ข้ามไปเนื้อหา

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
ธีระชัย ในปี พ.ศ. 2562
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
(0 ปี 162 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้ากรณ์ จาติกวณิช
ถัดไปกิตติรัตน์ ณ ระนอง
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ดำรงตำแหน่ง
28 ธันวาคม พ.ศ. 2546 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
(4 ปี 191 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
สุรยุทธ์ จุลานนท์
สมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าศ.ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ถัดไปดร.ประสงค์ วินัยแพทย์
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(3 ปี 20 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าดร.ประสงค์ วินัยแพทย์
(รักษาการ)
ถัดไปชาลี จันทนยิ่งยง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 ธันวาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2566-ปัจจุบัน)
คู่สมรสวรรณพร ภูวนาถนรานุบาล
ลายมือชื่อ

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ทีมงานสำคัญศูนย์นโยบายและวิชาการของพรรคพลังประชารัฐ[1] ประธานกรรมการด้านวิชาการพรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)[2] อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และเป็นประธานกลุ่ม ก.ล.ต. อาเซียน (ACMF) 2 สมัย

ประวัติ

[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร.ต.ถาวร กับนางมันทนา ภูวนาถนรานุบาล สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2512 หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก London School of Economics and Political Sciences ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2517 ต่อจากนั้นได้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรสอบบัญชีชั้นสูง The Fellow of Chartered Accountants สถาบันการสอบบัญชีของประเทศอังกฤษ ในปี 2520 และหลักสูตร Senior Managers in Government ที่ John F. Kennedy School มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2544

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางวรรณพร ภูวนาถนรานุบาล (สกุลเดิม อู่อุดมยิ่ง) มีบุตร 3 คน คือ นางสาวธนพร ภูวนาถนรานุบาล นายคณิน ภูวนาถนรานุบาล และนางสาวฐานิตา ภูวนาถนรานุบาล

การทำงาน

[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและประกาศนียบัตรสอบบัญชีชั้นสูง ได้เข้าปฏิบัติงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2011-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ธปท.) ในปี พ.ศ. 2520 โดยเริ่มทำงานด้านกำกับและพัฒนาสถาบันการเงินในช่วงปี พ.ศ. 2534 – 2536 ได้ย้ายไปดูแลงานด้านการบริหารเงินทุนสำรองของประเทศ และในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจไทยปี พ.ศ. 2540 ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ดูแลเรื่องการตรวจสอบและวิเคราะห์ธนาคารพาณิชย์ตามนโยบายเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน รวมถึงการสั่งระงับการดำเนินกิจการของสถาบันการเงิน 56 แห่ง

ในปี พ.ศ. 2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยสายนโยบายการเงิน และในปี พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าการเสถียรภาพการเงิน ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และต่อวาระการดำรงตำแหน่งอีก 1 สมัย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554

ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. ประธานคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ ก.ล.ต. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาลยังเป็นกรรมการในหน่วยงานอื่นด้วย เช่น กรรมการในคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการในคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประธานอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ประธานกรรมการตรวจสอบ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย และกรรมการในคณะกรรมการ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย กรรมการในคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี กระทรวงพาณิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากร กรรมการตัวแทนกระทรวงการคลังในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นต้น

วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] แต่ในระหว่างดำรงตำแหน่งมักจะมีข่าวความขัดแย้งกันทางความคิดกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอยู่เสมอ ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 จึงถูกปรับออกจากตำแหน่งดังกล่าว[4]

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้ทำการเปิดตัวธีระชัย พร้อมกับหม่อมหลวง กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน โดยมีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ ร่วมแถลงข่าว[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ‘พปชร.’ พร้อมหวด ’รัฐบาล‘ ตั้ง ศูนย์นโยบายฯ ทำหน้าที่ตรวจสอบ แทน ปชช.
  2. "คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-19.
  3. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  5. คงขุนเทียน, โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา. "เลือกตั้ง'66: เปิดตัว "ธีระชัย-กรกสิวัฒน์"". ryt9.com.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๗, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ถัดไป
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555)
กิตติรัตน์ ณ ระนอง