อาณาจักรล้านนา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อาณาจักรล้านนา | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 1835–2318[2] | |||||||||||||||||||||
เขตอิทธิพลล้านนาในปี พ.ศ. 2083 | |||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | เชียงราย (พ.ศ. 1805–1818) เวียงฝาง (พ.ศ. 1818–1824) เวียงกุมกาม (พ.ศ. 1824–1839) เชียงใหม่ (พ.ศ. 1839–2318) | ||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาไทยถิ่นเหนือ | ||||||||||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||||||||||
พญา | |||||||||||||||||||||
• พ.ศ. 1837 - 2101 | ราชวงศ์มังราย | ||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยใหม่ตอนต้น | ||||||||||||||||||||
• ยึดครองหริภุญชัย | พ.ศ. 1835 | ||||||||||||||||||||
• สถาปนาเวียงเชียงใหม่ | พ.ศ. 1839 | ||||||||||||||||||||
• สงครามอยุธยา-ล้านนา | พ.ศ. 1999–2017 | ||||||||||||||||||||
• เป็นรัฐในอารักขาของพม่า | 2 เมษายน พ.ศ. 2101[3] | ||||||||||||||||||||
• อาณาจักรล่มสลาย | 15 มกราคม 2318[2] | ||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | เจียง | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ไทย พม่า ลาว เวียดนาม จีน |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
วัฒนธรรมล้านนา |
---|
ประวัติศาสตร์ไทย |
---|
ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง ปีพุทธศักราช |
อาณาจักรล้านนา (ไทยถิ่นเหนือ: ᩋᩣᨱᩣᨧᩢᨠ᩠ᨠ᩼ᩃ᩶ᩣ᩠ᨶᨶᩣ) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีต ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ภาคตะวันออกของประเทศพม่า เช่น ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนในปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน[4] โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง เคยถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการหรือรัฐส่วยของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และ อาณาจักรล้านช้าง จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรตองอูสมัยญองยานไปในที่สุด และรวมเข้ากับสยามจนเป็นภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1800 รัฐสยามหยุดการเป็นเอกราชของล้านนาและรวมอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสยาม[5] โดยเริ่มต้นใน ค.ศ. 1874 เมื่อรัฐสยามปรับเปลี่ยนอาณาจักรล้านนาไปเป็นมณฑลพายัพ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสยามเต็มตัว[6] อาณาจักรล้านนาถูกควบคุมตามระบบเทศาภิบาลของสยามที่จัดตั้งใน ค.ศ. 1899[7][8] ใน ค.ศ. 1909 อาณาจักรล้านนาไม่ได้เป็นรัฐอิสระอีกต่อไป เพราะสยามได้แบ่งเขตแดนของตนกับอังกฤษและฝรั่งเศส[9] ปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนากลายเป็น 8 จังหวัด ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
ชื่อ
[แก้]ล้านนา หมายถึง ดินแดนที่มีนานับล้าน หรือมีที่นาเป็นจำนวนมาก คู่กับล้านช้าง คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว เมื่อปี พ.ศ. 2530 คำว่า "ล้านนา" กับ "ลานนา" เป็นหัวข้อโต้เถียงกัน ซึ่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมี ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นประธาน ได้ให้ข้อยุติว่า "ล้านนา" เป็นคำที่ถูกต้อง และเป็นคำที่ใช้กันในวงวิชาการ[10]ล้านนายังมีชื่อใกล้เคียงและสัมพันธ์กับอาณาจักรใกล้เคียงอื่นอีกด้วย เช่น สิบสองปันนา รวมไปถึงสุโขทัย พะเยา อยุธยา อีกด้วย
ปัญหาที่นำไปสู่การโต้เถียงกันนั้น สืบเนื่องมาจากในอดีตการเขียนมักไม่ค่อยเคร่งครัดในเรื่องวรรณยุกต์ แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า แม้จะเขียนโดยไม่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ แต่ให้อ่านเหมือนมีวรรณยุกต์โท[10] สำหรับคำ "ลานนา" น่าจะมาจากพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า "ลานนาหมายถึงทำเลทำนา" ซึ่งทำให้คำว่าลานนาใช้กันมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ[10] ภายหลัง พ.ศ. 2510 นักวิชาการระดับสูงพบว่าล้านนาเป็นคำที่ถูกต้องแล้ว และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อ ดร. ฮันส์ เพนธ์ ค้นพบคำว่า "ล้านนา" ในศิลาจารึกที่วัดเชียงสา ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2096[11] อย่างไรก็ดี การตรวจสอบคำว่า ล้านนา ได้อาศัยศัพท์ภาษาบาลี โดยพบว่าท้ายคัมภีร์ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง เขียนว่า ทสลกฺขเขตฺตนคร () /ทะสะลักขะเขตตะนะคอน/ แปลว่า เมืองสิบแสนนา เป็นคำคู่กับเมืองหลวงพระบางที่ชื่ออาณาจักร ศรีสตนาคนหุต หรือช้างร้อยหมื่น
คำว่า “ล้านนา” น่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพญากือนา เนื่องจากพระนาม "กือนา" หมายถึงจำนวนร้อยล้าน และต่อมาคำว่าล้านนาได้ใช้เรียกกษัตริย์และประชาชน โดยแพร่หลายมากในสมัยพระเจ้าติโลกราช[12] ส่วนการใช้คำว่า "ล้านนาไทย" นั้น เป็นเสมือนการเน้นความเป็นไทย ซึ่งมีการใช้กันมาแต่โบราณ เช่น ล้านนาไทยประเทศ และล้านนาไทยโยนกประเทศ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนก[13]
อยุธยาปรากฎการเรียกอาณาจักรล้านนาว่า “ลานนา” มาตลอด ดังที่ปรากฏในตอนหนึ่งของ ลิลิตตะเลงพ่าย จึงทำให้ในยุคสมัยหนึ่ง เกิดการใช้คำว่า “ลานนา” กันอย่างแพร่หลาย มากกว่าคำว่า “ล้านนา” ที่นิยมใช้กันมากกว่าในปัจจุบัน ส่วนหลักฐานพม่ามักเรียกชื่อตามชาติพันธุ์ ซึ่งพม่าเรียกชาวล้านนาว่า “ยวน”[14] จึงเรียกอาณาจักรล้านนาว่า “เมืองยวน” ส่วนหลักฐานจีนเรียกล้านนาว่า ปาไป่สีฟู่กั๋ว แปลว่า "อาณาจักรสนมแปดร้อย" เป็นชื่อที่ราชวงศ์หยวนใช้เรียกอาณาจักรล้านนาที่มาของชื่อมีอธิบายในพงศาวดารราชวงศ์หยวนฉบับใหม่ กล่าวไว้ว่า "อันปาไปสีฟู่ [สนมแปดร้อย] นั้น ชื่อภาษาอี๋ว่าจิ่งไม่[เชียงใหม่] เล่าลือกันว่าผู้เป็นประมุขมีชายาถึงแปดร้อย แต่ละคนเป็นผู้นำค่ายหนึ่ง จึงได้นามตามนี้…" [15]
ประวัติศาสตร์
[แก้]การก่อตั้งอาณาจักร
[แก้]พญามังราย กษัตริย์นครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มน้ำแม่กก น้ำแม่อิง และแม่น้ำปิงตอนบน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญามังรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมน้ำแม่กกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย
หลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้ ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเลเหมาะแก่การค้าขายและการป้องกันพระนคร มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็นทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบเข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์
หลังจากพญามังรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับเงินยางเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ (แม่น้ำปิง) โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "เวียงเชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาเขตบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน
สมัยยุครุ่งเรือง
[แก้]ความเจริญของล้านนานั้นเริ่มปรากฏอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมา ด้วยการทำให้เชียงใหม่เป็นศุนย์กลางศาสนาแทนหริภุญชัยพระองค์ทรงรับพุทธ ศาสนานิกายลังกาวงศ์จากสุโขทัยและอาราธนาพระสุมนเถระมาจำพรรษาที่วัดสวนดอก ในระยะนี้นิกายวัดสวนดอกในเชียงใหม่ ได้รุ่งเรืองมากและมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นิกายรามัญ” หรือตั้งแต่ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
ในช่วงเวลานี้หลักฐานสำคัญคือ จารึกวัดพระยืนนั้นกล่าวถึงการอัญเชิญพระธาตุโดยพระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นมา เชียงใหม่ในรัชกาลพระเจ้ากือนารูปแบบสถาปัตยกรรมได้ปรากฏเจดีย์ทรงกลม ดังตัวอย่างสำคัญที่ เจดีย์วัดสวนดอก เชียงใหม่ เป็นที่พระเจ้ากือนาโปรดให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับของพระสุมนเถระ เป็นต้น
และเจดีย์ที่ใช้รูปแบบเจดีย์สุโขทัย ดังตัวอย่างสำคัญที่นักวิชาการเชื่อว่าน่าจะปรากฏในช่วงนี้คือ เจดีย์กู่ม้า ลำพูน เป็นต้น
สถาปัตยกรรมในช่วงเวลาข้างต้นถือได้ว่ามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเผย แพร่พุทธศาสนาลังกาวงส์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “นิกายรามัญ” (พุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบมอญ)
เมื่อล่วงถึงรัชกาลพญาแสนเมืองมาและพญาสามฝั่งแกน สถาปัตยกรรมคงถือได้ว่าเป็นช่วงที่ส่งผ่านให้งานสถาปัตยกรรมเจริญอย่างสูงใน รัชกาลต่อมาคือรัชกาลพระเจ้าติโลกราช พระองค์ได้แผ่ขยายพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่เมืองแพร่และน่านได้ ดังนั้นความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร รวมทั้งการสืบศาสนาลังกาวงศ์ใหม่ นำไปสู่ความมั่นคงทั้งด้านอาณาจักรและศาสนจักร จึงทำให้ตั้งแต่รัชกาลนี้เป็นต้นมา ส่งผลให้ถือเป็นยุครุ่งเรื่องทางด้านสถาปัตยกรรมด้วย
พระเจ้าติโลกราชทรงให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 8 ที่ “วัดมหาโพธาราม” หรือวัดเจ็ดยอด สถาปัตยกรรมในวัดเจ็ดยอดจึงอาจถือเป็นตัวแทนของงานช่างสถาปัตยกรรมในพื้นที่ เชียงใหม่ในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี ดังตัวอย่างของวิหารมหาโพธิ์ที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการถ่ายแบบจากประเทศ อินเดีย อนิมิสเจดีย์ มณฑปพระแก่นจัทร์แดง เป็นต้น
สืบเนื่องถึงรัชกาลพระเมืองแก้ว ผลดีจากรัชกาลก่อนจึงส่งให้กับรัชกาลนี้เช่นกัน ทั้งในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชและรัชกาลพระเมืองแก้วสถาปัตยกรรมในช่วงเวลา ข้างต้นถือได้ว่ามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเผยแพร่พุทธศาสนาลังกาวงส์ ใหม่หรือที่เรียกว่า ” สีหลภิกขุ ”
การล่มสลายของอาณาจักร
[แก้]อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัย "พญาแก้ว" เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงในการทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจาก "พญาแก้ว" สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป ในยุคนี้ล้านนาถูกเข้าแทรกแซงอำนาจจากอาณาจักร์ล้านช้างและอยุธยาซึ่งล้านช้างเป็นฝ่ายชนะในการแทรกแซงล้านนา ส่งผลให้ล้านช้างได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือหัวเมืองล้านนาทุกหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองแต่ละหัวเมืองได้ยอมอ่อนน้อมและอยู่ภายใต้อำนาจ ส่งผลให้อาณาจักร์ล้านนากลายเป็นประเทศราชของล้านช้างในที่สุดในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งพระเจ้าโพธิศาลราชได้กลายเป็นจักรพรรดิที่อยู่เบื้องหลังของการรวมล้านนาเข้าไว้กับล้านช้างในช่วงสั้นๆโดยให้บุตรชายได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ส่วนตนครองเมืองหลวงพระบางต่อไป ซึ่งเมืองหลวงพระบางในช่วงนี้มีอำนาจเหนือแคว้นล้านนาทุกหัวเมือง
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าบุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอูได้ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่ไปประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมาพระเจ้าเมกุฎิทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้งมหาเทวีวิสุทธิ ผู้มีเชื้อราชวงศ์มังราย ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระมารดาของพระเจ้าเมกุฏิ[16][17] ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน จนกระทั่งมหาเทวีวิสุทธิสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ และอีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่ และเตรียมเสบียงอาหารเพื่อไปทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา
อาณาจักรล้านนาในฐานะเมืองขึ้นของพม่า มีการกบฏแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เชียงใหม่อย่างเดียว แต่เมืองอื่น ๆ ในล้านนาก็ด้วย จนกระทั่งราชวงศ์ญองยาน สถาปนาอาณาจักรอังวะอีกครั้งจึงหันมาปกครองเชียงใหม่โดยตรง
เชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่าใช้เวลายาวนานถึง 200 กว่าปี แต่ก็มีบางช่วงที่สลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยา เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และก็มีบางสมัยที่เป็นอิสระแต่ถูกครอบงำและถูกปกครองโดยกษัตริย์ลาวนามว่า องค์คำ จากอาณาจักรหลวงพระบางร่วม 30 กว่าปี
อาณาเขต
[แก้]หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ดินแดนล้านนานั้นหมายถึงดินแดนบางส่วนของอาณาเขตบริเวณ ลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนเมืองที่ตั้งตามลุ่มน้ำสาขาเช่นแม่น้ำกก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำอิง แม่น้ำร่องช้าง แม่น้ำปาย แม่น้ำแตง แม่น้ำงัด ฯลฯโดยมีอาณาเขตทางทิศใต้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน) และจดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกเลยลึกเข้าไปในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดเมืองเชียงรุ่ง (หรือคนจีนเรียกในปัจจุบันว่า เมืองจิ่งหง) ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย สิบสองจุไท เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพลไปถึงในเมืองนั้นๆ
ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงล้านนาไท 57 เมือง[4] แต่ก็ไม่ได้ระบุว่ามีเมืองใดบ้าง ปัจจุบันมีหลักฐานที่พม่านำไปจากเชียงใหม่ใน[[ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ (พ.ศ. 2101–2317)|สมัยที่พม่าปกครอง] (พ.ศ. 2101-2317) และได้แปลเป็นภาษาพม่า ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ทางมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ Zinme Yazawin หรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับภาษาพม่าได้ระบุเมืองต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเมือง คือ กลุ่มเมืองขนาดใหญ่ มี 6 เมือง กลุ่มเมืองขนาดกลางมี 7 เมือง กลุ่มเมืองขนาดเล็กมี 44 เมือง เช่น เมืองฝาง เมืองเชียงของ เมืองพร้าว เมืองเชียงดาว เมืองลี้ เมืองยวม เมืองสาด เมืองนาย เมืองเชียงตุง เมืองเชียงคำ เมืองเชียงตอง เมืองน่าน เมืองเทิง เมืองยอง เมืองลอง เมืองตุ่น เมืองแช่ เมืองอิง เมืองไลค่า เมืองลอกจ๊อก เมืองปั่น เมืองยองห้วย เมืองหนองบอน เมืองสู่ เมืองจีด เมืองจาง เมืองกิง เมืองจำคา เมืองพุย เมืองสีซอ เมืองแหงหลวง เมืองหาง เมืองพง เมืองด้ง ฯลฯ[18]
รายพระนามพระมหากษัตริย์ล้านนา
[แก้]การปกครอง
[แก้]อาณาจักรล้านนา เริ่มแรกเป็นรัฐพื้นเมือง มีคติเกี่ยวกับรัฐ และกษัตริย์เป็นรูปแบบเฉพาะของท้องถิ่นที่เรียบง่าย โดยรับแนวคิดจารีตท้องถิ่น และแนวคิดที่ได้อิทธิพลจากพระพุทธศาสนา เมืองราชธานีไม่มีอำนาจในการปกครองมากนัก เนื่องด้วยปัญหาการคมนาคมที่ยากลำบากของรัฐในบริเวณที่ราบสูง ส่งผลให้ท้องถิ่นปกครองตนเองอย่างอิสระ[19] ในภายหลัง อาณาจักรล้านนามีระเบียบแบบแผนมากขึ้น เนื่องจากรับอิทธิพลจากภายนอก
สถาบันกษัตริย์
[แก้]สถาบันกษัตริย์ล้านนาค่อย ๆ พัฒนาลำดับยศ ในช่วงแรกก่อนอาณาจักรล้านนา สมัยลวจังกราช ได้มีการเรียกตำแหน่งนี้ว่า ลาว ซึ่งมีความหมายว่า นาย หรือผู้มีอำนาจ ดังปรากฏในพระนามว่า ลาวจง ลางเคียง ลาวเม็ง ต่อมา ใช้คำว่า ขุน หรือท้าว และต่อมาใช้คำว่า มัง หมายความว่า กษัตริย์ เป็นภาษาพม่าโบราณ มีอิทธิพลมาจากพุกาม โดยกษัตริย์ล้านนาพระองค์แรกที่ใช้ตำแหน่งนี้คือ พญามังราย แต่พระนามที่แท้จริงคือคำว่า ราย เนื่องจากมังเป็นสมญานามที่สังคมปัจจุบันเรียก เพราะพบคำนี้ที่ศิลาจารึกวัดพระยืน ซึ่งไม่ใช่หลักฐานร่วมสมัย คำว่า มัง ยังปรากฏตามตำนามพื้นเมืองเชียงแสน โดยเรียกพญาไชยสงครามว่า "มังคราม"[20] ส่วนคำว่า พญา หรือพระญา เป็นคำโบราณ หมายความว่า กษัตริย์ ซึ่งควรใช้หลังจากที่รับอิทธิพลหริภุญไชย กษัตริย์ล้านนาส่วนใหญ่ใช้คำว่า พญา ยกเว้นพระองค์เดียว คือ พระเจ้าติโลกราช
ศิลปะและวัฒนธรรม
[แก้]ศิลปะ
[แก้]ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน หมายถึง ศิลปะในเขตภาคเหนือทางตอนบนหรือดินแดนล้านนาของประเทศไทยในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19–24 คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องจากศิลปะทวารวดีและศิลปะลพบุรีมาตั้งแต่สมัยหริภุญชัยศูนย์กลางของศิลปะล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ งานศิลปะล้านนามีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะนิกายเถรวาท
สถาปัตยกรรม
[แก้]สถาปัตยกรรมยุคแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญชัยและศิลปะพุกามจากพม่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย ต่อมาในศิลปะต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคทอง มีการสร้างวัดและเจดีย์มากมาย ยุคถัดมาในช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 อาณาจักรล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ถือเป็นยุคเสื่อม[21]
สถาปัตยกรรมในช่วงยุคทองมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเผย แพร่พุทธศาสนาลังกาวงส์ หรือ นิกายรามัญ ได้แรงบันดาลใจทั้งจากงานสถาปัตยกรรมในยุคก่อน อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมภายนอกดังเช่นสุโขทัย พม่าสมัยพุกาม เป็นต้น
เจดีย์ที่สืบทอดรูปแบบในช่วงก่อน ตัวอย่างเช่น เจดีย์วัดพญาวัด เมืองน่าน คงสืบทอดรูปแบบเจดีย์ทรงปราสาทแบบเจดีย์กู่กุดและกู่คำ นอกจากนั้นยังพบกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังที่เริ่มปรับรูปแบบจากผังกลมไปเป็นผัง หลายเหลี่ยม ดังตัวอย่างของเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นต้นและเจดีย์ทรงปราสาทยอดทรงระฆัง เช่น เจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด ที่สร้างในรัชกาลพระเมืองแก้ว และมีเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัย ดังตัวอย่างสำคัญที่เจดีย์วัดป่าแดง เชียงใหม่และวัดป่าแดงบุญนาค เมืองพะเยา ที่เด่นชัดทางรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย
รูปแบบของวิหารในช่วงยุคทอง ปรากฏหลักฐานอาคารหลังคาคลุม รูปแบบสำคัญของวิหารล้านนาคือ การยกเก็จอันสัมพันธ์กับการซ้อนชั้นหลังคา โครงสร้างหลักของวิหารได้แก่ วิหารแบบเปิดหรือที่เรียกว่า วิหารป๋วย และวิหารแบบปิด โดยวิหารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการใช้ระบบม้าต่างไหมในส่วนหน้าบัน นอกจากนั้นยังปรากฏวิหารปราสาท คือการก่อรูปปราสาทต่อท้ายวิหาร ใช้ปราสาทเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เช่นที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
หลังยุคทอง หลังจากรัชกาลพระเมืองแก้วแล้ว สถาปัตยกรรมในช่วงเวลานี้เป็นการสืบทอดรูปแบบเดิมจากงาน ตัวอย่างสำคัญที่ เจดีย์วัดโลกโมฬี รูปแบบเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด ยังให้ความสำคัญกับสวนยอดที่เป็นหลังคาเอนลาด ชี้ให้เห็นว่าน่าจะสืบทอดจากเจดีย์ทรงปราสาทในยุคทอง
ล้านนาสมัยพม่าปกครอง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ตัวอย่างสำคัญ เช่น มณฑปพระเจ้าล้านทอง วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองลำปาง เป็นรูปแบบงานสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นจากรูปแบบโขงปราสาทหรือที่ชาวล้านนา ทั่วไปเรียกว่า โขงพระเจ้า มีรูปแบบสำคัญคือการใช้ซุ้มจระนำที่มีหางนาคเกี้ยวกระหวัดเป็นยอดกลางซุ้ม และการซ้อนชั้นหลังคาที่ลดหลั่นกัน 3 ชั้น นอกจากนี้ โขงปราสาทยังปรากฏที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ด้วย รูปแบบสถาปัตยกรรมโขง
รูปแบบเจดีย์
[แก้]เจดีย์ที่สืบทอดรูปแบบในช่วงก่อน ตัวอย่างสำคัญที่ เจดีย์วัดพญาวัด เมืองน่าน คงสืบทอดรูปแบบเจดีย์ทรงปราสาทแบบเจดีย์กู่กุดและกู่คำ อาจถือเป็นสัญลักษณ์ทางอำนาจของพระเจ้าติโลกราชที่แผ่ขยายไปสู่เขตล้านนา ตะวันออก
เจดีย์ที่พัฒนาขึ้น มีตัวอย่างสำคัญคือเจดีย์หลวง ที่พระเจ้าติโลกราชโปรดให้ ” รวบเป็นกระพุ่มยอดเดียว ” นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าอาจเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเจดีย์ 5 ยอดเป็นเจดีย์ยอดเดียวหรือเจดีย์ทรงปราสาทยอด แม้ส่วนยอดเจดีย์หลวงจะหักหายแต่เชื่อว่าส่วนยอดเดิมน่าจะเกี่ยวเนื่องกับ ส่วนยอดเจดีย์วัดเชียงมั่นซึ่งจารึกวัดเชียงมั่นกล่าวว่าเป็นที่แรกที่พญา มังรายโปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นแห่งแรกเมื่อตั้งเมืองเชียงใหม่นั้น แต่องค์ที่เห็นในปัจจุบันนั้น จารึกวัดเชียงมั่นกล่าวว่าพระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2016 โดยได้สร้างเป็นทรงกระพุ่มยอดเดียว
นอกจากนั้นยังพบกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังที่เริ่มปรับรูปแบบจากผังกลมไปเป็นผัง หลายเหลี่ยม ดังตัวอย่างของเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ เป็นต้นและเจดีย์ทรงปราสาทยอดทรงระฆัง ดังตัวอย่างขงเจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด ที่สร้างในรัชกาลพระเมืองแก้ว
เจดีย์ที่รับอิทธิพลจากรูปแบบภายนอก ในช่วงเวลานี้พระเจ้าติโลกราชได้ยึดครองเมืองเชลียงหรือศรีสัชชนาลัย อันเป็นฐานอำนาจสำคัญของสุโขทัย ก่อนที่พระองค์จะทำสงครามยืดเยื้อกับอยุธยาในรัชกาลพระบรมไตรโลกนาถ ดังนั้นจึงอาจเป็นที่มาของอิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัย ดังตัวอย่างสำคัญที่เจดีย์วัดป่าแดง เชียงใหม่และวัดป่าแดงบุนนาค เมืองพะเยา ที่เด่นชัดทางรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย การผสานอิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัยกับล้านนาเด่นชัดอย่างมากในรัชกาลนี้ ดังตัวอย่างสำคัญที่เจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองลำปาง มีจารึกระบุสร้าง พ.ศ. 2039ปรากฏอิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัยเด่นชัดที่รูปแบบชั้นฐานรองรับองค์ระฆัง แบบบัวถลา
รูปแบบของวิหาร
[แก้]ในช่วงยุคทองนี้ปรากฏหลักฐานอาคารหลังคาคลุม มีตัวอย่างสำคัญได้แก่วิหารพระพุทธและวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง นักวิชาการบางท่านเสนอว่ารูปแบบสำคัญของวิหารล้านนาคือ การยกเก็จอันสัมพันธ์กับการซ้อนชั้นหลังคา โครงสร้างหลักของวิหารได้แก่ วิหารแบบเปิดหรือที่เรียกว่า ” วิหารป๋วย ”
และวิหารแบบปิด โดยวิหารส่วนใหญ่ให้ความสำคญกับการใช้ระบบม้าต่างไหมในส่วนหน้าบัน
นอกจากนั้นยังปรากฏวิหารปราสาท คือการก่อรูปปราสาทต่อท้ายวิหาร ใช้ปราสาทเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีตัวอย่างสำคัญที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ที่เชื่อว่าน่าจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงส์ เป็นต้น อันน่าจะเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมสุโขทัยหรือพม่าสมัยพุกามด้วย
ในช่วงยุคทองนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าสถาปัตยกรรมประเภทต่าง ๆ แสดงความหลากหลายทางด้านรูปแบบ
อันล้วนได้แรงบันดาลใจทั้งจากงานสถาปัตยกรรมในยุคก่อน อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมภายนอกดังเช่นสุโขทัย พม่าสมัยพุกาม เป็นต้น จนกระทั่งมีพัฒนาการที่ลงตัว และรูปแบบสถาปัตยกรรมในช่วงเวลานี้จะได้รับการสืบทอดไปในยุคต่อมา แต่จะเริ่มแสดงถึงความเสื่อมของงานช่างลงมาเป็นลำดับในสมัยต่อมา[22]
จิตรกรรม
[แก้]จิตรกรรมในศิลปะล้านนาพบงานเขียนบนผืนผ้า หรือ พระบฏ เพื่อแขวนไว้ในอาคาร พระบฏที่เก่าที่สุดพบจากกรุวัดเจดีย์สูง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนจิตรกรรมบนผนังอาคารเก่าที่สุด คือภาพอดีตพุทธในกรุเจดีย์วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ บ้างว่าเก่าที่สุดอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนบนไม้
จิตรกรรมฝาผนังล้านนา แบ่งผลงานออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 เช่น ที่วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เพียงแห่งเดียว ระยะที่ 2 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22–24 พบที่เขตจังหวัดลำปางเท่านั้น ลักษณะภาพจิตรกรรมฝาผนังของทั้ง 2 ระยะ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า ระยะที่ 3 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นผลงานในยุคปลาย มีความนิยมรูปแบบภาพเล่าเรื่อง เป็นหลัก เรื่องราวที่เขียนเป็นคตินิยมเฉพาะของชาวล้านนา โครงสีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงและสีน้ำเงิน นิยมเขียนขึ้นภายในวิหารต่างจากจิตรกรรมภาคกลางที่นิยมเขียนในอุโบสถ
ในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 แบ่งออกได้ตามสกุลและฝีมือช่าง ได้แก่ จิตรกรรมสกุลช่างเชียงใหม่ เป็นงานเขียนตามแบบศิลปะกรุงเทพ จิตรกรรมสกุลช่างไทใหญ่มีแบบอย่างเป็นของตนเองโดยมักกำหนดตำแหน่งของภาพให้อยู่ส่วนบน ของผนัง กรอบของภาพเขียนเป็นแถบลายเชิงผ้าคล้ายผ้าปักของพม่า ในรายละเอียดของภาพพบว่ามีการใช้รูปแบบของศิลปะพม่าในส่วนของภาพบุคคลชั้นสูง จิตรกรรมสกุลช่างน่านมีความคิดอ่านของตัวเองในระดับหนึ่งด้วย งานเขียนที่ออกมาจึงมีโครงสีที่ค่อนข้างอ่อนหวานนุ่มนวลกว่า จิตรกรรมที่ลำปาง มีความสัมพันธ์กับศิลปะพม่าเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากผู้อุปถัมภ์ที่เป็นชาวพม่า และจิตรกรรมลายคำ หรือที่เรียกว่าปิดทองล่องชาด ในศิลปะล้านนาที่หลงเหลืออยู่เก่าที่สุดอาจมีอายุการสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 23 เท่านั้น และพบมากแถบเมืองลำปาง งานลายคำบางแห่งมีการใช้เทคนิคของงานเครื่องเขินเข้ามาด้วย
ประติมากรรม
[แก้]ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า พระพุทธรูปสิงห์แบบเชียงแสน แบ่งออกเป็น พระพุทธรูปสิงห์ 1 มีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชร เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระพักตร์กลม อมยิ้ม ขมวดพระเกศาใหญ่ รัศมีดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระพุทธรูปสิงห์ 2 มีลักษณะประทับขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลว พระวรกายบอบบาง พระอังสาใหญ่ เอวเล็ก ชายสังฆาฏิ เส้นเล็กยาวมาจนถึงพระนาภีได้รับอิทธิพลสุโขทัย
พระพุทธรูปสิงห์ 1 เป็นพระพุทธรูปที่เก่ามากอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันสันนิษฐานว่าน่าจะเรื่องพร้อมการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 การกำหนด พระพุทธรูปล้านนาทั้งสิงห์ 1 และสิงห์ 2 ทำคู่กันจนหมดยุคล้านนา ส่วนสิงห์ 2 จะเริ่มในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20
นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปทรงเครื่องเป็นที่นิยมในล้านนาเช่นกัน ได้รับอิทธิพลจากปาละ เป็นคติการสร้างเกี่ยวกับปางมหาชมพูบดี ลักษณะเครื่องทรงจะมีตราบเป็นสามเหลี่ยม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ทรงเครื่องครึ่งเดียว มีการสร้างรัศมี มีชายสังฆาฏิ เพื่อบ่งบอกว่าเป็นพระพุทธเจ้า ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งทรงเครื่องเต็มองค์ แบบเทวดา แต่จะทำปางมารวิชัย กลุ่มหลังนี้เป็นกลุ่มที่ให้อิทธิพลมายังสุโขทัยและอยุธยา ลักษณะมงกุฎที่เป็นชั้น ๆ ปล่อง ๆ เป็นรูปแบบผสมระหว่างล้านนากับสุโขทัย ส่วนเทริดมีรูปแบบเขมรเข้ามาปน
วรรณกรรม
[แก้]วรรณกรรมล้านนาสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร คือ วรรณกรรมที่ถ่ายทอดด้วยตัวอักษร และวรรณกรรมมุขปาฐะ คือ
- วรรณกรรมที่ถ่ายทอดทางวาจา วรรณกรรมมุขปาฐะ ได้แก่ เพลงกล่อมเด็ก เพลงชาวบ้าน โวหารรักของ หนุ่มสาว นิทานชาวบ้าน ปริศนาคาทาย ภาษิต, สุภาษิต, คาพร, คากล่าวในโอกาสต่างๆเป็นต้น
- วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณกรรมบาลี วรรณกรรมชาดก ตานาน ประวัติ ตารา กฎหมาย คาสอน กวีนิพนธ์ เช่น คร่าว โคลง ร่าย กาพย์ คาร่า เป็นต้น จากหลักฐานที่ค้นพบเกือบทั้งหมด ล้วน จารบนใบลานแทบทั้งสิ้น ตัวอักษรที่จารเป็นอักขระล้านนา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ในล้านนานิยมจารใบลาน เพื่อบันทึกสิ่งต่างๆ เช่น วรรณกรรม ทางศาสนา หรือตาราต่างๆไว้ เพราะมีความทนทานสามารถเก็บไว้ได้ หลายร้อยปี ถือว่าเป็นองค์ ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพชนล้านนาที่มีคุณค่า
ประเพณี
[แก้]ประเพณีเดือนยี่ คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย
งานประเพณีจะมีสามวัน
- วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด
- วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน
- วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำล
ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดว่าวไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/prasert/search_detail/result/23850 หนังสือมังทรารบเชียงใหม่ พุทธศักราช 2533 ]. (คำปริวรรตโดย ชมรมล้านนาคดีเชียงใหม่). ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, 2533.
- ↑ Ratchasomphan & Wyatt 1994, p. 85.
- ↑ Wyatt 2003, p. 80.
- ↑ 4.0 4.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. หน้า 25. "ในปัจจุบันดินแดนล้านนาหมายถึงดินแดน 8 จังหวัดภาคเหนือคือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน"
- ↑ Roy, Edward Van (2017-06-29). Siamese Melting Pot: Ethnic Minorities in the Making of Bangkok (ภาษาอังกฤษ). ISEAS-Yusof Ishak Institute. ISBN 978-981-4762-83-0.
- ↑ London, Bruce (2019-03-13). Metropolis and Nation In Thailand: The Political Economy of Uneven Development (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-0-429-72788-7.
- ↑ Peleggi, Maurizio (2016-01-11), "Thai Kingdom", The Encyclopedia of Empire, John Wiley & Sons, pp. 1–11, doi:10.1002/9781118455074.wbeoe195, ISBN 9781118455074
- ↑ Terwiel, B. J. (2011). Thailand's political history : from the 13th century to recent times. River Books. ISBN 978-9749863961. OCLC 761367976.
- ↑ Strate, Shane (2016). The lost territories : Thailand's history of national humiliation. Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824869717. OCLC 986596797.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 สรัสวดี อ๋องสกุล. หน้า 21.
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. หน้า 22.
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. หน้า 23.
- ↑ แช่ม บุนนาค, ประชากิจกรจักร (2516). พงศาวดารโยนก. บุรินทร์การพิมพ์. p. 15.
- ↑ ศิลปวัฒนธรรม (2021-06-10). "สภาพหลังพม่ายึดล้านนา ปกครองเมืองเชียงใหม่ 200 ปี สู่ยุคเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง". ศิลปวัฒนธรรม.
- ↑ ศิลปวัฒนธรรม (2021-06-30). "อ่านล้านนาจากหลักฐานจีน เรียกอาณาจักร "สนมแปดร้อย" และธนูอาบยาพิษของพระนางจามเทวี". ศิลปวัฒนธรรม.
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล ศาสตราจารย์. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 272
- ↑ สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:มติชน, 2554. หน้า 293
- ↑ ศรีสักดิ์ วัลลิโภดม.ล้านนาประเทศ.กรุงเทพฯ : มติชน,2545
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล (2558) ประวัติศาสตร์ล้านนา สำนักพิมพ์อมรินทร์ สืบค้นเมื่อ 15-7-62
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล (2558) พื้นเมืองเชียงแสน สำนักพิมพ์อมรินทร์ หน้า 67-69 สืนค้นเมื่อ 15-7-62
- ↑ "เจดีย์ในประเทศไทย by SARAKADEE-MUANG BORAN - Issuu". issuu.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "สมัยล้านนายุคทอง – การพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา".
บรรณานุกรม
[แก้]- Burutphakdee, Natnapang (October 2004). Khon Muang Neu Kap Phasa Muang [Attitudes of Northern Thai Youth towards Kammuang and the Lanna Script] (PDF) (M.A. Thesis). 4th National Symposium on Graduate Research, Chiang Mai, Thailand, August 10–11, 2004. Asst. Prof. Dr. Kirk R. Person, adviser. Chiang Mai: Payap University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-05. สืบค้นเมื่อ 2013-06-08.
- Forbes, Andrew & Henley, David (1997). Khon Muang: People and Principalities of North Thailand. Chiang Mai: Teak House. ISBN 1-876437-03-0.
- Forbes, Andrew & Henley, David (2012a). Ancient Chiang Mai. Vol. 1. Chiang Mai: Cognoscenti Books. ASIN B006HRMYD6.
- Forbes, Andrew & Henley, David (2012b). Ancient Chiang Mai. Vol. 3. Chiang Mai: Cognoscenti Books. ASIN B006IN1RNW.
- Forbes, Andrew & Henley, David (2012c). Ancient Chiang Mai. Vol. 4. Chiang Mai: Cognoscenti Books. ASIN B006J541LE.
- Freeman, Michael; Stadtner, Donald & Jacques, Claude. Lan Na, Thailand's Northern Kingdom. ISBN 974-8225-27-5.
- Cœdès, George (1968). The Indianized States of South-East Asia. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- Harbottle-Johnson, Garry (2002). Wieng Kum Kam, Atlantis of Lan Na. ISBN 974-85439-8-6.
- Penth, Hans & Forbes, Andrew, บ.ก. (2004). A Brief History of Lan Na. Chiang Mai: Chiang Mai City Arts and Cultural Centre. ISBN 974-7551-32-2.
- Ratchasomphan, Sænluang & Wyatt, David K. (1994). David K. Wyatt (บ.ก.). The Nan Chronicle (illustrated ed.). Ithaca: Cornell University SEAP Publications. ISBN 978-0-87727-715-6.
- Royal Historical Commission of Burma (2003) [1829]. Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3. Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
- Wyatt, David K. & Wichienkeeo, Aroonrut (1998). The Chiang Mai Chronicle (2nd ed.). Silkworm Books. ISBN 974-7100-62-2.
- Wyatt, David K. (2003). Thailand: A Short History (2nd ed.). ISBN 978-0-300-08475-7.
- Zinme Yazawin, Chronicle of Chaing Mai, University Historical Research Centre, Yangon, 2003
- เกริกฤทธี ไทคูนธนภพ. "สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ." เล่าเรื่องกรุงศรีฯ ลำดับตามความพระราชพงศาวดาร. กรุงเทพฯ : สยามความรู้, 2553. หน้า 86-99. ISBN 978-616-7110-03-5
- ทินกฤต สิรีรัตน์. (2564, ก.ค.-ธ.ค.). สมมติว่ามี “ล้านนา”: พื้นที่ อำนาจ-ความรู้ และมรดกของอาณานิคมสยาม. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์. 8(2): 169-202.
- พริษฐ์ ชิวารักษ์. (2566, ม.ค.-มิ.ย.). ความเป็นมาของคำล้านนาและล้านนาไทยโดยสังเขป. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 10(1): 79-106.
- พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. เล่าขาน...ตำนานสยาม. กรุงเทพฯ: สยามความรู้, 2554. ISBN 978-616-7110-06-6
- สรัสวดี อ๋องสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ล้านนา. สำนักพิมพ์อมรินทร์.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาณาจักรล้านนา