนุกูล ประธานผู้บริหารโรงเรียนอุบลรัตนนครราชสีมา และครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพี่สาวของพลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายตะวัน ชาญนุกูล
งานการเมือง
[แก้]นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 6 สมัย สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535/2, 2538, 2544) สังกัดพรรคไทยรักไทย (พ.ศ. 2548) , พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พ.ศ. 2554 และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปี 2537 และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปี 2537
เขาเป็น 1 ใน 3 รายชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562[3]
หัวหน้าพรรค
[แก้]นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกพรรคให้เป็นหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา (เดิมชื่อ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน) ในปี พ.ศ. 2551 สืบต่อจากพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
[แก้]ในปี พ.ศ. 2551 นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4] และในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[5] ต่อมาในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[6] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 จึงได้ขอออกจากตำแหน่ง[7] เนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชพน.ชี้ถกพรรคการเมืองปลาย มิ.ย.นี้ เป็นสัญญาณบวกสู่การเลือกตั้ง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ เลือกตั้ง 2562 : ใครเป็นใคร "นายกฯ ในบัญชี" พรรคการเมือง ที่ผ่านการประกาศของ กกต. บีบีซีไทย.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
ก่อนหน้า | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 60) (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555) |
หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ | ||
พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม.58,59) (24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
พิชัย นริพทะพันธุ์ | ||
พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร | หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา (26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) |
เทวัญ ลิปตพัลลภ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองนครราชสีมา
- แพทย์ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- นิสิตเก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ประธานสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย