สุตสาย หัสดิน
สุตสาย หัสดิน | |
---|---|
สุตสาย ในปี พ.ศ. 2517 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 (0 ปี 283 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2463 |
เสียชีวิต | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (80 ปี) |
พลตรี สุตสาย หัสดิน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตหัวหน้าขบวนการกระทิงแดง[1] ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา
สุตสาย ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2544
การทำงาน
[แก้]พล.ต.สุตสาย เคยรับราชการทหาร และเคยเป็นแกนนำก่อตั้งขบวนการกระทิงแดง ในช่วงปี พ.ศ. 2517 ในขณะดำรงตำแหน่งนายทหารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งในช่วงกลางปี พ.ศ. 2518 พล.ต.สุตสาย ได้รวบรวมสมาชิกกว่า 25,000 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาอาชีวะ เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการเดินขบวนประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร แต่แตกกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพราะเห็นว่ากลุ่มดังกล่าวรับแนวคิดคอมมิวนิสต์มาอย่างชัดเจน[2] ขบวนการกระทิงแดง นำโดย พล.ต.สุตสาย เป็นกองเยาวชนของขบวนการนวพล[3]
ในปี พ.ศ. 2524 พล.ต.สุตสาย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[4] ต่อมาในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน พล.ต.สุตสาย พร้อมกับรัฐมนตรีอีก 7 คน ได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีคณะดังกล่าว[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[6]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Glassman, Jim, Thailand at the Margins: Internationalization of the State and the Transformation of Labour (2004), p. 68.
- ↑ "October 1976 Coup", GlobalSecurity.org.
- ↑ Harris, Nigel "Thailand: The Army Resumes Command" Notes of the Month, International Socialism (1st series), No.93, November/December 1976, pp.8-9.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๘ กันยายน ๒๕๐๕